รีเซต

ลาออกจากงาน ประกันสังคม 2565 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ยังมีสิทธิประกันสังคมหรือไม่?

ลาออกจากงาน ประกันสังคม 2565 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ยังมีสิทธิประกันสังคมหรือไม่?
TNN ช่อง16
22 สิงหาคม 2565 ( 15:20 )
351
1

"ลาออกจากงาน ประกันสังคม 2565" ตอบข้อสงสัยผู้ประกันตนมาตรา 33 ลาออกจากงานแล้ว ยังมีสิทธิประกันสังคมหรือไม่ และมีเงื่อนไขอย่างไร?

สำนักงานประกันสังคม คลายสงสัยสำหรับผู้ประกันตน "มาตรา 33" ที่ลาออกจากงานแล้วนั้น ยังมีสิทธิประกันสังคมครอบคลุมสิทธิประโยชน์หรือไม่ หรือจะถูกตัดสิทธิประโยชน์ออกหลังลาออกจากงานทันที เรื่องนี้ ประกันสังคม มีคำตอบ..

กรณี สำหรับผู้ประกันตน "มาตรา 33" ที่ลาออกจากงานแล้วนั้น ยังมีสิทธิกองทุนประกันสังคม ที่จะคุ้มครอง 4 กรณี ต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข (มาตรา 38)

"สิทธิประกันสังคม" ผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ยังครอบคลุมหลังลาออกจากงาน

1️.กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

- มีเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน

2️.กรณีคลอดบุตร

- มีเงินสมทบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือน

3️.กรณีทุพพลภาพ

- มีเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน

4️.กรณีตาย

- มีเงินสมทบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคม มีดังนี้

1️.เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และส่งเงินสมทบครบก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน จะได้รับความคุ้มครองในระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

2️.ผู้ประกันตน มาตรา 38 ไม่สามารถยกเลิกสิทธิความคุ้มครองก่อนระยะเวลา 6 เดือน *ยกเว้น ผู้ประกันตนมีเงินสมทบไม่ครบตามหลักเกณฑ์*

สามารถไปติดต่อขอหนังสือรับรอง เพื่อไปใช้สิทธิ์อื่นได้ จากสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) 

3️.สิทธิที่กองทุนประกันสังคมคุ้มครองทั้ง 4 กรณี ดังนี้

- กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย       

- กรณีคลอดบุตร             

- กรณีทุพพลภาพ                

- กรณีตาย

4️.ขั้นตอนและเอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้

ผู้ประกันตนสัญชาติไทย

- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)

- บัตรประชาชนตัวจริง

- ใบรับรองแพทย์ตัวจริง

- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 10 ธนาคารโดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

ผู้ประกันตนต่างชาติ/คนต่างด้าว

- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)

- ใบอนุญาตทำงาน (Work permit)

- สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

- ใบเสร็จรับเงินตัวจริง ถ้าขาดรายได้ไม่ใช้ใบเสร็จ

- ใบรับรองแพทย์ตัวจริง

- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

5️.ระยะเวลาและสถานที่ในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน

สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 38 ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข  

หากผู้ประกันตนสงสัยเรื่องใด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง.

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

ภาพจาก Getty Images

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง