รีเซต

เช็กสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตรา 40 จ่ายสมทบกี่บาทคุ้มครองอะไรบ้าง?

เช็กสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตรา 40 จ่ายสมทบกี่บาทคุ้มครองอะไรบ้าง?
TNN ช่อง16
2 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:09 )
302

หลังจากที่ การประชุมคณะรัฐมนตรีในเมื่อวันที่ 1 ก.พ.65 นั้น ที่ประชุมเห็นชอบขยายระยะเวลาการลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตน มาตรา 40 (ม.40) ที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 กรกฎาคม 2565 โดยมีอัตราส่งเงินสมทบภายหลังปรับลดทั้ง 3 ทางเลือก ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอดังนี้

ทางเลือกที่ 1 ลดเงินสมทบเหลือ 42 บาท จากเดิม 70 บาท โดยได้ประโยชน์ทดแทนใน 3 กรณีคือประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต

ทางเลือกที่ 2 ลดเงินสมทบเหลือ 60 บาท จากเดิม 100 บาท โดยได้ประโยชน์ทดแทนใน 4 กรณี คือ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพ

ทางเลือกที่ 3 ลดเงินสมทบเหลือ 180 บาท จากเดิม 300 บาท โดยได้ประโยชน์ทดแทนใน 5 กรณี คือ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร

วันนี้ TNN ONLINE พาไปเช็กสิทธิประกันสังคม ของผู้ประกันตน มาตรา 40 ว่าคุ้มครองอะไรบ้าง

สมัครมาตรา 40 ได้ที่นี่ https://www.sso.go.th/section40_regist/


เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง?

กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย

กรณีทุพพลภาพ

(ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ)

- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ

รับ 500 บาทต่อเดือน

- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ

รับ 650 บาทต่อเดือน

- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ

รับ 800 บาทต่อเดือน

- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ

รับ 1,000 บาทต่อเดือน

กรณีเสียชีวิต

- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต

ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ


เลือกจ่ายเงินสมทบ 70 บาท 100 บาท หรือ 300 บาท คุ้มครองอะไรบ้าง?

1. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน (ลดเหลือ 42 บาท/เดือน) คุ้มครอง 3 กรณี

- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้

- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท

- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 

- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับความคุ้มครอง ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง )

- รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี

- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้  500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี  (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)

- กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ  25,000 บาท

ภาพจาก AFP


2. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (ลดเหลือ 60 บาท/ เดือน) คุ้มครอง 4 กรณี

- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้

- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท

- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 

- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับความคุ้มครอง ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง )

- รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี

- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้  500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี  (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)

- กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท

- กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล (จากเงินออมสะสม ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ) 50 บาท/เดือน

ภาพจาก Reuter


3. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (ลดเหลือ 180 บาท/เดือน) คุ้มครอง 5 กรณี

- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้

- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท

- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 

- รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 90 วัน/ปี

- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาท ตลอดชีวิต

- กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000บาท

- กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล (จากเงินออมสะสม ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ) 150 บาท/เดือน

- กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ เดือนละ 200 บาท/คน คราวละไม่เกิน 2 คน

ช่องทางการชำระเงินสมทบมาตรา 40 

- เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น)

- แอปพลิเคชัน ShopeePay

- ตู้บุญเติม

- เซ็นเพย์ พาวเวอร์ by บุญเติม

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

- เคาน์เตอร์โลตัส

- เคาน์เตอร์บิ๊กซี


อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตน สามารถชำระเงินสมทบ และเงินสมทบเพิ่มเติม (ถ้ามี) งวดเดือนปัจจุบัน และชำระเงินสมทบงวดเดือนล่วงหน้าไม่เกิน 12 งวดเดือน รวมชำระเงินสมทบได้ไม่เกิน 13 งวด ส่วนกรณีเงินสมทบเพิ่มเติม ชำระได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท และไม่สามารถชำระเงินสมทบและเงินสมทบเพิ่มเติม งวดย้อนหลังได้



ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

ภาพจาก AFP


ข่าวที่เกี่ยวข้อง