รีเซต

แอป ECG ปล่อยเวอร์ชันทดสอบ Apple Watch ในไทยแล้ว !!

แอป ECG ปล่อยเวอร์ชันทดสอบ Apple Watch ในไทยแล้ว !!
TNN ช่อง16
23 มกราคม 2564 ( 18:18 )
131
แอป ECG ปล่อยเวอร์ชันทดสอบ Apple Watch ในไทยแล้ว !!

Apple ปล่อยอัปเดต iOS 14.4 และ watchOS 7.3 ทำให้เราสามารถตรวจจับคลื่นหัวใจผ่านแอป ECG บน Apple Watch Series 4, 5 และ 6 ได้แล้วในประเทศไทย หลังได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) โดยถือว่าแอป ECG เป็นเครื่องมือแพทย์ประเภท Class I ได้รับการตรวจสอบยืนยันในการทดลองทางคลินิกกับผู้เข้าร่วมประมาณ 600 คน โดยมีการเปรียบเทียบการจัดประเภทจังหวะการเต้นจากการวัด ECG แบบมาตรฐาน 12 จุดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ กับการจัดประเภทจังหวะการเต้นจากค่าที่วัดด้วยแอพ ECG ในเวลาเดียวกัน และจากการศึกษาพบว่าแอพ ECG บน Apple Watch มีความไวในการจัดประเภทภาวะ AFib อยู่ที่ 98.3% และมีความจำเพาะในการจัดประเภทจังหวะไซนัสอยู่ที่ 99.6% สำหรับค่าบันทึกที่สามารถจัดประเภทได้ โดยในการศึกษาดังกล่าวมีค่าบันทึกที่สามารถจัดประเภทโดยแอพ ECG ได้ 87.8% ซึ่งตอนนี้ได้ทำการปล่อยตัวเวอร์ชันทดสอบออกมาทดลองแล้ว ก่อนที่จะมีกำหนดปล่อยตัวเวอร์ชันจริงจะปล่อยออกมาในช่วงสัปดาห์หน้านี้แล้ว 


ความสามารถของ ECG 

  1. วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากข้อมือของตนเองได้
  2. บันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจเมื่อลูกค้ามีอาการเช่น หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นข้ามจังหวะ ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแพทย์
  3. แจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอบน Apple Watch Series 3 (ตรวจสอบจังหวะการเต้น 5 ครั้งภายในระยะเวลา 65 นาทีเป็นอย่างต่ำ)
  4. ตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจอยู่ในเบื้องหลังเป็นระยะๆ และแจ้งเตือนหากตรวจพบว่าจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib)


ปล. ภาวะ AFib อาจนำไปสู่อาการเส้นโลหิตในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสองของโลก


วิธีการใช้แอพ ECG

ขั้วไฟฟ้าในผลึกบนฝาหลังรวมถึงใน Digital Crown ของ Apple Watch Series 4, 5 และ 6 จะทำงานร่วมกับแอพ ECG เพื่อให้ลูกค้าวัด ECG ได้คล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบจุดเดียว โดยที่ผู้ใช้สามารถวัด ECG ได้ทุกเมื่อ เพียงแค่เปิดแอพ ECG บน Apple Watch Series 4, 5 และ 6 แล้วใช้นิ้วแตะบน Digital Crown ค้างไว้ และเมื่อผู้ใช้แตะ Digital Crown จะทำให้ระบบครบวงจรและมีการวัดสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจ จากนั้นเมื่อครบ 30 วินาที จะมีการจัดประเภทจังหวะการเต้นของหัวใจเป็นภาวะ AFib, จังหวะไซนัส, อัตราการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็ว หรือไม่สามารถสรุปผลได้ นอกจากนี้ค่าทั้งหมดที่บันทึกไว้ รวมถึงการจัดประเภทที่เกี่ยวข้อง และอาการที่ระบุไว้จะได้รับการจัดเก็บอยู่ในแอพสุขภาพบน iPhone อย่างปลอดภัยโดยที่ผู้ใช้สามารถแชร์ผลลัพธ์ในรูปแบบ PDF กับแพทย์ได้


อย่างไรก็ตามการวัดคลื่นหัวใจของ Apple Watch จะเป็นแบบ single-lead สามารถตรวจวัดได้แค่อาการหัวใจเต้นพริ้ว (Atrial Fibrillation) เท่านั้น หากต้องการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้ง 4 ห้อง หรืออาการป่วยเกี่ยวกับหัวใจ ก็ต้องไปพบแพทย์อยู่ดี มีการศึกษาคุณสมบัติแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอใน Apple Heart Study ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 400,000 ราย จึงทำให้ Apple Heart Study เป็นการศึกษาเพื่อคัดกรองเกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา และยังเป็นการทดลองด้านหัวใจและหลอดเลือดที่ใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบันอีกด้วย


website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

แหล่งที่มา apple.com


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง