รีเซต

ผลวิจัยบราซิลพบยาต้านอาการซึมเศร้ารักษาโควิด-19 ได้

ผลวิจัยบราซิลพบยาต้านอาการซึมเศร้ารักษาโควิด-19 ได้
TNN ช่อง16
5 พฤศจิกายน 2564 ( 18:53 )
278

วันนี้ ( 5 พ.ย. 64 )ดร.เอ็ดเวิร์ด มิลส์ จากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ในฮามิลตัน รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ได้เปิดเผยผลการทดสอบยาซึ่งใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคย้ำคิดย้ำทำกับผู้ป่วยโควิด-19 เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่ายายาต้านอาการซึมเศร้าหรือ ฟลูโวซามีน (fluvoxamine) สามารถช่วยลดอาการอักเสบ

โดยทำการทดลองกับ ชาวบราซิลเกือบ 1,500 คนซึ่งติดเชื้อโควิด-19 และมีความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยหนักเนื่องจากปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆ อาทิเป็นเบาหวาน โดยครึ่งหนึ่งได้รับยาต้านอาการซึมเศร้าที่บ้าน 100 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง เป็นเวลา 10 วัน ส่วนอีกกลุ่มจำนวนครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก ก่อนจะติดตามผลหลังจากได้รับยาไปแล้ว 4 สัปดาห์  

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาจริง 11% จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือขยายเวลาในการรักษาตัวในหอพักผู้ป่วยหนัก เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับยาหลอกซึ่งสัดส่วนการรักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่ที่ 16% 

กลไก ยาต้านอาการซึมเศร้า  ฟลูโวซามีน จะไปเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับตัวรับ sigma-1 ซึ่งควบคุมการอักเสบ มีบทบาทในการรักษา โควิด-19 ,นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมการแข็งตัวของเกร็ดเลือด , การเสื่อมสภาพของแมสต์เซลล์ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง,   และเพิ่มระดับเมลาโทนิน  เป็นฮอร์โมนที่สมองหลั่งออกมาช่วยเสริมคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้น   ,การบรรเทาอาการพายุไซโตไคน์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี ว่าเป็นจุดอันตรายของไวรัสโควิด-19ที่รุนแรงซึ่งหากมีมากไปจะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด  ซึ่งโดยรวมแล้วมีผลต้านไวรัสโดยตรง    ซึ่งยาดังกล่าวถือว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสำหรับการรักษาในระยะเริ่มต้นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่ติดเชื้อโควิด

ทั้งนี้หากนำยายาฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้ามาใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 จะคิดเป็นค่าใช่จ่ายเพียง 4 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 135 บาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยการให้ยาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันผ่านสายน้ำเกลือ (Antibody IV treatment) ที่ค่าใช้จ่ายจะสูงถึง 2,000 ดอลลาร์ หรือราว 67,000 บาท ขณะที่การใช้ยาต้านไวรัสโมลนูพิราเวียร์ของบริษัทยาเมอร์คจะตกอยู่ที่ราว 700 ดอลลาร์ หรือ 23,450 บาทต่อคอร์ส อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจะต้องมีการใช้วิธีที่หลากหลายร่วมกันในการรับมือกับไวรัสดังกล่าว

ขณะนี้ผลทำวิจัยดังกล่าวได้มีการตีพิมพ์ ในวารสารการแพทย์แลนเซท  พร้อมทั้งได้รายงานผลการทดสอบไปยังสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐแล้ว   และพวกเขายังหวังว่าองค์การอนามัยโลกจะให้คำแนะนำการใช้ยาชนิดนี้กับผู้ป่วยโควิด-19 ต่อไป เพราะหากองค์การอนามัยโลกให้การรับรองเชื่อว่าจะมีการใช้ยานี้อย่างแพร่หลาย เพราะปัจจุบันประเทศยากจนจำนวนมากมียาชนิดนี้อยู่แล้ว เราจึงหวังว่ามันจะนำไปสู่การช่วยรักษาชีวิตผู้คนจำนวนมากได้ 

ภาพจาก :  AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง