รีเซต

คอลัมน์ไฮไลต์โลก: "ล็อกดาวน์" คำแห่งปี 2020

คอลัมน์ไฮไลต์โลก: "ล็อกดาวน์" คำแห่งปี 2020
มติชน
12 พฤศจิกายน 2563 ( 06:15 )
75
คอลัมน์ไฮไลต์โลก: "ล็อกดาวน์" คำแห่งปี 2020

“ล็อกดาวน์” (Lockdown) ถูกยกเป็น “คำแห่งปี” ประจำปี 2020 ของ “คอลลินส์ ดิกชันนารี” พจนานุกรมภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมอย่างมากฉบับหนึ่ง หลังการสำรวจการใช้งานคำศัพท์ต่างๆ ที่ทำขึ้นในแต่ละปีของคอลลินส์ พบว่าในปีนี้ ล็อกดาวน์ เป็นคำศัพท์ที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากโลกต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19

 

นักพจนานุกรมชี้่ว่าเหตุที่เลือกคำนี้เป็นคำแห่งปี เพราะเป็นคำสะท้อนประสบการณ์ที่ผู้คนทั่วโลกต่างเผชิญกันถ้วนหน้าจากการบังคับใช้มาตรการเข้มงวดของรัฐบาลชาติต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

 

“เป็นประสบการณ์ร่วมกันของคนนับหลายพันล้านคนทั่วโลก ที่ต่างเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19” สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์ คอลลินส์ระบุ และว่า ในปีนี้มีการใช้คำว่า ล็อกดาวน์ แล้วมากกว่า 2.5 แสนครั้ง เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มีการใช้เพียง 4,000 ครั้งเท่านั้น

 

และด้วยเหตุที่โลกเผชิญกับวิกฤตแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ทำให้ 6 ใน 10 คำ ที่ถูกใช้กันมากในปีนี้เป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกับวิกฤตสาธารณสุขโลกครั้งนี้เป็นส่วนใหญ่ โดยนอกจากคำว่าล็อกดาวน์แล้ว ยังมีคำว่า ไวรัสโคโรนา (Coronavirus), โซเชียลดิสแทนซิ่ง (Social distancing การเว้นระยะห่างทางสังคม), เซลฟ์-ไอโซเลท (Self-isolate การกักตัวเอง) และ เฟอร์โล (Furlough การพักงาน) รวมถึง คีย์ เวิร์กเกอร์ (Key worker แรงงานสำคัญ) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค เฉพาะคำนี้มีการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 60 เท่า

 

เฮเลน นิวสเตท ที่ปรึกษาด้านภาษาศาสตร์ของคอลลินส์ กล่าวว่า “ล็อกดาวน์ ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน การไปซื้อของ และการพบปะเพื่อนฝูง”

 

คอลลินส์ยังให้นิยาม ล็อกดาวน์ ไว้ว่าเป็นการบังคับใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดต่อการเดินทาง การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และ การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ

 

ส่วนคำว่า ไวรัสโคโรนา ถูกระบุว่าเป็นไวรัส ในกลุ่มอาร์เอ็นเอ ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งรวมถึงไวรัสโควิด-19

นอกจากนี้ยังมีคำที่เกี่ยวเนื่องกับพัฒนาการทางสังคมและการเมืองที่สำคัญรวมอยู่ในคำแห่งปีด้วย เช่น BLM ซึ่งย่อมาจากคำว่า แบล็กไลฟ์สแมทเทอร์ (Black Lives Matter) หลังเกิดคลื่นประท้วงของกลุ่มต่อต้านการเหยียดผิว ที่มีปมการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวอเมริกันผิวสีในระหว่างถูกตำรวจอเมริกันผิวขาวจับกุม เป็นเชื้อไฟปลุกกระแสเรียกร้องความเสมอภาคทางชาติพันธุ์ขึ้นในสหรัฐและทั่วโลกตามมา โดยมีการติดแฮชแท็ก #BLM แพร่หลายบนโซเชียลมีเดีย มีการใช้คำ BLM อย่างกว้างขวางในการสนทนาและรายงานต่างๆ เพิ่มขึ้นมามากถึง 581 เปอร์เซ็นต์

 

ยังมีคำว่า “TikToker” ซึ่งหมายถึงผู้ที่แชร์คอนเทนต์บน TikTolk แพลทฟอร์มยอดฮิตสัญชาติจีน และคำว่า “Mukban” หรือ ม็อกบัง ที่เป็นการถ่ายทอดภาพและเสียงทางออนไลน์ในการกินอาหารโชว์ในปริมาณมากๆ

 

รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วโลก ติดอยู่ด้วย คือคำว่า Megxit ซึ่งหมายถึงการขอถอนตัวออกจากใต้ร่มเงาราชวงศ์อังกฤษของเจ้าชายแฮร์รี และ เมแกน พระชายา เพื่อใช้ชีวิตเยี่ยงปุถุชน

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง