รีเซต

บสย.เปิดตัว 6 โครงการ ช่วยSMEs เร่งด่วนสู้ COVID-19

บสย.เปิดตัว 6 โครงการ ช่วยSMEs เร่งด่วนสู้ COVID-19
TNN ช่อง16
4 มกราคม 2564 ( 17:08 )
115

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 รอบใหม่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่ม  โดยล่าสุด บสย. เปิดตัว 6 โครงการค้ำประกันสินเชื่อร่วมกับธนาคารพันธมิตรช่วยเหลือเร่งด่วน จัดสรรวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 100,000 ล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบการเปราะบางและผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป  ได้แก่  กลุ่มผู้ประกอบการเปราะบาง สู้ภัย COVID-19 จำนวน  2 โครงการ คือ

1.โครงการ “บสย. SMEs ไทย สู้ภัยโควิด” ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปี วงเงินค้ำประกันสินเชื่อรายละ 2 แสนบาท - 20 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท * MAX CLAIM สูงสุด 35%

2.โครงการ “บสย. รายย่อยไทย สู้ภัยโควิด” ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 3 ปี วงเงินค้ำประกันสินเชื่อต่อราย 1 หมื่นบาท – 1 แสนบาท ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท * MAX CLAIM สูงสุด 40%

ทั้ง 2 โครงการถือเป็นโครงการเร่งด่วนที่จะเข้าไปช่วยผู้ประกอบการเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ตามประกาศพื้นที่เสี่ยงของ ศบค. โดย บสย. จะเปิดรับคำขอค้ำประกันสินเชื่อถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 นี้


สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป จำนวน 4 โครงการ ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปี  ระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อ 10 ปี คือ

1.โครงการ “บสย. SMEs ดีแน่นอน” วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 20,000 ล้านบาท

2.โครงการ “บสย. SMEs บัญชีเดียว” วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท 

3. โครงการ “บสย. SMEs ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกัน (LG)” วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท - 100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 2,000 ล้านบาท 

4. โครงการ “บสย. รายย่อย ทั่วไป”  วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 1 หมื่นบาท  – 5 แสนบาท  วงเงินจัดสรร  3,000 ล้านบาท 

โดยทั้ง 6 โครงการ บสย. จะรับความเสี่ยง ตั้งแต่ 20-40%  ทั้งนี้ ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข การรับความเสี่ยงระหว่าง บสย. กับ ธนาคาร เช่น เกณฑ์การเคลม โดยกำหนดสัดส่วนการรับความเสี่ยงแบบร่วมกัน Sharing ระหว่าง บสย. และธนาคาร ในสัดส่วน 70% : 30% กรณีที่ธนาคารยื่นเคลมก่อนระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ธนาคารได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยดูแลลูกหนี้ในด้านต่างๆ อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ จัดหนี้ หรือปรับปรุงเงื่อนไขให้ยืดหยุ่น เพื่อช่วยลูกหนี้ให้ไปรอด และมีกระแสเงินสดเพียงพอ  ด้านสถาบันการเงินให้ความสนใจร่วมลงนามพร้อมปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ทั้งกลุ่มเปราะบางและกลุ่ม SMEs ทั่วไป 

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE




 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง