รีเซต

“ยีนส์ขี้อิจฉา” ซุกซ่อนในบางคนและสืบทอดจากบรรพบุรุษ

“ยีนส์ขี้อิจฉา” ซุกซ่อนในบางคนและสืบทอดจากบรรพบุรุษ
TNN ช่อง16
3 กรกฎาคม 2567 ( 20:31 )
14
“ยีนส์ขี้อิจฉา” ซุกซ่อนในบางคนและสืบทอดจากบรรพบุรุษ

อาการ “ขี้อิจฉา” ไม่ว่าจะอยากได้อยากเป็นแบบผู้อื่น (Envy) หรือไม่อยากให้ผู้อื่นแย่งสิ่งที่ตนหวงแหนไป (Jealousy) ล้วนเป็นอาการป่วยจิตเวชทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นแต่เพียงนิสัยที่ติดตัวมาอย่างเดียว และอาจมีทางรักษาให้หายได้ผ่านนักจิตวิทยาและประสาทวิทยา


แต่ก็มีงานศึกษาอีกแนวทางหนึ่งที่ชี้ว่า จริง ๆ แล้ว อาการจิตเวชที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อยู่เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย แต่อาจมีผลจาก “กรรมพันธุ์ (Genetics)” ถ่ายทอดจากรุ่นบรรพบุรุษ มาสู่อีกรุ่นหนึ่ง


กรรมพันธุ์นั้นสำคัญ


งานศึกษา Why are some people more jealous than others? Genetic and environmental factors ตีพิมพ์ใน Journal of Evolution and Human Behavior เขียนโดย ทอม คุฟเฟอร์ และคณะ ชี้ชัดว่า อาการขี้อิจฉาไม่ใช่แค่เรื่องปัจเจกบุคคล เพราะหากทดลองให้กลุ่มตัวอย่างอยู่ในเงื่อนไขทางสังคมที่ต่างกัน พบว่า ความขี้อิจฉาในบางคน มีความใกล้เคียงกันมากถึง 29% และเมื่อตรวจสอบลึกลงไป ก็พบว่าบุคคลเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรมมากถึง 50%


ที่น่าประหลาดใจ คือ กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันทางสังคม ล้วนเติบโตมาไม่เหมือนกัน คือมาจากต่างชนชั้น ต่างฐานะ ต่างวัฒนธรรมกัน


ดังนั้น กรรมพันธุ์คือเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดอาการจิตเวชที่เรียกว่าขี้อิจฉา หรือกล่าวคือ มนุษย์บางคนมี “ยีนส์ขี้อิจฉา” ในตนเอง 


อ่านถึงตรงนี้ อาจประหลาดใจที่ความอิจฉามาจากยีนส์ ไม่ใช่ปัจจัยภายนอก จากการเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอน หรือการแนะแนวทางที่ถูกที่ควร เพราะหากเป็นปัจจัยภายนอก ก็หมายความว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่จะทำให้ความอิจฉาบรรเทาลงไปได้


แต่ในเมื่อเป็นยีนส์ หมายความว่า อาการอิจฉาฝังตัวมาจาก “ภายใน” ตั้งแต่กำเนิด ฝังตัวมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จึงเป็นเรื่องที่แก้ยากอย่างมาก เพราะไม่อาจที่จะตรวจพบยีนส์อิจฉา และจะผ่าตัดนำออกให้หายไปเหมือนโรคมะเร็งหรือเนื้องอกในสมอง ก็ไม่ได้


หรืออาจสรุปรวบรัดได้ว่า หากใครตรวจพบว่ามียีนส์นี้ ก็จะเป็นคนที่มักอิจฉาคนอื่นไปชั่วชีวิต


รักษาได้จริงหรือไม่?


แน่นอน ยีนส์เป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ แก้ไขได้ลำบาก ทำให้อาการอิจฉาคือ “ตำหนิ” ของบุคคลนั้น ๆ ไปโดยปริยาย


คำถามที่ตามมา นั่นคือ เราต้องหลีกหนีให้ไกลไหม หากสืบทราบว่าบุคคลใกล้ตัวของเรามียีนส์อิจฉา


การจะตอบคำถามนี้ ต้องเข้าใจธรรมชาติของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เสียก่อน


มนุษย์เราจะอยู่ร่วมกันได้ ไม่ได้สนใจว่าสมาชิกในชุมชนนั้น ๆ “เป็นอย่างไร (ฺBeing)” แต่สนใจว่า สมาชิกในชุมชนนั้น ๆ “แสดงออกอย่างไร (Express)” เสียมากกว่า


หรือก็คือ ถึงแม้ผู้นั้นจะมียีนส์ขี้อิจฉาอยู่ในตนเอง แต่หากมาอยู่ร่วมกันแล้ว ประพฤติตนในทางที่ดี มีพฤติกรรมอันเป็นที่รัก ไม่สร้างการคุกคามหรือทำให้ผู้อื่นรำคาญและรู้สึกว่า “เยอะ” จนเกินไป ย่อมสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก


กลับกัน หากผู้มียีนส์อิจฉาปล่อยตัวปล่อยใจไปตามแรงกระตุ้นทางกรรมพันธุ์ ย่อมสร้างความ “Toxic” แก่ชุมชน และในท้ายที่สุด ก็อาจจะทำให้เกิด “ความเอือมระอา” เกินกว่าที่จะนับรวมเข้ามาในชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ ก็เป็นได้


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล [เฮย์เดน วิศว์]


แหล่งอ้างอิง




ข่าวที่เกี่ยวข้อง