รีเซต

วิธีรับมือเมื่อเกิดอาการแพนิค เช็กให้ชัวร์เป็นโรคอื่นที่มีอาการคล้ายโรคแพนิคหรือไม่

วิธีรับมือเมื่อเกิดอาการแพนิค เช็กให้ชัวร์เป็นโรคอื่นที่มีอาการคล้ายโรคแพนิคหรือไม่
TNN ช่อง16
12 พฤษภาคม 2568 ( 14:34 )
16

โรคแพนิค หรือบางคนอาจเรียกว่า โรคตื่นตระหนก เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีมานานแล้ว และพบไม่น้อยเลย แต่คนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จัก แม้กระทั่งเมื่อเป็นโรค ผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิด อาจไม่ทราบด้วยว่า อาการที่ผู้ป่วยแสดงออกนั้น เป็นอาการของโรคแพนิคที่รักษาได้

อาการของโรคแพนิค

  1. ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นเร็วมาก 
  2. เหงื่อแตก 
  3. ตัวสั่น มือเท้าสั่น
  4. หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจขัด 
  5. รู้สึกอึดอัด หรือแน่นอยู่ข้างใน 
  6. เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก 
  7. คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน 
  8. วิงเวียน โคลงเคลง มึนตื้อ หรือเป็นลม 
  9. ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น ร้อนวูบวาบ เหมือนจะเป็นไข้
  10. รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่า ๆ (paresthesia)
  11. รู้สึกเหมือนสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไป (derealization หรือ depersonalization)
  12. กลัวคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า
  13. กลัวว่าตนเองกำลังจะตาย

เช็กให้ชัวร์! โรคอื่นที่มีอาการคล้ายโรคแพนิค

ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค จะมีอาการที่เรียกว่า “panic attack” นั่นก็คือกลุ่มอาการตามที่ปรากฎอยู่ในแบบทดสอบข้างต้นตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป โดยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างคาดการณ์ไม่ได้ และมีอาการอื่น ๆ ต่อเนื่องจากอาการเหล่านั้น เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน (หรือมากกว่า) ดังต่อไปนี้

  • กังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นอีกอยู่ตลอดเวลา
  • กังวลว่าอาจเกิดโรคร้ายแรงหรือกังวลเกี่ยวกับผลติดตามมา (เช่น คุมตัวเองไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ เป็นบ้า เป็นต้น)
  • พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวจะเกิดอาการขึ้น หรือไม่กล้าใช้ชีวิตประจำวันตามปกติที่เคยทำเป็นประจำ
  • เนื่องจากการเกิดอาการอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่นได้หลายอย่าง เช่น อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคทางด้านร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุให้มีอาการนั้น ๆ ก่อน เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ ส่งเจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์ เป็นต้น
  • แต่ทั้งนี้ แม้ว่าผลการตรวจร่างกายปกติดี ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) เนื่องจากว่ายังมีโรคทางจิตเวชอื่นๆ สามารถเกิดอาการ panic attack ได้เช่นกัน

สำหรับผู้ที่เป็นโรคแพนิคทุกคน ขอให้ปฏิบัติ เมื่อเกิดอาการดังนี้

1.  หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ  และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย แค่ทรมานแต่เดี๋ยวก็หาย

2.  มียาที่แพทย์ให้พกติดตัวไว้ กินเมื่ออาการเป็นมาก

3.  ฝึกการผ่อนคลายอื่น ๆ  เช่น  ออกกำลังกาย ทำสมาธิ  ทำงานอดิเรกต่าง ๆ  ที่ช่วยให้มีความสุข 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง