รีเซต

รู้จัก “โพแทสเซียมไซยาไนด์” คืออะไร อันตรายแค่ไหน? เผลอสัมผัสต้องทำอย่างไร

รู้จัก “โพแทสเซียมไซยาไนด์” คืออะไร อันตรายแค่ไหน? เผลอสัมผัสต้องทำอย่างไร
TNN ช่อง16
17 กรกฎาคม 2567 ( 13:48 )
39

โพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium cyanide) เป็น 1 ในประเภทของไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง   มักนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรม การชุบโลหะ การสังเคราะห์สารเคมี เช่น น้ำยาประสานทอง  สี และสารเคมีกำจัดแมลงบางชนิด นอกจากนี้ยังพบได้จากเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านบางชนิดเช่น น้ำยาล้างเล็บมี acetonitrile ปนอยู่ และน้ำยาล้างเครื่องเงิน


ไซยาไนด์ มีกี่ประเภท? 


- ไซยาไนด์ ที่เกิดจากภาวะก๊าซ Hydrogen cyanide เป็นแก๊สไม่มีสี อาจพบได้จากการเผาไหม้สารพลาสติก เมลามีน ขนสัตว์ และหนังเทียม มักพบได้ในเหตุเพลิงไหม้

 

- กลุ่มเกลือไซยาไนด์ เป็นก้อนผลึกหรือผงสีขาว เช่น โซเดียมไซยาไนด์  (Sodium cyanide)  และ โพแทสเซียมไซยาไนด์   (Potassium cyanide)  มักนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรม 

 

- ไซยาไนด์ในพืชธรรมชาติ จะมีสาร Cyanogenic glycosides พบได้ในเมล็ดของเอพริคอต เชอร์รี่ดำ หน่อไม้ดิบ หัวและใบของมันสำปะหลังดิบ 


อันตรายของ โพแทสเซียมไซยาไนด์


สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ, ผ่านทางผิวหนัง และ การรับประทาน สารนี้ ทำให้ระคายเคือง รุนแรง ต่อ ตา, ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการหายใจของเซลล์ กรณีนี้อาจมีผลทำให้ชัก และ หมดสติ การได้รับสัมผัสสารนี้ สามารถทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลา 10 นาที  สีบริเวณผิวหนังและเยื่อบุจะแดงคล้ายคนปกติ ถึงแม้ว่าจะมีภาวะหยุดหายใจก็ตาม


หากสัมผัสกับสารประเภท “ไซยาไนด์” ต้องทำอย่างไร? 


- หากสูดดมสารประเภทไซยาไนด์ ต้องรีบออกจากพื้นที่ ออกไม่ได้ให้ก้มตัวให้ต่ำระดับพื้น อาจต้องให้อ็อกซิเจน ไม่ควรผายปอดปากต่อปาก

- หากสัมผัสผ่านผิวหนัง  ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และนำออกจากลำตัวทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด ก่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล

-  หากรัปประทาน ให้รับล้างปากทันที ไม่ควรกระตุ้นทำให้เกิดการอาเจียน 

- หากสัมปัสผ่านดวงตา วรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออก จากนั้น ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 นาที และไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ


ทั้งนี้ โพแทสเซียมไซยาไนด์ จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ ซึ่งผู้ประกอบการที่ประสงค์จะนำเข้า ผลิต จะต้องขอขึ้นทะเบียนพร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ที่ชัดเจนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจะต้องได้รับอนุญาตก่อนการดำเนินการ 


การนำไปใช้ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น หากพบว่า ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย (Trader) หรือผู้ใช้ (End User) มีการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 



ข้อมูลจาก: โรงพยาบาลนวเวช, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชกุณย์, กรมโรงงานอุตสาหกรรม 

              : https://chemicalsafety.ilo.org/dyn/icsc/showcard.display?p_lang=th&p_card_id=0671&p_version=2

ภาพจาก: Getty Images 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง