เทียบเทคโนโลยีไฮสปีดเทรนแต่ละประเทศ ล้ำแค่ไหน?
ขบวนรถไฟความเร็วสูงของแต่ละประเทศ อาจมีดีไซน์ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือบริเวณหัวรถไฟ จะมีลักษณะแหลม ยาว คล้ายปากนก เริ่มตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง จนปัจจุบันที่มีหลายประเทศให้บริการ ซึ่งเหตุผลที่มีการดีไซน์หัวแหลม ก็เป็นเพราะการคำนึงถึง แรงต้านอากาศ Aero Dynamic (แอโรไดนามิค) เมื่อใช้ความเร็วสูง แรงต้านอากาศต้องน้อยที่สุด เพื่อรีดอากาศออก และยังต้องมีแรงลมที่กดตัวขบวนรถยึดเกาะกับราง ประกอบกับเส้นทางของรถไฟความเร็วสูงในหลายประเทศต้องเจาะภูเขา ทำอุโมงค์ลอด ซึ่งขนาดของอุโมงค์มีผลต่อแรงอัด ดังนั้นการออกแบบหัวรถไฟความเร็วสูงให้แหลมและยาวจะช่วยให้แรงอัดภายในอุโมงค์และลดต้นทุนการขุดเจาะอุโมงค์ได้ จึงเห็นว่ารถไฟความเร็วสูงรถรุ่นใหม่ๆ ของญี่ปุ่น หัวแหลมและยาวมากกว่า 10 เมตร
สำหรับรถไฟความเร็วสูงนั้น ก็มีความเร็วทั้ง ความเร็วสูง (High Speed Rail) ที่ใช้ความเร็วได้ 200 – 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ,ความเร็วสูงมาก (Very High Speed Rail) ความเร็ว 301 – 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วสูงพิเศษ (Ultra High Speed Rail) ความเร็ว 501 – 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถทำเวลาจากสถานีต้นทางถึงปลายทางได้ในเวลาเพียง 7 นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นความเร็วที่ยังไม่เคยมีประเทศไหนเลือกใช้
โดย 5 อันดับของรถไฟความเร็วสูงที่มีความเร็วที่สุดในโลก ได้แก่
1. Shanghai Maglev (รถไฟความเร็วสูงพลังแม่เหล็ก)
2. Fuxing Hao CR400AF/BF (รถไฟความเร็วสูงระบบราง)
3. Shinkansen H5 และ E5 (รถไฟความเร็วสูงระบบราง)
4. The Italo และ Frecciarossa (รถไฟความเร็วสูงระบบราง)
5. Renfe AVE (รถไฟความเร็วสูงระบบราง)
ส่วนประเทศไทยเลือกใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง ในระดับ High Speed Rail ที่ทำความเร็วได้ 200 – 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่จะเชื่อมต่อไปยัง 3 สนามบินหลัก ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา หากจะเดินทางจากกรุงเทพฯไปยัง อีอีซีก็จะใช้เวลาเพียง 60 นาที ด้วยระยะเวลาการเดินทางที่น้อยลงก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้กับประเทศไทย ทั้งในแง่ของลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ เพราะช่วยร่นระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้าให้เร็วขึ้นแม้จะมีสินค้าในปริมาณมาก ส่งเสริมการท่องเที่ยงด้วยระบบขนส่งทางรางหรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง กระตุ้นการใช้จ่ายไปยังเมืองต่างๆตามแนวเส้นทางของรถไฟความเร็วสูง รวมถึงการเติบโตของเมืองที่จะไม่กระจุกตัวอยู่แค่บางพื้นที่ อย่างเช่น กรุงเทพฯและปริมณฑล อีกต่อไป