รีเซต

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช 2566 ชวนรู้จักหนังสือพระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช 2566 ชวนรู้จักหนังสือพระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า
TeaC
7 กันยายน 2566 ( 10:44 )
500
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช 2566 ชวนรู้จักหนังสือพระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า

ข่าววันนี้ วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งวันนี้มีความสำคัญเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" 

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช 2566

 

โดยในวันปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จฯ ไปวางพวงมาลา ณ พระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นประจำทุกปี และกิจกรรมที่คนไทยทำในวันนี้ จะเห็นภาพการเดินทางไปวางพุ่มดอกไม้

 

ในโอกาสนี้ TrueID ชวนคนไทยรู้จักพระปรีชาสามารถอีกด้านหนึ่งของ "รัชกาลที่ 5" ในฐานะที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ 12 เรื่องไว้ จึงขอยกตัวอย่างหนังสือพระราชนิพนธ์ที่หนอนหนังสือควรอ่าน ดังนี้

 

1. ไกลบ้าน

เป็นพระราชนิพนธ์ลายพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ผู้ซึ่งสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถในตำแหน่งราชเลขานุการิณีรวมจำนวน 43 ฉบับ เสด็จประพาสยุโรปเป็นระยะเวลา 225 วัน

 

ซึ่งพระราชนิพนธืเรื่อง ไกลบ้าน นี้ เป็นการเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชภารกิจแต่ละวันนับตั้งแต่พระองค์เสด็จลง เรือพระที่นั่งมหาจักรี ออกจากกรุงเทพมหานคร ผ่านประเทศต่าง ๆ โดยทางเรือและรถไฟตามลำดับ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และประเทศนอร์เวย์

 

โดยเป็นการเล่าทำนองการบันทึกจดหมายเหตุ หรือรายงานประจำวัน มีเกร็ดความรู้เรื่องราวต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอแนวพระราชดำริและพระราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่หนอนหนังสือหลายคนต้องมีไว้บนชั้นหนังสือที่บ้านเป็นแน่ แถมหากเป็นหนังสือเก่าถือว่าเป็นหนังสือที่นักเลงหนังสือต้องหาเก็บไว้อ่าน

 

2. เงาะป่า (วรรณคดี)

เชื่อว่าหลายคงต้องได้อ่านหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า (วรรณคดี) มาตั้งแต่เด็ก ๆ กันแน่ ซึ่ง เงาะป่า เป็นวรรณคดีไทย ประเภท บทละครร้อยกรอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในระหว่างการพักฟื้นหลังทรงพระประชวร โดยใช้เวลาเพียง 8 วันเท่านั้น

 

โดยเนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องราวของหนึ่งหญิงสองชายชาวป่า ตอนเริ่มต้นกล่าวว่าได้เค้าเรื่องจากคำบอกเล่าของ ยายลมุด หญิงเฒ่าชาวเงาะ เมืองพัทลุง แล้วดำเนินเรื่องว่า คนัง เงาะชาวพัทลุงกำพร้าพ่อแม่ อยู่กับพี่ชายชื่อ แค วันหนึ่งคนังชวนเพื่อนชื่อ ไม้ไผ่ ไปเที่ยวป่าพบ ซมพลา เงาะหนุ่ม ล่ำสันแข็งแรง เก่งในทางใช้ลูกดอก ซมพลาหลงรัก ลำหับ พี่สาวไม่ไผ่ ลำหับ เป็นคู่หมั้นของ ฮเนา ซมพลาได้พบไม้ไผ่ก็ดีใจ สอนวิธีเป่าลูกดอกให้ไม้ไผ่และคนัง ซมพลาเผยความในใจที่มีต่อลำหับให้ไม้ไผ่ฟัง ไม้ไผ่เต็มใจช่วย ออกอุบายให้ซมพลาได้พบกับลำหับ ลำหับยินดีรับรักซมพลา พอถึงวันแต่งงานของฮเนากับลำหับ ไม้ไผ่กับคนังได้ช่วยซมพลาพาลำหับหนี ฮเนากับรำแก้ว พี่ชายออกติดตาม ซมพลานำลำหับไปซ่อนไว้ในถ้ำแล้วออกไปหาอาหาร พบฮเนาเข้าเกิดต่อสู้กัน รำแก้วเข้าช่วยน้องชาย ใช้ลูกดอกเป่าถูกซมพลา ลำหับเห็นซมพลาหายไป จึงออกตามหา พบซมพลาขาดใจตายไปต่อหน้าต่อตา ก็เสียใจฆ่าตัวตายตาม ฮเนาได้เห็นความรักอันเด็ดเดี่ยวของซมพลากับลำหับ รู้ตัวว่าเป็นเหตุให้ทั้งสองต้องเสียชีวิต จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายตามไปด้วย

 

เรื่องจบลงตอนเมืองสงขลาสั่งให้กรมการเมืองพัทลุงหาเงาะหน้าตาดีๆ ส่งไปถวาย กรมการเมืองพัทลุงได้คนังมา จัดให้มีการรับขวัญและมีการฉลองต้อนรับคนัง

 

3. ลิลิตนิทราชาคริต

ลิลิตนิทราชาคริต เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2422 มีลักษณะการประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ (ร่ายสลับโคลง) จำนวน 991 บท

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้แรกที่นำนิทาน อาหรับราตรี (The Thousand and One Nights หรือ The Arabian Night's Entertainments) มาพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทย โดยทรงเก็บความจากเรื่อง "Sleeper Awaken" ซึ่งเป็นนิทานย่อยเรื่องหนึ่งในจำนวน 1001 เรื่องในอาหรับราตรี มาเรียบเรียงใหม่ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตรวจแก้ไขถ้อยคำ จากนั้นโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ตรวจทาน และจัดพิมพ์เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องจบโดยใช้เวลาเพียง 29 วันเพื่อให้ทันต่อโอกาสดังกล่าว

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลชื่อเรื่องว่า นิทราชาคริต มีความหมายว่า การหลับและการตื่น หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ตามแบบพฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง

 

และนี่คือ ประวัติวันปิยมหาราช วันสำคัญของไทย พร้อมหนังสือพระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่าที่ต้องอ่าน 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง