รีเซต

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ​ เปิดตัว Chula Book AI Library แพลตฟอร์มผู้ช่วยส่วนตัวสำหรับนักอ่านและนักเขียน

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ​ เปิดตัว Chula Book AI Library แพลตฟอร์มผู้ช่วยส่วนตัวสำหรับนักอ่านและนักเขียน
TNN ช่อง16
10 เมษายน 2567 ( 02:41 )
26
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ​ เปิดตัว Chula Book AI Library แพลตฟอร์มผู้ช่วยส่วนตัวสำหรับนักอ่านและนักเขียน

ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Book) เปิดตัวบริการจุฬาบุ๊ก เอไอ ไลบรารี (Chula Book AI Library) แพลตฟอร์มนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยยกระดับประสบการณ์การอ่านด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เปรียบเสมือนผู้ช่วยส่วนตัวที่เข้าใจความต้องการของผู้อ่าน ช่วยให้ค้นหาข้อมูล แนวคิด และแรงบันดาลใจจากหนังสือได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์


เป้าหมายการทำฟีเชอร์ Chula Book AI Library

กำพล อมรวนิชย์กิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการศูนย์หนังสือจุฬาฯ กล่าวว่า Chula Book AI Library เป็นนวัตกรรมใหม่จากศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแก้ไขปัญหาคนไทยอ่านหนังสือน้อยลง ไปจนถึงการเข้าถึงหนังสือที่มีข้อจำกัด ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ทำให้การอ่านและการเรียนรู้เป็นเรื่องง่าย สนุก และเข้าถึงได้มากขึ้น โดยการให้บริการที่สามารถค้นหา แนะนำ และวิเคราะห์ข้อมูลในหนังสือได้อย่างแม่นยำและเป็นส่วนตัว ตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลผ่านเทคโนโลยี AI 


โดยรูปแบบการให้บริการที่สำคัญคือบริการแชตบอท (Chatbot) สำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยได้ ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล ผู้เขียนหนังสือชุด Digital Transformation ทั้ง 4 เล่ม และเจ้าของแพลตฟอร์ม Sfia AI เป็นพันธมิตรเบื้องหลังเทคโนโลยีในการพัฒนา Chula Book AI มองว่า Chula Book AI สามารถตอบสนองการเรียนรู้ตามความต้องการของแต่ละคน (Personalized) ตั้งแต่การเรียน การอบรม การอ่าน งานสัมมนา การทำเวิร์กชอป (Workshop - อบรมเชิงปฏิบัติการ) การประชุมหารือ การวางแผนงาน จนไปถึงขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ และการสอนผู้อื่นต่อได้ 


ดังนั้น Chula Book AI Library จึงเหมาะสำหรับทั้งผู้อ่าน ผู้ที่เริ่มต้นในการเรียนรู้ ไปจนถึงผู้ที่กำลังทำ และผู้มีประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหนังสือต่าง ๆ Chula Book AI นี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีไอเดียและจุดประกายความคิดใหม่ ๆ เป็นผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของผู้อ่านทุกที่ทุกเวลา ภาษาใดก็ได้ เช่น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สเปน อารบิก รวมถึงภาษาไทย ที่จะช่วยให้สามารถเรียนรู้ เข้าใจ และลงมือทำ ให้ประสบสำเร็จมากยิ่งขึ้นในยุค AI 


ตัวอย่างการใช้งาน Chula Book AI Library

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กุณฑลี รื่นรมย์  อาจารย์คณะบัญชี จุฬาฯ เจ้าของผลงานหนังสือ Corporate Brand Success Valuation และ การวิจัยการตลาด ได้เข้าร่วมโครงการในการพัฒนา Chatbot ที่เรียกว่า “Guntalee GPT” ซึ่งช่วยเสริมการสอนและการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจยิ่งขึ้น Chatbot นี้ยังเป็น TA หรือ ผู้ช่วยส่วนตัวของครู และยังเป็นผู้ช่วยส่วนตัวของนิสิตนักศึกษาในการเรียนรู้ผ่านการทบทวนบทเรียน และรองรับการใช้งานได้หลายภาษาสำหรับนิสิตนักศึกษาชาวต่างประเทศอีกด้วย


เอกชัย วรรณแก้ว นักเขียน Best Seller เจ้าของผลงาน ‘พลังใจ พิชิตความสำเร็จ’ และนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ก็ได้เข้าร่วม Chula Book AI Library ผ่านทาง Chatbot “เอกชัย วรรณแก้ว GPT” ที่เพิ่มช่องทางใหม่ในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ได้อย่างลึกซึ้งและเฉพาะเจาะจง ทำให้ผู้ใช้ได้รับคำแนะนำที่ตรงกับสถานการณ์และคำถามของตนเองได้ทันที เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ


Chula Book AI Library เพื่อครูทั่วประเทศไทย

Chula Book ยังได้ร่วมมือกับ insKru พัฒนาแชทบอทที่เรียกว่า ‘BuddyKru’ สำหรับคุณครู เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้ และการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น โดย ‘BuddyKru’ เปรียบเสมือนเป็นเพื่อนในการช่วยครูผู้ใช้งาน เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่ดียิ่งขึ้นโดย BuddyKru ได้รับการฝึกฝนจาก insKru คอมมูนิตี้ของครูกว่า 6 แสนคนทั่วประเทศที่ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์จริง โดยคุณครูทั่วประเทศที่เป็นสมาชิกของ insKru 


Chula Book AI Library ยังมีแผนการพัฒนาบริการในอนาคตเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน โดยนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ที่สนใจร่วมให้บริการ Chatbot บนแพลตฟอร์ม Chula Book AI Library สามารถติดต่อกับทาง Chula Book เพื่อมาร่วมกันสร้างสรรค์และส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในยุค AI  ทั้งนี้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดโครงการส่งเสริมการขายต้อนรับการเปิดตัว Chula Book AI Library จะได้รับ Coupon Code เพื่อรับสิทธิ์ใช้บริการ ฟรี 30 วัน เมื่อเมื่อช้อปครบ 300 บาท ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 52 หรือทางศูนย์หนังสือจุฬาฯทุกสาขา และทางออนไลน์ www.chulabook.com โดยผู้ที่สนใจบริการ Chula Book AI Library สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ผ่านเว็บไซต์ www.chulabookai.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง