รีเซต

เคจีไอฯ ส่องกลุ่มแบงก์ มองปัญหา NPL ยังกดดันครึ่งปีหลัง ชู 3 หุ้นเด่น

เคจีไอฯ ส่องกลุ่มแบงก์ มองปัญหา NPL ยังกดดันครึ่งปีหลัง ชู 3 หุ้นเด่น
ทันหุ้น
25 กรกฎาคม 2567 ( 15:25 )
11
เคจีไอฯ ส่องกลุ่มแบงก์ มองปัญหา NPL ยังกดดันครึ่งปีหลัง ชู 3 หุ้นเด่น

#ทันหุ้น-บล.เคจีไอ(ประเทศไทย) ออกบทวิเคราะห์หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังจากประกาศงบไตรมาส 2/67 ออกมาแล้ว ซึ่งกำไรกลุ่มธนาคารลดลง 2.5% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 2.7% YoY  ซึ่ง NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า NPL ที่แก้ไขได้และจัดการออกไป แต่การเร่งตัดหนี้(write-off) หนี้เสียช่วยให้คุณภาพสินทรัพย์ยังทรงตัวแนวโน้มจากผู้บริหารทำให้เห็นว่า NPL ยังพีค ซึ่งยังเป็นปัญหาต่อในครึ่งหลังของปีนี้  และการฟื้นตัวต้องลากยาวออกไป บีบให้ธนาคารต้องกำหนด credit cost สูงเพื่อตัดหนี้สูญออกจากบัญชี 

 

ฝ่ายวิจัยเคจีไอฯ คาดว่าการกำหนด credit cost เพิ่มขึ้นในครึ่งหลังปีนี้ ทำให้ประมาณการกำไรของฝ่ายวิจัยไม่เปลี่ยนไปมากนัก สำหรับ KBANK และKTB แต่จะเพิ่มขึ้นสำหรับ BBL ทำให้ปรับลดประมาณการกำไรของ BBL ปี 2567/2568 ลงปีละ 4% แต่ยังคงคำแนะนำซื้อ BBL ด้วย PBV ที่ต่ำ และศักยภาพการโตธุรกิจธนาคารไปต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า 

 

ฝ่ายวิจัยยังคงเลือก KTB BBL เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม และ เพิ่ม TTB เข้ามาด้วย

 

ทั้งนี้ตัวเลข NPLไตรมาส 2/67  เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1% QoQ  และ 2% YoY โดย NPL ของ BBL เพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ 5% QoQ และ 6% YoY จากหนี้ปรับโครงสร้างของสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมย้อนกลับเป็น NPL (relapsed NPL)

 

ในขณะเดียวกัน NPL จากสินเชื่อผู้บริโภคในกลุ่ม H/P ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากก็ส่งผลกระทบกับ KKP, TISCO และ  TTB ส่วน NPL จากสินเชื่อปลอดหลักประกันในกลุ่มบัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคลส่งผลกระทบ NPL กับ SCB ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวกดดันให้ BBL เพิ่ม credit cost เป็น 152bps ในครึ่งแรกปีนี้ (สูงกว่าเป้าปี 2567 ที่ 100bps)  ในขณะที่ทำให้ KKP เพิ่ม credit cost เป็น 2.9% ในไตรมาส 2/67  (จากเป้าปีนี้ที่ 2.5-2.7%) และ ทำให้ SCB เพิ่ม credit cost เป็น 190bps ในไตรมาส 2/67   (จากเป้าปีนี้ที่ 160-180bps) เพื่อหยุดผลขาดทุน SCB จะระงับ และ ชะลอการขยายสินเชื่อ yield สูง พร้อมทั้งหันไปเน้นคุมต้นทุนการดำเนินงานในครึ่งปีหลังแทน ส่วน TISCO และ KKP ตั้งเป้าจะเพิ่ม credit cost อีกในครึ่งปีหลัง

 

ภายใต้ NPL ที่ปรับขึ้นเล็กน้อย หลายแบงก์มีการจัดการภายในด้วยมาตรการที่หลากหลาย โดย KBANK,  SCB และ TTB ใช้การตัดหนี้สูญในอัตราเร่ง ทำให้ตัวเลขการตัดหนี้สูญในไตรมาส 2/67   และครึ่งแรกปีนี้ สูงกว่าช่วงเดียวของปีก่อนมากกว่า 2 เท่า ในขณะที่ BBL ไม่ได้เน้นนโยบายทำให้เห็นตัวเลข NPL เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ส่วน KKP  และ TISCO มีการระบาย NPL จากสินเชื่อเช่าซื้อผ่านการประมูลขายรถ

สถานการณ์หนี้โดยรวมของไตรมาส 2/67 ถือว่ามียอดไหลเข้า มากกว่าการไหลออก จากผลของเศรษฐกิจที่อ่อนแอที่เติบโตได้ต่ำกว่า 2% มา 4 ไตรมาสติดต่อกัน และดัชนีชี้วัความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศ เป็นประเด็นทำให้มี NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้นมากในไตรมาส 2/67  และเริ่มมีการกระจายตัวมากขึ้นที่ไม่เกิดขึ้นเฉพาะสินเชื่อบุคคล แต่รวมถึงสินเชื่อธุรกิจเล็กไปสู่ธุรกิจขนาดกลาง มากขึ้น การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อค้างชำระ 1-3 เดือน (ยังไม่เป็น NPL) ของสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมมา 3 ไตรมาส เป็นความเสี่ยงกับสินเชื่อกลุ่มนี้ซึ่ง BBL มีสัดส่วนนี้มากที่สุด ในขณะที่เนื่องจากจะมีการขาย NPLตามฤดูกาล และ เพื่อจัดการหนี้เสียออกจากงบดุลในไตรมาสสุดท้ายของปี จะเป็นแรงกดดันต่อการตั้งสำรองโดยเฉพาะ KBANK   SCB ,KKP และ TISCO 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง