รีเซต

ภาษาไทยวันนี้ ขอเสนอคำว่า 'ข้อเท็จจริง' Vs 'ข้อคิดเห็น' หลัง 'โบ ทีเค' แถลงข่าวแตงโม

ภาษาไทยวันนี้ ขอเสนอคำว่า 'ข้อเท็จจริง' Vs 'ข้อคิดเห็น' หลัง 'โบ ทีเค' แถลงข่าวแตงโม
TeaC
4 มีนาคม 2565 ( 12:41 )
2K
ภาษาไทยวันนี้ ขอเสนอคำว่า 'ข้อเท็จจริง' Vs 'ข้อคิดเห็น' หลัง 'โบ ทีเค' แถลงข่าวแตงโม

ข่าววันนี้ จากกรณี "โบ สุรัตนาวี" หรือ "โบ ทีเค" หรือ โบ TK แถลงข่าวแตงโม พร้อมทนายปริญญา หากใครได้ฟังสัมภาษณ์จะเห็นว่าเธอย้ำถึงการให้ "ข้อเท็จจริง" (Fact) มากกว่า "ข้อคิดเห็น" (opinion) ซึ่งเป็นคำสัมภาษณ์ที่กระตุกต่อมให้ได้สำรวจตัวเองว่า ทุกวันนี้เราสามารถแยกแยะว่าเรื่องไหนเป็นข้อคิดเห็น หรือข้อเท็จจริง ได้จริง ๆ ไหม ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องสำคัญในยุคที่มีข้อมูลหลากหลายด้านมากมาย

 

ภาษาไทยวันนี้ ขอเสนอคำว่า 'ข้อเท็จจริง'

หลัง 'โบ ทีเค' แถลงข่าวแตงโม

โดย โบ ทีเค ตอบคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งถึง สาเหตุที่ทำให้แตงโมเสียชีวิตว่าโบไม่รู้ เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่าคิดว่าเขาจะไปปัสสาวะท้ายเรือไหม


"โบไม่ออกความคิดเห็น ขอให้โฟกัสข้อเท็จจริงมากกว่า ขอไม่พูดในข้อคิดเห็น ในคำให้การโบพูดในสิ่งที่โบเห็นและเจอด้วยตัวเอง ที่มาให้การไปวันนี้ก็หวังว่าจะให้ความยุติธรรมกับแตงโม"

จะเห็นได้ว่า สัมภาษณ์ของ โบ สุรัตนาวี ย้ำถึงการให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ฉุกคิด วันนี้จะพาทำความเข้าใจระหว่าง "ข้อเท็จจริง" และ "ข้อคิดเห็น" แตกต่างอย่างไร? ทำไมสังคมต้องได้รับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ทำไมต้องพูดข้อเท็จจริง คำถามต่อมาแล้วจะแยกแยะได้อย่างไร อันไหนคือข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ : ๑๓๓) ให้ความหมายข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นไว้ว่า

ข้อเท็จจริง คืออะไร?

ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง

 

ข้อคิดเห็น คืออะไร?

เมื่อมาดูความหมายของ ข้อคิดเห็น นั้น หมายถึง ความเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้ส่งสารที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหา

 

สรุปง่าย ๆ อาจกล่าวได้ว่า

  • ข้อเท็จจริง ต้องสามารถพิสูจน์สนับสนุนยืนยันได้
  • ข้อคิดเห็น ไม่สามารถสนับสนุนยืนยันได้

 

ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น แยกแยะได้อย่างไร?

ทั้งนี้ ลองนึกภาพหากรับข้อมูลมา แต่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า เรื่องไหนคือ "ข้อเท็จจริง" หรือ "ข้อคิดเห็น" ผลกระทบจะมากมายขนาดไหน และหากยกตัวอย่างของข้อความที่เป็นข้อคิดเห็น เช่น

  • จอยอ่านหนังสือเยอะ จนสอบได้ที่ 1 
  • ผมรักคุรคนเดียว จริง ๆ นะ
  • เดือนพฤษภาคมไม่มีการเลือกตั้งหรอก

 

ซึ่งอาจจะมองดูเป็นข้อความผิวเผิน ๆ แต่จริง ๆ แล้ว เมื่อวิเคราะห์ข้อความที่เป็นข้อคิดเห็นข้างต้นนั้น ไม่สามารถพิสูจน์ได้ กลับกันตัวอย่างของข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น

  • ดวงตา เป็นอวัยวะที่ทำให้มองเห็น 
  • กรุงเทพมหานคร เป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศไทย
  • พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก

 

จะเห็นได้ว่า ตัวอย่างของข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง พิสูจน์ได้ และพิสูจน์ทราบแล้วว่าเป็นข้อเท็จจริง หรือ Fact คำถามต่อมา หากไม่สามารถแยกแยะว่าเรื่องไหน ข้อมูลใด เป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็นได้ จะเกิดอะไรขึ้น 

 

ซึ่งเรื่องนี้หากเริ่มที่ตัวเราลองทบทวนดูว่าการใช้ชีวิตของเราทุกวันนี้นั้น เราตัดสินเรื่องต่าง ๆ นานา จาก "ข้อเท็จจริง" หรือ "ข้อคิดเห็น" แต่ละเรื่องพิสูจน์ได้ หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ และเราจะพบคำตอบ

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง