รีเซต

ภาษีอะไร? ที่เจ้าของกิจการต้องหักจากเงินที่จ่าย ให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย

ภาษีอะไร? ที่เจ้าของกิจการต้องหักจากเงินที่จ่าย ให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย
TrueID
10 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:08 )
882

หน้าที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบกิจการ และประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ก็คือ การหักภาษี และการจ่ายภาษี สำหรับผู้ประกอบการภาษีที่ต้องหักเพื่อนำจ่ายให้กับรัฐนั่นก็คือ "ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย" ซึ่งจะมีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง TrueID ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทราบดังนี้

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคือ?

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร

โดย หัก ณ ที่จ่ายที่กิจการจะพบบ่อยๆ มีดังนี้

  1. เงินเดือน
  2. ค่าเช่าอาคาร / รถ
  3. ค่าเบี้ยประกันวินาศกรรม
  4. ค่าทำบัญชี / ค่าสอบบัญชี
  5. ค่าโฆษณา
  6. ค่าขนส่ง
  7. ค่าส่งเสริมการขาย
  8. ค่าจ้างทำของ
  9. ค่านายหน้า
  10. ค่าที่ปรึกษา
  11. เงินปันผล
  12. ดอกเบี้ยจ่าย

อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

 

รายจ่ายอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
นิติบุคคลบุคคลธรรมดา
เงินเดือน-อัตราก้าวหน้า
ค่าเช่าอาคาร 5%5%
ค่าเช่ารถ 5%5%
ค่าซ่อมแซม 3%3%
ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย 1%-
ค่าทําบัญชี 3%3%
ค่าสอบบัญชี 3%3%
ค่าโฆษณา 2%2%
ค่าขนส่ง 1%1%
ค่าส่งเสริมการขาย 3%3%
ค่าจ้างทําของ 3%3%
ค่านายหน้า3%อัตราก้าวหน้า
ค่าที่ปรึกษากฎหมาย/บัญชี 3%3%
เงินปันผล 10%10%
ดอกเบี้ยจ่าย1%15%

 

แบบคำร้อง/คำขอ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ลำดับชื่อย่อชื่อเต็มดาวน์โหลด
1.

ป.ป.01

แบบคำขอแก้ไขข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายPDF | ZIP
2.

ส่วนที่ 2 ป.ป.01

ส่วนที่ 2 รายละเอียดข้อมูลที่ขอแก้ไขในใบแนบแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายPDF | ZIP
3.

ป.ป.02

แบบคำขออนุโลมการยื่นแบบกรณีใช้แบบผิดประเภทPDF | ZIP
4.

ส่วนที่ 2 ป.ป.02

ส่วนที่ 2 รายละเอียดข้อมูลที่ขออนุโลมใบแนบแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายPDF | ZIP
5.

-

หนังสือแจ้งความตามประมวลรัษฎากรPDF | ZIP
6.

ศก.1

บัญชีนำส่งแฟ้มเอกสารเพื่อจัดเก็บPDF | ZIP

 

ข้อมูล : กรมสรรพากร 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค่าลดหย่อน คืออะไร?

เตรียมตัวยื่นภาษี ทำความรู้จัก ภ.ง.ด. คืออะไร?

เมื่อมีเงินได้ ต้องทำอย่างไร?

รวมค่าลดหย่อน สำหรับยื่นปี 2564

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง