รีเซต

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จัดงานเสวนาในหัวข้อ "อนาคตวิชาชีพนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล" แนะคนทำงานสื่อยุคใหม่ต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จัดงานเสวนาในหัวข้อ "อนาคตวิชาชีพนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล" แนะคนทำงานสื่อยุคใหม่ต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
TNN ช่อง16
13 เมษายน 2567 ( 17:06 )
31
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จัดงานเสวนาในหัวข้อ "อนาคตวิชาชีพนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล" แนะคนทำงานสื่อยุคใหม่ต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

แนะคนทำงานสื่อยุคใหม่ต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

ผู้บริหารองค์กรสื่อ ชี้ คนทำงานสื่อฯ รุ่นใหม่ต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน รวมทั้งเพิ่มทักษะการเล่าเรื่องให้เกิดความประทับใจ

 

เมื่อวันพุธที่ 10 เมษายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตสะพานใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จัดงานเสวนาในหัวข้อ "อนาคตวิชาชีพนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล"
 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้รับความรู้และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำงานด้านนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล


 

ผศ. ดร.ปัทมา รูปสุวรรณกุล รองอธิการบดีอาวุโส กล่าวถึงการจัดงานเสวนาในครั้งนี้ว่า สถานการณ์โควิด-19 สร้างการ Disruption ได้รับผลกระทบไปทุกวงการสื่อมวลชน และผลักดันให้เกิดการปรับตัวทางดิจิทัลหรือ Digital Transformation ที่รวดเร็วและรุนแรงต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดเทคโนโลยีดิจิทัลและแพลตฟอร์มการสื่อสารใหม่ ๆ รวมถึงการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่มาช่วยในการสื่อสารการตลาด ความก้าวหน้าด้าน Machine Learning ที่ช่วยผลักดันจนเกิดเครื่องมือ Generative AI หลากหลายด้าน จนทำให้แวดวงนิเทศศาสตร์ได้รับกระแสความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งการจัดงานเสวนาในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนา โดยเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาหรือทำงานในสายงานนิเทศศาสตร์ต้องมีการปรับตัวในตลาดแรงงาน มุ่งเน้นทักษะที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น จึงต้องมีการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น ตลอดจนนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพในสายงานนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นายก้าวโรจน์ สุตาภักดี Associate Director Digital Media สถานีโทรทัศน์ TNN24 และ True4U กล่าวภายในงานเสวนาว่า เมื่อเทคโนโลยีเข้ามีบทบาทในแวดวงการสื่อสารมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการ Disruption หรือการถูกทดแทนหรือเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ทำให้บุคลากรในสายงานนิเทศศาสตร์หลายแห่งจำเป็นต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ทันต่อตลาดแรงงานในสายงานนิเทศศาสตร์ยุคดิจิทัล นอกจากนี้ พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จึงทำให้ผู้ประกอบการและพนักงานในสายงานนิเทศศาสตร์ต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคสำหรับการสร้างสรรค์เนื้อหาและนำเสนอเนื้อหาให้ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคอย่างแท้จริง

 

ขณะที่ นายจักรพงษ์ คงมาลัย Managing Director บริษัท Moon shot จำกัด กล่าวว่า สิ่งสำคัญอย่างยิ่งของคนทำงานสายงานนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล คือ ทำอย่างไรให้เนื้อหา-ข่าวสารสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารการตลาดต้องเพิ่มหลักการ การเล่าเรื่อง (Storytelling) ในเนื้อหาหรือข้อมูลที่จะสื่อสาร เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ที่รับสารนั้นเกิดความประทับใจ และบอกต่อบนโซเชียลมีเดียได้ ดังนั้น การเล่าเรื่องไม่ใช่แค่การเล่าเรื่องให้ดูดีเท่านั้น แต่ต้องสามารถเล่าเรื่องให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกประทับใจ จนเกิดการบอกต่อ ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่ได้มีการเลือกใช้เครื่องมือการสื่อสารในรูปแบบ การแถลงข่าว (Press Conference) คนที่ทำงานในสายงานนี้ต้องมีการคิดกลยุทธ์ที่จะจัดแถลงข่าวให้กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย สื่อมวลชน , อินฟลูเอนเซอร์ และกลุ่ม Fandom หรือแฟนคลับผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์จากแบรนด์สินค้าตัวจริง อยากจะช่วยบอกต่อหรือส่งต่อข่าวสารให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ข่าวสารนั้น เพื่อทำให้เกิดผู้บริโภคหน้าใหม่หรือลูกค้าใหม่ของแบรนด์ดังกล่าว

 

ทางด้าน ดร.สุภารักษ์ จูตระกูล คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กล่าวถึงการปรับการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ ว่า การเกิด Disruptive Technology ทำให้เทคโนโลยีเข้ามาอิทธิพลกับการดำเนินชีวิตและการทำงานให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยที่มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี หลังจากเปิดการเรียนการสอนไปแล้วนั้น อาจนานเกินไปเพราะในระยะเวลา 5 ปี มีเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น มีเรื่องที่น่าเรียนรู้อีกมากมาย มีการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และพยายามปรับปรุงเนื้อหาแต่ละรายวิชาให้ทันเหตุการณ์กับโลกปัจจุบันและมีการตรวจสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรและผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (PLO – Program Learning Outcome และ Course Learning Outcome) ให้ความสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการ ตลอดจนการนำเจเนอเรทีฟ AI มาช่วยสอนในการสร้างสรรค์ผลงานในงานนิเทศศาสตร์ ทั้งด้านภาพยนตร์ บรอดแคสต์ การผลิตงานโฆษณา การสร้างสรรค์งานด้านการสื่อสารการตลาด เช่น Chat GPT, Adobe Sensei, DALL-E

 

ดร.สุภารักษ์ จูตระกูล ยังกล่าวเสริมว่า “หลักสูตรนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ต้องพยายามสร้างนักนิเทศศาสตร์แห่งอนาคต มีทักษะในการปรับตัวให้ทันตามการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่ต้องมี Technical Skills หรือ ทักษะเชิงเทคนิคตามสายงาน และ  Marketable Skills หรือ Soft Skills เพื่อออกไปทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันหรืออนาคตอันใกล้ ไม่เกิน 5-10 ปี เหมือนในอดีต แต่ต้องสร้างคนทำงานที่พร้อมจะออกไปทำงานในสเกล 30-40 ปี (หรือมากกว่า) ต้องเป็น People of Tomorrow เป็นคนที่พร้อมสำหรับอนาคตที่กำลังมาถึง รวมถึงทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ปรับทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ Up Skill เพิ่มเติมทักษะที่มีอยู่เดิมให้แข็งแกร่งขึ้น และ Reskill เปลี่ยนทักษะจากงานประเภทหนึ่ง ถ่ายโอนไปงานอีกประเภทหนึ่งได้ (Knowledge and Skill Transfer) ซึ่งทักษะเหล่านี้จะมีความหมายกับชีวิตเราไปอีกเป็น 10 หรือ 20-30 ปีในอนาคต จะทำให้กลายเป็นนักนิเทศศาสตร์ที่ยังคงทำงานได้จริงในทุกยุคไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่ทำได้คือ การปรับตัวและมองหาประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี และ AI



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง