ถุงมือ VR และ AR ที่จะทำให้เรารับรู้ความรู้สึกได้จริง ๆ
ระบบเซ็นเซอร์ไฟเบอร์ออปติกแบบกระจาย (DFOS) เป็นระบบที่ใช้กับโครงสร้างพื้นฐานเช่นสะพาน ทางหลวง และการออกแบบอาคารให้ทนต่อแรง ความชื้น หรือภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ซึ่งการวิจัยล้่าสุดได้มีการหยิบเอาระบบ DFOS มาใช้กับหุ่นยนต์ชีวทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามระบบดังกล่าวได้ส่งมาถึงเทคโนโลยีอย่าง AR และ VR อีกด้วย
นักวิจัยจาก Cornell University ได้ทำการตีพิมม์บทความของพวกเขาลงในนิตยสาร Science เมื่อทางทีมได้ทำการพัฒนาถุงมือเซ็นเซอร์แบบใหม่ที่มีหุ่นยนต์ขนาดเล็กยืดได้ใช้แสงเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของมือที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน โดยการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสีและความเข้ม ตัวหุ่นยนต์จะแยกแยะการเคลื่อนไหวของสิ่งเร้าได้อย่างแม่นยำ เช่น การงอ ยืด และการกดที่เปลี่ยนไปได้แบบ real-time เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นอนาคตของขาเทียมและแขนเทียมในอนาคต
ถุงมือเซ็นเซอร์ทางทีมงานได้รวมเอาเซ็นเซอร์จับแสงจาก DFOS รวมเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเซ็นเซอร์รวมอยู่ในร่างกายที่ยืดได้และหุ่นยนต์เพื่อสร้างถุงมือตรวจจับ โดยถุงมือมีเส้นใยออปติคัลอีลาสโตเมอร์แบบดูอัลคอร์ สามารถจับการเคลื่อนไหวแบบไดนามิก และมีบริเวณสีย้อมที่มีลวดลายพร้อมกัน แกนทั้งสองยังมีชิปเซ็นเซอร์สีแดง - เขียว - น้ำเงิน การวัดความเข้มของแสงเป็นสี ช่วยให้สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องใช้อัลกอริทึม machine learning ตัวถุงมือใช้ 3D printed ให้มีตัวนำทางเส้นแสงที่ยืดได้ สำหรับเส้นใยตรวจจับหลายรูปแบบ (SLIMS) โดยแต่ละนิ้วจะทำการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่ แสงจะสว่างเป็นสีต่าง ๆ เพื่อระบุตำแหน่งและประเภทของการเคลื่อนไหว จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ผ่านบลูทูธ แล้วทำการสร้างแบบจำลองการเคลื่อนไหวแบบ Real-time
โดยจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2016 เมื่อทาง Robert Shepherd's Organic Robotics Lab ได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความไวต่อการสัมผัสโดยใช้ท่อนำคลื่นแสงที่ยืดได้ เทคโนโลยีดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากมนุษย์ ถุงมือเซ็นเซอร์สามารถนำมาใช้ได้กับทางการแพทย์ ทางชีวภาพเพื่อวัดสิ่งเร้าที่ผู้ป่วยรู้สึกในอวัยวะสำคัญ ๆ นอกเหนือจากการใช้งานด้านชีวการแพทย์แล้ว ทีมงานกำลังศึกษาว่าเซ็นเซอร์ SLIMS เพื่อนำไปใช้กับเทคโนโลยี VR และ AR
รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม
สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE
แหล่งที่มา sciencetimes.com