รีเซต

“ลดอายุอาชญากรรมเด็ก” เหลือ 12 ปี หวังลดแนวโน้มผู้ก่อเหตุอายุน้อยลง?

“ลดอายุอาชญากรรมเด็ก” เหลือ 12 ปี หวังลดแนวโน้มผู้ก่อเหตุอายุน้อยลง?
TNN ช่อง16
5 มกราคม 2567 ( 09:14 )
60



ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เตรียมหารือกับหน่วยงานยุติธรรม เพื่อพิจารณาปรับลดอายุอาชญากรรมเด็กจาก 15 ปีเป็น 12 ปี เนื่องจากปัจจุบันผู้ก่อเหตุรุนแรงอายุน้อยลงเรื่อยๆ หลังเกิดเหตุเด็กอายุ 14 ปีกราดยิงในศูนย์การค้าสยามพารากอนเมื่อวันที่ 3 ต.ค.66


“ตำรวจได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยหยิบยกแบบอย่างของต่างประเทศมาศึกษาเพื่อปรับลดอายุของผู้กระทำผิดให้ต่ำลงจากอายุ 15 ปี เหลือ 12 ปี เรื่องนี้จะมีการหารืออย่างจริงจัง เพราะปัจจุบันการก่อเหตุอาชญากรรมในเด็กมีความรุนแรงมากขึ้น มีการเลียนแบบโซเชียลมากขึ้น และผู้ก่อเหตุก็มีอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ”  พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.กล่าว


ทีมข่าว TNNOnline ขอหยิบยก ประเด็นทางข้อกฎหมายกรณีเด็กและเยาวชนทำผิด / ก่อเหตุอาชญากรรม มาไล่เรียงให้ทราบถึงขั้นตอนต่างๆ ปัจจุบัน เด็กอายุอายุเท่าไหร่ ถึงไม่ต้องรับโทษ พร้อมพาส่องตัวเลขสถิติการก่ออาชญากรรมในเด็กที่ผ่านมา มีกี่คดี และสาเหตุหลักมากจากอะไร?



"เด็กทำผิด" ไม่ต้องรับโทษ?


- เด็ก คือ บุคคลที่อายุกว่า 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี

- เยาวชน คือ บุคคลที่อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี บริบูรณ์


ตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 73 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เด็กอายุไม่เกินสิบสองปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ" 

  (มาตรา 73 วรรคหนึ่ง ใหม่ เป็นการแก้ไขเกณฑ์อายุเด็ก จากเดิมบัญญัติให้เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ เป็นอายุไม่เกิน 12 ปี)


ข้อควรรู้ : ถึงแม้เด็กและเยาวชนแม้ไม่ได้รับโทษอาญาแต่ยังต้องรับผิดในทางแพ่งโดยพ่อแม่ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย  ตามมาตรา 429 


มาตรา 429  "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้ อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล ซึ่งทำอยู่นั้น"


กระบวนการ หลังถูกจับคดีอาญา  

จับกุมเด็กและเยาวชน ต้องคำนึงถึงเกณฑ์อายุ

อายุต่ำกว่า 12 - 18 ปี | รับ VS ไม่รับโทษ? 


เมื่อมีการจับกุมเด็กและเยาวชน (อายุต่ำกว่า 12 – 18 ปี)  กำหนดให้ “ตำรวจ” ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิตามกฎหมายให้เด็กและเยาวชนทราบ หลังจากนั้นก็ให้นำตัวเด็กหรือเยาวชนไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยเร็ว ทำการสอบสวนสอบปากคำ ดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย และให้ ส่งตัวเด็กหรือเยาวชน ที่ถูกจับไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุม ภายในเวลา 24 ชั่วโมง


| อายุต่ำกว่า 12 ปี

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองเด็ก (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) จะต้องดำเนินการ

– สืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำหนดแนวทางคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก

– จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนแก้ไขฟื้นฟูเด็ก วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพ การยุติการคุ้มครอง รวมถึงการเยียวยาผู้เสียหาย


| อายุ 12 – 15 ปี

– แจ้งผู้ปกครอง และแจ้งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เพื่อสืบเสาะและจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูส่งให้ตำรวจ/อัยการ/ศาล ภายใน 30 วัน

– นำตัวเด็กส่งต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ภายใน 24 ชั่วโมง

– ศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณาคดี กรณีศาลฯ เห็นว่ายังไม่เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ จะดำเนินการว่ากล่าวตักเตือนปล่อยตัวชั่วคราว (มี/ไม่มีประกัน) ส่งตัวเด็กไปยังสถานศึกษา/ฝึกอบรมมอบตัวเด็กให้อยู่กับบุคคล/องค์กรที่ศาลเห็นสมควร หรือกำหนดเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามภานในระยะเวลาที่กำหนด


| อายุ 15 – 18 ปี

– กรณีศาลฯ เห็นว่า ยังไม่เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับเด็กและเยาชนอายุ 12 – 15 ปี

– กรณีศาลฯ เห็นว่า เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ : ลดโทษกึ่งหนึ่งของโทษทางกฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดในคดีอาญาหรือสั่งโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้ (ถ้าเด็กหรือเยาวชนที่ทำความผิด มีร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และนิสัยเหมือนผู้ใหญ่)



ส่องสถิติ คดีเด็กและเยาวชน จากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน


ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 จำนวนคดีอาญาที่มีเด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิดเข้าสู่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั้งสิ้น 12,195 คดีโดยจากคดีทั้งหมดเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเป็นเพศชาย 11,032 คดีคิดเป็นร้อยละ 90.49 เพศหญิง  60 คดี คิดเป็นร้อยละ 9.51


นอกจากนี้ยังพบว่าคดีส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้กระทำความผิดที่มิได้อยู่กับบิดามารดาหรือบิดามารดาแยกกันอยู่มากกว่าผู้กระทำความผิดที่อยู่ร่วมกับครอบครัว คือ คดีที่ผู้กระทำความผิดมิได้อยู่กับบิดามารดาหรือบิดามารดาแยกกันจำนวน 9,239 คดีคิดเป็นร้อยละ 70.75 ของคดีทั้งหมดส่วนคดีที่ผู้กระทำความผิดที่อยู่ร่วมกับครอบครัวจำนวน 3,820 คดีคิดเป็นร้อยละ 29.25 


คดีส่วนใหญ่เป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมากที่สุดรองลงมาเป็นคดีที่มีความผิดอื่นๆเช่นพอรอบอจราจรพอรอบอการพนันนอกจากนั้นเป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับซับเป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับเพศและเป็นคดีที่มีความผิดฐานความมั่นคงความสงบสุขเสรีภาพและการปกครอง 


จากสถิติข้างต้นพบว่าฐานความผิดที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในสัดส่วนที่มากที่สุดนั่นคือการกระทำความผิดในฐานยาเสพติดให้โทษเป็นร้อยละ 40.7 ของคดีทั้งหมดถึงแม้ว่าคดีอาญาโดยรวมลดลงแต่ยังต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดโดยพื้นฐานจริงๆแล้วการกระทำความผิดอื่นๆมักเกิดจากยาเสพติดเป็นหลัก 


ข้อมูล : กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน / สำนักงานกิจการยุติธรรม

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง