รีเซต

ภาษาไทยวันนี้ ตามรอย บุพเพสันนิวาส 2 ขอเสนอคำ "ออเจ้า" ใช้ยังไง?

ภาษาไทยวันนี้ ตามรอย บุพเพสันนิวาส 2 ขอเสนอคำ "ออเจ้า" ใช้ยังไง?
TeaC
29 กรกฎาคม 2565 ( 12:40 )
2.3K

ข่าววันนี้ 29 กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 ชวนตามรอยหนังบุพเพสันนิวาส 2 กับความรู้เกี่ยวกับ "ออเจ้า" วลีเด็ดชวนติดหู มีใช้จริง หรือไม่จริง มาหาความรู้ไปด้วยกันนะ 

 

ภาษาไทยวันนี้

ตามรอย บุพเพสันนิวาส 2

 

"ออเจ้า" ชื่อกระไร?


เหตุใดจึงพูดว่า "ออเจ้า"


อ้าว! แล้วถ้า "ออเจ้า" ไม่ให้พี่เรียกออเจ้า "ออเจ้า" จะให้พี่เรียกออเจ้าว่ากระไร


ประโยคบทสนทนาของพระนางในหนัง "บุพเพสันนิวาส 2" ภาพยนตร์ใหม่แกะกล่องของค่ายหนังดังที่ชวนให้ออเจ้าทั้งหลายร่วมเสพความสนุก ความบันเทิง พ่วงด้วยความรู้ และที่ต้องฮิตติดปาก ฮิตติดหูจะเป็นอะไรไม่ได้เลย นอกจากคำว่า "ออเจ้า" 

 

เพราะหากใครได้ติดตามบุพเพสันนิวาส ภาคละครมาก่อน ต้องยอมรับเลยว่า "ออเจ้า" ฮิตถล่มทลายบนสังคมออนไลน์ แถมชวนให้เกิดกระแสมากมาย ทั้ง ชุดไทยฟีเวอร์ ตามรอยสถานที่ท่องเที่ยว คำไทยอย่าง "ออเจ้า" ที่เหล่าแบรนด์หยิบมาสร้าง Content เกาะติดเทรนด์ได้สุดปัง ชวนน่ารัก น่าหยิก ชนิดที่ทุกแพลตฟอร์มต่างกระโดดร่วมสร้างไอเดีย สีสันให้เป็นที่จดจำไปอีก 

 

แต่วันนี้ TrueID ขอหยิบวลี "ออเจ้า" วลีเด็ดสุดฮิต คำภาษาไทยที่อาจไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ หากไม่ได้ดู "หนังบุพเพสันนิวาส 2" และ "ละคร บุพเพสันนิวาส" และต้องมีคนสงสัยกันบ้างว่า "ออเจ้า" มีใช้ในสมัยโบราณจริงหรือไม่ มาม่ะ มาเสริมความรู้ต้อนรับวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 กัน

 

ออเจ้า คำฮิตที่ถูกค้นบน google มีอะไรบ้าง?

เชื่อว่าหลายคนต้องใช้เว็บไซต์อย่าง กูเกิล ในการค้นหาความรู้มากมาย และคำฮิตอย่าง "ออเจ้า" ก็ถูกคนคว้า ถูกค้นหาไม่แพ้กัน อาทิ

  • ออเจ้า ใช้ยังไง
  • ออเจ้า ภาษาอังกฤษ
  • ออเจ้า ใช้ในสมัยใด
  • ออเจ้า คือใคร
  • ออเจ้า ราชบัณฑิต
  • ออเจ้า เอย มี ความ หมาย ว่า

 

นั่นสะท้อนให้เป็นไปได้ว่าละคร หนัง บุพเพสันนิวาส 2 ปลุกให้คนกลับมาสนใจถึงที่มาที่ไปคำว่า "ออเจ้า" อีกครั้ง 

 

ออเจ้า ราชบัณฑิต

โดยข้อมูลคำว่า "ออเจ้า" จากพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 อธิบายไว้ว่า เป็นคําโบราณ เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย

 

และหากใครเป็นหนอนหนังสือวรรณคดีอย่าง "ขุนช้าง ขุนแผน" ต้องเคยผ่านตาประโยคในเสภาขุนช้างขุนแผน ในตอนหนึ่งที่ขุนแผนได้พูดกับพลายงามเรื่องความฝัน เมื่อตอนได้นางศรีมาลาว่า 

 

"ขุนแผนฟังความพลายงามเล่า เอ๊ะออเจ้าช่างฝันดูขันจ้าน

ฝันเช่นนี้มีตำรับแต่บุราณ ใครฝันมักบันดาลได้เมียดี"

 

นี่เท่ากับว่า "ออเจ้า" เป็นคำโบราณที่มีอยู่ในบทประพันธ์ทางวรรณคดี รวมทั้ง "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรีได้เคยอธิบายถึงที่มาที่ไปของ คำว่า "ออเจ้า" เมื่อครั้งที่ "ละคร บุพเพสันนิวาส" ทางช่อง 3 โด่งดังเป็นพลุแตก คนติดขอบจอทั่วบ้านทั่วเมือง และสังคมออนไลน์ได้เกิดแชร์ ถกเถียงว่า "ออเจ้า" ไม่ได้เป็นภาษาไทยเดิม แต่เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดมาจากฝรั่งเศส

 

ออเจ้า เป็นคำไทยดั้งเดิม

ซึ่งเรื่องนี้ นายวิษณุ เครืองาม ในฐานะราชบัณฑิตยสถาน ให้สัมภาษณ์ยืนยันกับรายการเรื่องเล่าเช้านี้ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561 ว่า ออเจ้าเป็นภาษาไทยดั้งเดิม ไม่ได้มาจากภาษาฝรั่งเศสอย่างที่มีการแชร์กัน เนื่องจากเป็นคำที่พบในมหาชาติคำหลวง แต่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่ขณะนั้นก็ยังไม่มีอิทธิพลจากฝรั่งเศสเข้ามาเลย

โดยพบว่า คำว่า "ออท่าน" "ออพี่" "ออเจ้า" และคำว่า "ออเฒ่า" ใช้เรียกชูชกในบทวรรณกรรม ซึ่งในเรื่องชุนช้างขุนแผน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ยังมีการใช้เรียกผู้หญิง ที่ชื่อนางพิณว่า ออพิณด้วย ดังนั้น คำว่า ออ เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกบุรุษที่ 2 ซึ่งแปลว่า "คุณ" เดิมใช้สำหรับผู้ชาย แต่ต่อมามีการต่อยอดไปแล้วก็ใช้กับผู้หญิงด้วย 

นอกจากนี้ ยังมีการใช้คำว่า "ออเจ้า" ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 2 ที่ทรงเรียกพระสนมที่เป็นคนธรรมดา อย่าง เจ้าจอมมารดาเรียม พระราชชนนีของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยรัชกาลที่ 2 เรียกว่า ออเรียม ซึ่งแปลว่า คุณเรียม นั่นเอง เพื่อเป็นการให้เกียรติ 

ดังนั้น "ออเจ้า" จึงเป็นคำไทยดั้งเดิม

 

และนี่คือความรู้ ความสนุก ความเป็นไทยที่ ละคร หนังบุพเพสันนิวาส 2 สอดแทรกไว้ให้ได้ค้นคว้า ภาษาไทย อย่างเข้าใจกัน 

 

ใครยังไม่ได้ดูหนัง มาอ่าน รีวิว หนัง บุพเพสันนิวาส 2 กันก่อนนะออเจ้าทั้งหลาย!

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง