"ราชกิจจาฯ" ออกข้อกำหนด พรก.ฉุกเฉินผ่อนคลายมาตรการคุมโควิด-19
ราชกิจจาฯเผยแพร่ ราชกิจจาฯเผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 44) เป็นการออกมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 หลายมาตรการด้วยกันเพื่อเป็นการต้อนรับการเปิดประเทศ 1 พ.ค.65
มีเนื้อหาว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ นั้น
โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่คลี่คลายลง จากการตรวจพบผู้ติดเชื้อและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในจำนวนที่ลดลง อีกทั้งประชาชน กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น(Booster Dose) ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณยาและเวชภัณฑ์ บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยวิกฤตอยู่ในระดับเพียงพอ อันเป็นผลมาจากการบริหารจัดการและควบคุมการระบาดของฝ่ายสาธารณสุขและพนักงานเจ้าหน้าที่ ภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทุกภาคส่วนที่ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO ) ได้ยกย่องให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและรับมือกับการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภำพ ประกอบกับข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขได้รายงานว่า ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจหรือเดินทางเข้ามาในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว แม้จะตรวจพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้างแต่ก็มีจำนวนน้อยและสามารถควบคุมได้ จึงมิได้เป็นปัจจัยที่มีผลให้การติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ที่หลายประเทศได้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคและเปิดประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติและเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุขจึงได้พิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้
ข้อ1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคำสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์
และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเป็นไปตามแผนการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้
ข้อ 2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ รวมทั้ง มาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 42 ) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565 ด้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่สำมารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญำต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว และมาตรการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำ หนดดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ ในส่วนของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาเพื่อดำเนินมาตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นอกสถานที่ตั้งหน่วยงานตมความเหมาะสม