รีเซต

'WHO' เตือนอะไร จากประเด็นไทยสลับวัคซีนฉีด

'WHO' เตือนอะไร จากประเด็นไทยสลับวัคซีนฉีด
TrueID
15 กรกฎาคม 2564 ( 13:41 )
115
'WHO' เตือนอะไร จากประเด็นไทยสลับวัคซีนฉีด

จากประเด็นในที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมาได้มีการหารือเพิ่มเติมในประเด็นที่มีการเผยแพร่ข้อความและคลิปวีดิโอจากองค์การอนามัยโลก โดย Dr.Soumya Swaminathan หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ WHO โดยมีเนื้อความบางส่วนกล่าวว่า ประชาชนไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยผสมสูตร

 

วันนี้ trueID นำสิ่งที่ 'WHO' ได้ออกมาเตือนเรื่องการฉีดวัคซีนสลับชนิดกันมาให้ทราบกัน

 

 

 

สิ่งที่ 'WHO' ออกมาเตือน

 

มันเป็นเทรนที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะเรายังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานออกมารองรับที่ชัดเจนในขณะนี้ ยังจะต้องมีการศึกษาอย่างลึกซึ้งต่อไปอีก และเราควรจะรอการศึกษาที่ชัดเจน ทันทีที่ ดร.โสมญาแถลงและเป็นข่าวไปทั่วโลก ก็มีปฏิกิริยาสวนกลับมาเพียงไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง โดยเฉพาะจากหลายรัฐในประเทศแคนาดา

 

อย่างน้อยรัฐมนตรีสาธารณสุขของรัฐออนทาริโอ และอัลเบอร์ตา ได้ออกมาโต้แย้งในเวลาไล่เลี่ยกันว่า ทั้ง 2 รัฐจะเดินหน้าต่อ เพราะได้มีการศึกษาในเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่ามีผลดีในการเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกัน และไม่มีผลลบเฉพาะหน้า

 

ที่สำคัญประชาชนใน 2 รัฐนี้ จำนวนไม่น้อยฉีดสลับยี่ห้อกันไปแล้ว ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขของทั้ง 2 รัฐ ยืนยันว่าไม่ควรตระหนกตกใจ โดยที่รัฐออนทาริโอได้ฉีดแอสตราเซเนกาเข็มแรกและหันมาเสริมด้วย mRNA ในเข็ม 2 ไปแล้วจำนวนหนึ่ง

 

 

การฉีดวัคซีนสลับชนิดในประเทศไทย

 

คุณหมอ ยง ภู่วรวรรณ ทำให้ทราบว่าบ้านเราได้มีการทดลองฉีดสลับยี่ห้อเรียบร้อยและได้ผลดีมาก โดยเริ่มจาก ซิโนแวค ที่เป็นเชื้อตาย แล้วไป แอสตราเซเนกา ที่เขาเรียกว่าไวรัสเวกเตอร์ ทำให้ประสิทธิภาพป้องกันสูงขึ้นหลายเท่า

 

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางไวรัสวิทยาคลินิกคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ เปิดเผยว่า สูตรการสลับชนิดวัคซีนทางศูนย์ฯได้มุ่งมั่นศึกษาวิจัยโดยทีมนักวิทยาศาสตร์และคณะแพทย์กว่า 30 ชีวิต เพื่อนำมาใช้อย่างเร่งด่วนในประเทศไทยให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่การสลับชนิดของวัคซีนพบว่าการให้วัคซีนเข็มแรกเป็นเชื้อตายแล้วตามด้วยไวรัสเวกเตอร์จะกระตุ้นได้ดีมาก

 

การให้วัคซีนเชื้อตาย  เปรียบเสมือนการทำให้ร่างกายเราเคยติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันขึ้นมาระดับหนึ่งและสร้างความคุ้นเคยกับระบบภูมิต้านทานเมื่อกระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิดกันโดยเฉพาะไวรัสเวกเตอร์จึงเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Booster Effect เหมือนกับคนที่หายแล้วจากโรคโควิด-19 ได้รับการฉีดวัคซีนเสริมอีก 1 ครั้งก็จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้เช่นเดียวกันซึ่งเราได้ทำการทดลองแล้ว

 

นพ.ยงกล่าวว่า การศึกษานี้ไม่ได้ทำเฉพาะการตรวจวัดภูมิต้านทานเท่านั้นแต่ยังได้ทำ “ภาวะการขัดขวางไวรัส Inhibition Test” ซึ่งสามารถขัดขวางได้ดีมากเฉลี่ยถึง 95% บางรายถึง 99%  ในทำนองเดียวกันการฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็มยิ่งสอนให้ร่างกายเหมือนการติดเชื้อจริงแบบเต็มๆหรือแบบรุนแรงเมื่อมากระตุ้นด้วยวัคซีนไวรัสเวกเตอร์จึงมี Booster Effect ที่สูงมากการศึกษาวิจัยของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้เรากำลังศึกษา “สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)” และระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่เรียกว่าT-cell หรือCMIR

 

นพ.ยง  เปิดเผยด้วยว่าการศึกษานี้ฝรั่งตามไม่ทันแน่นอนเพราะฝรั่งไม่ได้ใช้วัคซีนเชื้อตายและจีนก็ไม่ได้ใช้วัคซีนไวรัสเวกเตอร์  ข้อมูลลักษณะนี้ผมมีเป็นจำนวนมากมากพอที่จะสรุป “ข้อดี” ที่ทำให้กระทรวงสาธารณสุขยอมรับและนำไปปรับใช้ในเชิงนโยบายก็คือทำให้ผู้ได้รับวัคซีนมีภูมิต้านทานสูงภายใน 6 สัปดาห์เร็วกว่าวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ที่ต้องใช้เวลา 12 สัปดาห์เหมาะสมกับโรคที่กำลังระบาดซึ่งเรารอไม่ได้  และเป็นการใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ในขณะนี้ที่มีจำกัดให้ได้ประโยชน์สูงสุดส่วนการกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไวรัสเวกเตอร์สามารถทำให้เกิดภูมิต้านทานที่สูงมากโดยไม่ต้องรอวัคซีนชนิดอื่นเพื่อประโยชน์ของบุคลากรทางการแพทย์

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง