รีเซต

เช็ค! ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2566-2567

เช็ค! ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2566-2567
TrueID
18 กรกฎาคม 2566 ( 11:41 )
32.6K

ข่าววันนี้ ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่าย? ใคร? เก็บภาษีที่ดิน มาม่ะมาทำความเข้าใจกันหน่อย หลัง กระทรวงการคลัง ออกมายืนยันว่า จะไม่พิจารณาปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีนี้ หลังจากที่ได้ปรับลดภาษีดังกล่าวมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว​ เนื่องจาก​ การลดภาษีดังกล่าวถือเป็นภาระทางการคลัง 

 

ดังนั้น วันนี้ TrueID จะพามาทำความเข้าใจเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปชนถึงวิธีเช็คภาษีที่ดิน ปี 2566-2567 ใครต้องจ่าย? จ่ายเท่าไหร่? ใครเป็นคนเก็บภาษีที่ดิน มีเกณฑ์ เงื่อนไข ขั้นตอนอย่างไรบ้าง? จะได้เตรียมวางแผนการเงินไว้สำหรับรายจ่ายตรงนี้กัน

 

เช็คภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2566-2567

 

สำหรับภาษีที่ดิน หรือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่ดินใหม่ มาจากพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่มาแทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ถูกยกเลิกไป

 

ใครมีหน้าที่จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง? 

ภาษีที่ดิน ใครมีหน้าที่จัดเก็บ  คำตอบคือ

  • กรุงเทพมหานคร
  • เทศบาล
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เมืองพัทยา

 

จัดเก็บภาษีที่ดิน อย่างไร?

ซึ่งภาษีที่ดินใหม่นี้จะทำการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี แบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • ประกอบการเกษตรกรรม
  • ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
  • ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย
  • ที่รกร้างว่างเปล่า

 

1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรม

ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินทำเกษตรมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ซึ่งใช้ในการทำการเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น

  • ทำนา
  • ทำไร่
  • สร้างสิ่งปลูกสร้างไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์

อัตราภาษีที่ดินปัจจุบัน : โดยจะมีมูลค่าทรัพย์สินเริ่มต้นที่ 0-75 ล้านบาท คิดอัตราภาษีเป็น 0.01% ไปจนถึงมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะคิดอัตราภาษี 0.1% (ภาษี ล้านละ 100 บาท)

 

2. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย

ผู้เสียภาษีจะต้องเป็น

  • ผู้ที่มีที่อยู่อาศัยหลังแรกมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท
  • เป็นเจ้าของบ้านแต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท
  • ผู้มีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2

 

อัตราภาษีที่ดินปัจจุบัน : โดยมูลค่าที่เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท และคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 0.02% (ภาษี ล้านละ 200 บาท)

 

3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1. และ 2.

ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ในครอบครองและใช้เพื่อการค้าหรือแสวงหากำไร เช่น การปล่อยเช่า ฯลฯ จะต้องเริ่มเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก


อัตราภาษีที่ดินปัจจุบัน : โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์เริ่มต้นที่ 0-50 ล้านบาท และคิดอัตราภาษีที่ 0.3% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท)

 

4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามความแก่สภาพ

ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งร้างไว้ ไม่ได้นำมาทำประโยชน์อะไร

อัตราภาษีที่ดินปัจจุบัน : โดยจะมีมูลค่าหลักทรัพย์เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 0.3% ไปจนถึงมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นได้ จะคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 0.7% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท)

 

ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่าย?

 

สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินใหม่ ได้แก่ เจ้าของในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์ หรือเจ้าของในโฉนดในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือถ้าเป็นเจ้าของร่วมกันหลายคน เจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่งชำระภาษีครบถ้วนก็ถือว่าเรียบร้อยแล้ว และต้องชำระภายในเดือนเมษายนของปีนั้น ๆ 

 

วิธีคำนวณภาษี

 

ซึ่งสูตรคำนวณเป็นขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีและจะปรับราคาประเมินที่ดินตามรอบบัญชีประเมินราคาทุก 4 ปี (ตามการปรับราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์)

 

1. สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

คำนวณจากสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน

 

2. สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

คำนวณจากสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี โดยมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง)

 

3. สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับห้องชุด

คำนวณจากสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี โดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)

 

ชำระภาษีที่ไหน?

ใครที่ต้องชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถชำระภาษีได้ตามนี้

 

  1. เทศบาล ชำระที่ สำนักงานเทศบาล
  2. อบต. ชำระที่ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล
  3. กทม. ชำระที่ สำนักงานเขต
  4. เมืองพัทยา ชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา

 

อย่าลืมคำนวณภาษีแล้ว ต้องไปเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันด้วยนะ 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง