รีเซต

ชำแหละความจริง มะพร้าวส่งยุโรป ใช้แรงงานคนล้วนๆไม่มีลิง

ชำแหละความจริง มะพร้าวส่งยุโรป ใช้แรงงานคนล้วนๆไม่มีลิง
TNN ช่อง16
8 กรกฎาคม 2563 ( 19:13 )
655
1
ชำแหละความจริง มะพร้าวส่งยุโรป ใช้แรงงานคนล้วนๆไม่มีลิง

วันนี้ ( 8 .. 63 )สำนักข่าว TNN ช่อง16 ลงพื้นที่สำรวจดูสวนมะพร้าว จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นสวนมะพร้าวน้ำหอม ที่ปลูก ส่งออก ให้กับตลาดในแถบยุโรป โดยจะต่างจากมะพร้าวที่ปลูกในในภาคใต้ ที่จะเป็นมะพร้าวแกง ที่นำไปเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป กะทิ โดยการปลูกมะพร้าวน้ำพร้อม ของเกษตรกรที่ราชบุรี เป็นการปลูกด้วยมาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล และที่นี้เองก็ไม่เคยใช้แรงงานลิงกังในการเก็บมะพร้าว 


ในทุกวัน แรงงานในสวนมะพร้าว อำเภอบางแพ จังหวัด ราชบุรี จะสอยมะพร้าวน้ำหอมลงจากต้น ด้วยด้ามไม้สอย 2 รูปแบบ คือ ไม้สำหรับค้ำ และไม้เกี่ยวด้วยมีดขอ โดยมะพร้าวจะตกลงสู่ร่องน้ำ ก่อนที่แรงงานจะผูกและจัดเรียงขึ้นบนรถ ก่อนที่จะส่งเข้าสู่โรงงาน ทำการคัดแยกมะพร้าว ส่งออกต่างประเทศ โดยเป็นวิธีการหลักในการเก็บมะพร้าวที่ทำมาแต่ดั่งเดิม และเกษตรกรยืนยัน ไม่เคยใช้แรงงานลิงกังในการเก็บมะพร้าว 


ประยูร วิสุทธิไพศาล ประธาน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลไม้ปลอดภัยสารพิษส่งออก จังหวัดราชบุรี และเกษตรกร ที่ปลูกมะพร้าวมากว่า30 ปี บอกว่า 



การใช้ลิงในการเก็บมะพร้าว ทางภาคใต้ แต่ก่อนอาจจะมี แต่ปัจจุบันลดลงอย่างมาก ส่วนใหญ่เหลือเพียง การเลี้ยงลิงกังไว้โชว์เก็บมะพร้าวให้นักท่องเที่ยวดูเท่านั้น หากจะผลิต เก็บในเชิงอุตสาหกรรม เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ลิงในการเก็บมะพร้าว


มะพร้าวน้ำหอม ถูกจัดอยู่ในกลุ่มผลไม้ ส่วนใหญ่จะปลูกทางภาคกลาง เช่น จังหวัดราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม ซึ่งจะต่างจากมะพร้าวที่ปลูกในภาคใต้ ที่จะเป็นมะพร้าวแกง โดยจะนำไปเแปรรูป เป็น กะทิ เนื่องจากเนื้อจะมัน เก็บเกี่ยวนานกว่ามะพร้าวน้ำหอม


"สมัยโบราณ อาจจะมีบ้างในการใช้ลิงในการเก็บมะพร้าว ที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ มาถ่ายทำ เผยแพร่คลิปนั้น น่าจะเป็นการโชว์การแสดงมากกว่า เพราะว่าแหล่งภาคใต้จะเลี้ยงลิงไว้ พอต่างประเทศมา ก็จัดโชว์การแสดง ความสามารถของลิง พอออกสื่อต่างประเทศ ทำให้เสียชื่อเสียง แต่ความจริงแล้ว การใช้ลิงในการเก็บมะพร้าว จังหวัดราชบุรี ไม่มี เพราะกลุ่มจังหวัดราชบุรี เป็นมะพร้าวน้ำหอม ลิงมองไม่ออกว่า เป็นมะพร้าวลูกแก่ หรือ ลูกอ่อน" ประยูร กล่าว 



โดย มะพร้าวน้ำหอมภาคกลางจะต่างจากทางภาคใต้ เช่นที่ จังหวัดราชบุรี มะพร้าวน้ำหอมนั้น กินแล้ว หอม หวาน ชื้นใจ จะแปรรูปผลสดแล้วส่งออก เจาะน้ำ นำไปบรรจุขวด ส่งออกต่างประเทศ ส่วนเนื้อมะพร้าว ก็จะขูด แปรรูป เช่น เนื้ออ่อนทำไอศกรีม ทำขนม เนื้อกลาง ก็ไปทำชีส หรือ อบแห้ง เป็นผลไม้อบแห้ง บรรจุซอง จำหน่ายแหล่งท่องเที่ยว


การส่งออกต่างประเทศ จะส่งในรูปแบบแปรรูป เช่น ชุบเคมีก็มี แต่ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จะไม่รับรองออแกนิค หากส่งออกไปเครื่องใกล้ๆ จีน ฮ่องกง สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย ก็จะใช้น้ำยาออแกนิค วิตามินซี ในการชุบมะพร้าว แต่จะอยู่ไม่ได้นาน ส่วนโซนยุโรป ที่ไปไกลๆ เช่น ประเทศเยอรมันนี สเปน ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา มะพร้าวน้ำหอม กว่าจะถึง 4-5สัปดาห์ ต้องใช้น้ำยาออแกนิค ที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งน้ำยานี้ชุบแล้วจะอยู่ได้2เดือน เมื่อถึงปลายทาง ลูกค้าก็จะมีเวลาขายได้3-4สัปดาห์ 


อีกส่วนก็จะเข้าโรงงานอุตสาหกรรม เจาะน้ำ ขูดเนื้อ แต่ต้องรับรองมาตรฐานGAP จากแปลง จากโรงงาน ถึงจะส่งออกต่างประเทศได้ พอส่งไปแล้วมีปัญหาปนเปื้อนขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ก็จะสามารถตรวจสอบย้อนกลับมาถึงแปลงเราได้ 


"มะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอมแตกต่างกัน มะพร้าวน้ำหอมดังทั่วโลก ของจังหวัดราชบุรี โดยจังหวัดราชบุรี มีการปลูกมะพร้าวมากที่สุดในประเทศ โดยทั่วโลกไม่มีมะพร้าวน้ำหอมเหมือนประเทศไทย อย่าง โซนอินโดนิเซีย เวียดนาม ลาว พม่า จีน น้อยมากที่มีมะพร้าวน้ำหอม ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย เช่น เกาะไหหลำ ปลูกมะพร้าวได้ แต่เป็นมะพร้าวอ่อน ลูกใหญ่ แต่ไม่หอม ไม่หวาน สู้มะพร้าวไทยไม่ได้" ประยูร กล่าวย้ำ




ส่วนผลกระทบจากข่าวนั้น ประยูร บอกว่า ไม่เป็นผลกระทบ ในการส่งออก เนื่องจากของไทยเป็นมาตรฐานส่งออกอยู่แล้ว และทำมานาน สามารถบุกตลาดทั่วโลกได้ 


ปี 2562 ที่ผ่านมา สวนมะพร้าวของ ประยูร ที่ทำล้งมะพร้าวด้วย นั้น มีการส่งออกมะพร้าวน้ำหอม ไปยังโซนยุโรป ประมาณ 1ล้าน8หมื่นลูก ซึ่งเพียงแค่ล้งเดียว ยังไม่รวมกับทั้งหมด


ในช่วงโควิด-19ที่ผ่านมา การส่งออกต่างประเทศมีสะดุดบ้างในส่วนขึ้นเครื่อง แต่หากจนส่งผ่านรถ ทางตู้ ทางเรือ ไม่มีปัญหา 


สำหรับมะพร้าวน้ำหอม ของ เกษตรกร ดำเนินสะดวก- บางแพ เน้นการส่งออกต่างประเทศในโซนยุโรปเป็นหลัก เช่น ประเทศเยอรมันนี สเปน ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกาบางส่วน รวมถึงในโซนเอเชีย โดยจะแบ่งคัดเกรดมะพร้าวออกตามความต้องการของผู้บริโภคตามประเทศนั้นๆ


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline



ข่าวที่เกี่ยวข้อง