รีเซต

ศบค.เปิดข้อมูลกทม.พบงานเลี้ยงส่วนตัว ดื่มแอลกอฮอล์แก้วเดียวกัน เต้นรำใกล้ชิด ติดเชื้อ100%

ศบค.เปิดข้อมูลกทม.พบงานเลี้ยงส่วนตัว ดื่มแอลกอฮอล์แก้วเดียวกัน เต้นรำใกล้ชิด ติดเชื้อ100%
มติชน
5 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:19 )
39
ศบค.เปิดข้อมูลกทม.พบงานเลี้ยงส่วนตัว ดื่มแอลกอฮอล์แก้วเดียวกัน เต้นรำใกล้ชิด ติดเชื้อ100%

จากกรณีพญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)(ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่าในวันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 586 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 573 ราย แบ่งเป็นระบบเฝ้าระวังและบริการ 47 ราย และผู้ติดเชื้อจากการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 526 ราย กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค(Quarantine) 13 ราย

 

ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยรวมสะสม 22,644 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศ 20,126 ราย จากการคัดกรองเชิงรุก 12,824 ราย รักษาหายแล้ว 15,331 ราย เหลือรักษาอยู่ 7,234 ราย แบ่งเป็นอยู่ในโรงพยาบาล(รพ.) 2,272 ราย รพ.สนาม 4,962 ราย ผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 7 ราย และผู้เสียชีวิตสะสมที่ 79 ราย ในการระบาดรอบใหม่ผู้ติดเชื้อสะสม 18,407 ราย

 

อ่านข่าว – ติดเชื้อใหม่ 586 ราย ‘ชลบุรี-ระยอง’ ไร้ติดเชื้อเพิ่ม จับตา ‘มะกัน’ ป่วยลด นัยยะสำคัญวัคซีน

 

คลัสเตอร์โควิด- พญ.อภิสมัย  ได้แถลงสถานการณ์ ถึงสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครว่า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า  วันนี้มีการวิเคราะห์รายละเอียดชุมชนเมืองกทม.มาให้สังเกต ไปดูที่การจัดงานเลี้ยงส่วนตัว ในกรณีที่ร้านอาหารไม่สามารถเปิดให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เลยมีการรวมตัวกันจัดงานเลี้ยงส่วนตัว ไปดูตัวเลขสถิติ กทม. เอามาให้ดู 4 ตัวอย่าง เป็นการจัดงานเลี้ยงส่วนตัวทั้งสิ้น

 

งานเลี้ยงที่ 1 มีผู้ร่วมงาน 30 ราย ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 9 ราย นับเป็น 30%

งานเลี้ยงที่ 2 มีผู้ร่วมงาน 13 ราย ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 10 ราย นับเป็น 77%

งานเลี้ยงที่ 3 มีผู้เข้าร่วมงาน 7 คน ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 7 คน นับเป็น 100%

งานเลี้ยงที่ 4 มีผู้เข้าร่วมงาน 16 คน ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 16 คน นับเป็น 100%

 

 

จากการวิเคราะห์ ผู้งานเลี้ยงและมีการติดเชื้อในที่สุด คือ มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากแก้วเดียวกันหลายครั้งจากการเล่นเกมส์ อยู่รวมงานเป็นเวลานาน ใช้มือหยิบอาหารและน้ำแข็งมีอาการมีนเมา มีการเต้นรำใกล้ชิด อยู่ในสถานที่แออัดร่วมกันเป็นเวลานาน ที่ย้ำกันเสมอว่า ถ้าเกิน 15 นาที ก็มีความเสี่ยงสูงแล้ว

 

นี่คือความเสี่ยง ที่เราเน้นย้ำมาโดยตลอด เอาสถิติให้ดูชัดเจนเลย และที่สำคัญที่หลายคนบอกว่า พยายามจัดงานเลี้ยงให้มีความรัดกุม มีการสวมหน้ากาก มีการเว้นระยะ

 

แต่ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องทราบว่า เวลาที่คนดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าดูตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก 1-2 ดริงค์จะเริ่มมีอาการผ่อนคลาย เฉื่อยชา การตอบสนองช้าลง เริ่มขาดความยับยั้ง เสียการควบคุมตัวเอง หมายความว่า เริ่มไม่ระมัดระวังตัวเอง”แพทย์หญิงอภิสมัย กล่าวและว่า

 

ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 1 ดริงค์ เท่ากับเบียร์ขนาด 330 CC แอลกอฮอล์ 4% จำนวน 1 กระป๋อง ไวน์ 1 ดริงค์ เท่ากับ 1 แก้ว ขนาด 100 CC แอลกอฮอล์ 12.5% วิสกี้ แอลกอฮอล์ 40% 1 ดริค์ เท่ากับ 30 CC หรือ 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่งในงานเลี้ยง

 

พบว่า ผู้ที่ร่วมงานเลี้ยง ส่วนใหญ่มักจะดื่มเกินกว่านี้ ดังนี้ในส่วนสถานบันเทิง ร้านอาหารที่ต้องการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องเสนอมาตรการว่า จะควบคุมดูแลอย่างไร ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19

 

แพทย์หญิงอภิสมัย กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีการติดเชื้อจากสถานที่ทำงาน ยกตัวอย่าง สำนักงานของคลินิกเสริมความงามที่มีพนักงาน 7 คน พบผู้ติดเชื้อ 5 ราย แผนกหนึ่งในบริษัทมีพนักงาน 10 คนพบผู้ติดเชื้อ 5 ราย

 

โดยปัจจัยเสี่ยงพบว่า มาจากการรับประทานอาหารร่วมกัน พูดคุยใกล้ชิดเป็นเวลานาน โดยไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยขณะปฎิบัติงาน ดังนั้นแต่ละองค์กรต้องมีมาตรการอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการติดเชื้อในองค์กร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง