รีเซต

อย่าประมาท "โอมิครอน" หมอธีระเตือนไม่ติดเชื้อดีที่สุด

อย่าประมาท "โอมิครอน" หมอธีระเตือนไม่ติดเชื้อดีที่สุด
TNN ช่อง16
7 มกราคม 2565 ( 11:31 )
76

วันนี้ ( 7 ม.ค. 65 )รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ถึงสถานการ์โควิด-19 ทั่วโลก ผู้ติดเชื้อสะสมทะละ 300 คนล้านไปแล้ว 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,145,385 คน  เสียชีวิตเพิ่ม 5,914 คน  เสียชีวิตสะสม 5,488,485 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา  ฝรั่งเศส  อิตาลี  สหราชอาณาจักร และอินเดีย 

ส่วนสถานการณ์โควิดกลายพันธุ์ "โอมิครอน" แพร่ระบาดไปแล้ว 143 ประเทศ 

หากดูประเทศต่างๆ ที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับไทย 69.8 ล้านคน  เช่น สหราชอาณาจักร 67.8 ล้านคน  / ฝรั่งเศส 65.2 ล้านคน และอิตาลี  60.4 ล้านคน  ขณะนี้กำลังเผชิญการระบาดของโอมิครอนอย่างหนัก ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันสูงถึง 2 แสนราย โดยทั้ง 3 ประเทศมีอัตราการฉีดวัคซีนครบ 2 โดสสูงกว่าประเทศไทย

ดังนั้น จึงต้องย้ำเตือนให้ไทยเราอย่าประมาท การคาดประมาณจากแหล่งต่างๆ ว่าจะมีจำนวนการติดเชื้อสูงสุดหลักหมื่นต่อวันนั้นอาจต่ำกว่าที่จะเกิดขึ้นจริง หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้

จำนวนการติดเชื้อมหาศาลที่อาจเกิดขึ้นนั้น ต่อให้โอมิครอนจะมีโอกาสเกิดป่วยรุนแรงน้อยกว่าเดลตา แต่จำนวนการป่วยรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงจากการติดเชื้อมหาศาล ย่อมเป็นจำนวนตัวเลขที่มาก นอกจากนี้แม้คนป่วยไม่รุนแรงเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่วนใหญ่นั้น ถ้าเกิดขึ้นพร้อมกันหรือในเวลาไล่เลี่ยกันทั้งประเทศ จะเกิดอะไรขึ้น?

ภาพที่เห็นจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่โดนบอมบาร์ดด้วยโอมิครอนอย่างหนัก โรงพยาบาลก็เต็ม บุคลากรมากมายติดเชื้อจนเกิดปัญหาขาดแคลน นอกจากนี้การระบาดหนักก็ย่อมกระทบต่อการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ณ จุดนี้ ที่กำลังสบตากับ โอมิครอน เราไม่สามารถอยู่ร่วมกับมันแบบปกติได้ ตราบใดที่ประชากรในสังคมจำนวนมากยังเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้ในสัดส่วนที่น้อย ตลอดจนผู้สูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัวยังไม่ได้วัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างทั่วถึงเพียงพอ รวมถึงยังมีกลุ่มคนที่ยังไม่ได้วัคซีนอีกจำนวนมาก

บทเรียนที่ผ่านมาชี้ให้เราเห็นว่า กิจกรรมเสี่ยงกิจการเสี่ยงต่างๆ ส่งผลให้เกิดการระบาดกันทั่วประเทศหลังจากเทศกาล เพราะดำเนินการหรือประกอบกิจการตามวิถีอดีตที่คุ้นชิน และผู้ไปใช้บริการไม่ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดเพียงพอ ในขณะที่กฎระเบียบเขียนไว้ประดับ แต่บังคับใช้ไม่ได้จริง

LONG COVID ปัญหาระยะยาวหากคุมการระบาดไม่ได้

ข้อมูลจากสหราชอาณาจักร ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า เด็กและเยาวชนอายุ 2-16 ปีที่ติดเชื้อโควิดแม้รักษาหายแล้วก็มีอาการคงค้างอยู่จำนวนมาก และมีกว่า 20,000 คน ที่อาการยืดเยื้อนานกว่าหนึ่งปี ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน รวมถึงการเรียนและพฤติกรรมต่างๆ

ข้อมูลสำรวจนักฟุตบอล พบว่ามีอัตราการติดเชื้อโรคโควิด-19 สูงขึ้นอย่างชัดเจน และที่น่าสนใจคือ แม้รักษาหายแล้ว แต่อาการคงค้างยังอยู่ ทำให้สมรรถนะในการเล่นฟุตบอลลดลง

เหล่านี้เป็นตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และเป็นบทเรียนให้เราได้รับรู้ วางแผน และเลือกทางเดินชีวิตสำหรับตัวเราเองและสมาชิกในครอบครัว

ยังยืนยันว่าไม่ติดเชื้อย่อมจะดีที่สุด ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้าอยู่ห่างจากคนอื่น พบคนน้อยลงสั้นลง เลี่ยงที่แออัด และควรไปฉีดวัคซีนประสิทธิภาพสูงเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันจะได้ลดโอกาสป่วยรุนแรงและลดโอกาสเสียชีวิต

หากมีอาการผิดปกติ ไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ขอให้สงสัยโควิดไว้เสมอ และหาทางไปตรวจรักษา ช่วยกันประคับประคองตัวให้ผ่านครึ่งปีนี้ไปให้ได้ คาดว่าจะหายใจหายคอได้ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง


ข้อมูลจาก : นายแพทย์ ธีระ วรธนารัตน์

ภาพจาก :  นายแพทย์ ธีระ วรธนารัตน์

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง