รีเซต

ไอเอ็มเอฟชี้ AI ส่อกระทบตำแหน่งงานทั่วโลกเกือบ 40%

ไอเอ็มเอฟชี้ AI ส่อกระทบตำแหน่งงานทั่วโลกเกือบ 40%
Xinhua
15 มกราคม 2567 ( 20:19 )
32
ไอเอ็มเอฟชี้ AI ส่อกระทบตำแหน่งงานทั่วโลกเกือบ 40%

(แฟ้มภาพซินหัว : คริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เข้าร่วมงานแถลงข่าวในเมืองมาราเกชของโมร็อกโก วันที่ 14 ต.ค. 2023)[/caption]

วอชิงตัน, 15 ม.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันอาทิตย์ (14 ม.ค.) คริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะส่งผลกระทบต่อตำแหน่งงานทั่วโลกเกือบร้อยละ 40 พร้อมเรียกร้องการรักษาสมดุลของนโยบายต่างๆ อย่างรอบคอบ โดยจอร์จีวาชี้ว่าโลกเข้าใกล้การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่อาจเพิ่มผลิตภาพอย่างก้าวกระโดด กระตุ้นการเติบโตทั่วโลก และเพิ่มรายได้ทั่วโลก รวมถึงอาจทดแทนตำแหน่งงานและทวีความไม่เท่าเทียมระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่องานแบบรูทีน (routine) ในอดีต แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ปัญญาประดิษฐ์แตกต่างคืออาจส่งผลกระทบต่องานที่ใช้ทักษะสูง บรรดาชาติเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจึงเผชิญความเสี่ยงจากปัญญาประดิษฐ์มากกว่า แต่มีโอกาสใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์มากกว่าเช่นกัน เมื่อเทียบกับชาติเศรษฐกิจกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ โดยปัญญาประดิษฐ์อาจส่งผลกระทบต่อตำแหน่งงานราวร้อยละ 60 ในชาติเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจอร์จีวาอ้างอิงผลวิเคราะห์ใหม่ของกองทุนฯ ซึ่งตรวจสอบแนวโน้มผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่อตลาดแรงงานทั่วโลก ระบุว่าปัญญาประดิษฐ์อาจส่งผลกระทบต่อตำแหน่งงานในตลาดเกิดใหม่และประเทศรายได้ต่ำราวร้อยละ 40 และร้อยละ 26 โดยประเทศเหล่านี้ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือแรงงานที่มีทักษะในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อาจค่อยๆ ทวีความไม่เท่าเทียมในประเทศเหล่านี้ปัญญาประดิษฐ์ยังอาจส่งผลกระทบต่อความไม่เท่าเทียมทางรายได้และความมั่งคั่งในประเทศต่างๆ โดยปัญญาประดิษฐ์อาจจะทวีความไม่เท่าเทียมโดยรวม ซึ่งเป็นแนวโน้มอันน่าวิตกกังวลที่เหล่าผู้กำหนดนโยบายต้องจัดการเชิงรุกเพื่อป้องกันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพิ่มความตึงเครียดในสังคม ประเทศต่างๆ จึงควรจัดตั้งโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมอย่างรอบด้าน และเสนอโครงการฝึกอบรมเพิ่มเติมแก่แรงงานกลุ่มเปราะบาง ทำให้การเปลี่ยนผ่านของปัญญาประดิษฐ์มีความครอบคลุมยิ่งขึ้น ปกป้องการดำรงชีวิต และยับยั้งความไม่เท่าเทียมจอร์จีวาแนะนำว่าชาติเศรษฐกิจพัฒนาแล้วควรให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ พร้อมกับการพัฒนากรอบการทำงานกำกับควบคุมอันแข็งแกร่ง ส่วนตลาดเกิดใหม่และชาติเศรษฐกิจกำลังพัฒนาควรให้ความสำคัญกับการวางรากฐานอันมั่นคงผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและแรงงานที่มีความรู้ความสามารถทางดิจิทัล
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง