IRPC ขาดทุนสุทธิ 732 ลบ. ขาดทุนน้อยกว่าโบรกคาด
#IRPC #ทันหุ้น - บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC แจ้งผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2/2567 มีขาดทุนสุทธิ 732.29 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.04 บาท ขาดทุนลดลง เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุนสุทธิ 2,245.80 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.11 บาท
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรก ปี 2567 มีกำไรสุทธิ 812.25 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.04 บาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุนสุทธิ 1,945.07 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.10 บาท
บริษัทชี้แจงว่า
ไตรมาส 2/2567 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2567 : ในไตรมาส 2/2567 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ 74,066 ล้านบาท ลดลง 578 ล้านบาท หรือร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยลดลงจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สำหรับธุรกิจปิโตรเลียมมีกำไรขั้นต้นจากการกลั่นตามราคาตลาด ( Market Gross Refining Margin: Market GRM) ที่ลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิงเทียบกับราคาน้ำมันดิบดูไบส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน ที่ได้รับปัจจัยกดดันหลักจากการประกาศโควตาการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของจีนรอบที่2
ประกอบกับ การขนส่งน้ำมันดีเซลจากทวีปเอเชียไปยังทวีปยุโรปบางส่วนถูกจำกัดโดยสถานการณ์ความขัดแย้งในทะเลแดง ทำให้อุปทานของน้ำมันดีเซลในเอเซียอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ ธุรกิจปิโตรเคมี มีกำไรชั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาดของกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี (Market Product to Feed: Market PTF) ที่เพิ่มจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะส่วนต่างราคาในกลุ่มอะโรเมติกส์ ที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการเพื่อนำไปใช้ผสมเป็นน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น และกลุ่มสไตรีนิกส์ที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของความต้องการสินค้าปลายทางในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน
ประกอบกับ กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคมีกำไรขั้นต้นคงที่ ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) อยู่ที่ 3,465 ล้านบาท หรือ 5.12 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 38 จากการที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านจะพัฒนารุนแรงขึ้นเป็นสงคราม เป็นผลให้เกิดการกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1,237 ล้านบาท หรือ 1.83 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และกำไรจากการบริหารความเสี่ยงน้ำมันที่เกิดขึ้นจริง (Realized Oll Hedging) 239 ล้านบาท หรือ 0.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และมีการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่ได้รับ (NRV) 72 ล้านบาท หรือ 0.11 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
จากรายการดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทฯ บันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันสุทธิ (Net Inventory Gain) รวม 1,404 ล้านบาทหรือ 2.07 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting Ging GIM) จำนวน 4,869 ล้านบาท หรือ 7.19 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 38 จากไตรมาสก่อน
นอกจากนี้ บริษัทฯมีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จ่านวน 1,439 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 69 จากไตรมาสก่อน โดยในไตรมาส 2/2567 บริษัทฯ มีกำไรจากการลงทุนจำนวน 439 ล้านบาท โดยหลักเพิ่มขึ้นจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัท ดับบลิวเอซเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จำกัด (WHHAIER) ที่เริ่มรับรู้รายได้จากการจำหน่ายที่ดินในไตรมาส 2/2567
ขณะที่ บริษัทฯ บันทึกค่าเสื่อมราคา 2,244 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากสินทรัพย์ที่เพิ่มจากโครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2567 ประกอบกับมีต้นทุนทางการเงินสุทธิจำนวน 614 ล้านบาท เพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 23 จากไตรมาส 1/2567 ที่เป็นผลจากเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาด ส่งผลให้ในไตรมาส 2/2567 บริษัทฯ บันทึกผลขาดทุนสุทธิ 732 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ที่บันทึกกำไรสุทธิ 1,545 ล้านบาท
ไตรมาส 2/2567 เปรียบเทียบกับไตรมาส 2/2566: บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ เพิ่มขึ้น 3,311 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากราคาขายเฉลียเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ขณะที่ปริมาณขายลดลงร้อยละ 7 ส่าหรับธุรกิจปีโตรเลียมมมี Market GRM ที่ลดลง จากกลุ่มน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน จากส่วนต่างราคายางมะตอยเทียบกับราคาน้ำมันเดาปรับลดลง และกลุ่มน้ำมันน้ำมันเชื้อเพลิง จากการลดลงของส่วนต่างราคาผลิดภัณฑ์น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลเทียบกับราคาน้ำน้ำมันดับดูไบ
สำหรับธุรกิจปิโตรเคมี มี Market PTF ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคมีกำไรขั้นตันคนคงที่ ส่งผลให้บริษัทฯ มี Market GIM ลดลงร้อยละ 17 อย่างไรก็ตาม ไตรมาสนี้ บริษัทฯ บันทึก Net Inventory Gain 1,404 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯ มี Accounting GIM อยู่ที่ 4,869 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52 ส่งผลให้ใตรมาสนี้ EBITDA อยู่ที่ 1,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,329 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2566 ขณะที่ บริษัทฯ บันทึกค่าเสื่อมราคา 2,244 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับมีต้นทุนทางการเงินสุทธิจำนวน 614 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากไตรมาส 2/2566 จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ในไตรมาส 2/2567 มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 732 ล้านบาท ขาดทุนลดลงร้อยละ 67 จากงวดเดียวกันของปีก่อน
งวด 6 เดือนแรกปี 2567 เปรียบเทียบกับงวด 6 เดือนแรกปี 2566: บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิสำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2567 จำนวน 148,710 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณขายลดลงร้อยละ 8 สำหรับธุรกิจปิโตรรเลียมมี Market GRM ที่ลดลง โดยหลักมาจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานเทียบกับราคาน้ำน้ำมันเตาปรับตัวลดลง โดยเฉพาะส่วนต่างราคายางมะตอย ที่ได้รับปัจจัยกดดันจากการปรับลดงบประมาณสร้างถนนในประเทศจีน ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางมะตอยในประเทศจีนปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ ธุรกิจปิโตรเคมี มี Market PTF ลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงอยู่ในภาวะซบเซา ทำให้ความต้องการสินค้าปลายทางยังคงชะลอตัว ประกอบกับกำลังการผลิตใหม่ยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาด ในขณะที่ กลุ่มธุรกิจสาธาธารณูปโภคมีกำไรขั้นต้นคงที่ ส่งผลให้บริษัทฯ บันทึก Market GIM อยู่ที่ 9,083 ล้านบาท หรือ 7.16 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 19 จากการที่ ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้น
โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการคงนโยบายการลดการผลิตน้ำมันดิบของโอเปกพลัส และความขัดแย้งทางการเมืองในหลายประเทศ ได้แก่ อิสราเอล-ฮามาส รัสเซีย-ยูเครน อิสราเอล-อิหร่าน ซึ่งส่งผลให้มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 2,138 ล้านบาท หรือ 1.68 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มีการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่ได้รับ (กลับรายการ NRV) 1,252 ล้านบาท หรือ 0.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และกำไรจาก Realized Oil Hedging 298 ล้านบาท หรือ 0.23 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากรายการดังกล่าว ส่งผลให้มี Net Inventory Gain รวม 3,688 ล้านบาท หรือ 2.90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
สำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2567 มี Accounting GIM จ๋านวน 12,771 ล้านบาท หรือ 10.06 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 49 จากงวดเดียวกันของปีก่อน หลังจากหักรายการค่าใช้จ่ายดำเนินงานแล้วบริษัทฯ มี EBITDA จำนวน 6,118 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 187 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ บริษัทฯ บันทึกค่าเสื่อมราคา 4,385 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับมีต้นทุนทางการเงินสุทธิจำนวน 1,113 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากงวดเดียวกันของปีก่อน
โดยงวด 6 เดือนแรกปี 2567 ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อนค่า ส่งผลให้บริษัทฯบันทึกขาดทุนจากการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน 362 ล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้จำนวน 155 ล้านบาท ขณะที่บริษัทฯ มีกำไรจากการลงทุนจำนวน 579 ล้านบาท ตามรายละเอียดที่กล่าวแล้วข้างต้น จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ในงวด 6 เดือนแรกปี 2567 บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานกำไรสุทธิ 812 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ที่บันทึกขาดทุนสุทธิ 1,945 ล้านบาท