รีเซต

วินิจฉัยโรคซีมเศร้าวิธีใหม่ ด้วยการตรวจสารเคมีในเลือด

วินิจฉัยโรคซีมเศร้าวิธีใหม่ ด้วยการตรวจสารเคมีในเลือด
TNN ช่อง16
10 เมษายน 2564 ( 13:23 )
861
วินิจฉัยโรคซีมเศร้าวิธีใหม่ ด้วยการตรวจสารเคมีในเลือด

แม้โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคอารมณ์ 2 ขั้ว (Bipolar) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งแพทย์จะใช้พฤติกรรมเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรค แทนการตรวจหาสารเคมีในสมองที่เปลี่ยนไปเพราะมีราคาค่อนข้างสูง


ปัจจุบันมีผู้ป่วยกว่า 264 ล้านคนทั่วโลกป่วยเป็นโรคซึมเศร้า การวินิจฉัยที่แม่นยำจะนำพาไปสู่การรักษาที่ดีขึ้น แต่บางครั้งต้องบอกว่าข้อจำกัดในการวินิจฉัยโดยใช้พฤติกรรมของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว อาจทำเกิดความล่าช้าและผิดพลาดได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Indiana University School of Medicine จึงคิดค้นวิธีที่จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าให้แม่นยำมากขึ้น


นักวิจัยได้พัฒนาวิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคซึมเศร้า โดยการตรวจหาสารบ่งชี้ RNA (RNA biomarker) ในเลือดของผู้ป่วย ซึ่งสามารถแยกได้ว่าผู้ป่วยซึมเศร้ารายนี้มีอาการร้ายแรงขนาดไหน และมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาโรคกลายเป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง หรือมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว และผู้ป่วยที่เป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วได้ด้วย


นักวิจัยพยายามค้นหาสารบ่งชี้ RNA ในเลือดของผู้ป่วยตัวอย่างเป็นเวลานานกว่า 4 ปี และพบว่ามีสารบ่งชี้กว่า 26 ชนิดที่ช่วยบ่งบอกความรุนแรงของอาการซึมเศร้าได้ ซึ่งพวกเขาจะนำไปพัฒนาเป็นชุดตรวจอาการซึมเศร้าและอารมณ์ 2 ขั้วในลำดับถัดไป


อย่างที่เราได้เห็นข่าวกันอยู่เรื่อย ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้าเกินไป หรือแพทย์ไม่สามารถประเมินความเสี่ยงล่วงหน้าได้อย่างชัดเจน อาจส่งผลเสียต่อตัวผู้ป่วยได้ ซึ่งถ้าชุดตรวจนี้พัฒนาได้สำเร็จและใช้งานได้จริง ก็คาดว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งต่อตัวผู้ป่วยและแพทย์ด้วย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง