รีเซต

โนเกียจัดงาน “Amplify Thailand” ดันไทยสู่ยุค 4.0 ด้วยนวัตกรรมเครือข่าย

โนเกียจัดงาน “Amplify Thailand” ดันไทยสู่ยุค 4.0 ด้วยนวัตกรรมเครือข่าย
TNN ช่อง16
24 สิงหาคม 2566 ( 18:59 )
122
โนเกียจัดงาน “Amplify Thailand” ดันไทยสู่ยุค 4.0 ด้วยนวัตกรรมเครือข่าย

โนเกีย (Nokia) จัดแสดงไฮไลต์เทคโนโลยีพร้อมกลยุทธ์ของบริษัทภายหลังปรับภาพหลักแบรนด์ใหม่ในงาน “Amplify Thailand” (แอมพลิฟาย ไทยแลนด์) ผลักดันให้โนเกียขึ้นสู่แถวหน้าด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเครือข่ายทั่วประเทศ  พร้อมนำเสนอโซลูชันเครือข่ายรุ่นใหม่ และนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจ (B2B) สำหรับองค์กรธุรกิจและผู้ให้บริการเครือข่าย (CSP) ณ โซฟิเทล แบงคอก สุขุมวิท เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา

นวัตกรรมเครือข่ายของ Nokia

โนเกียได้แสดงผลงานทางเทคโนโลยีสำหรับองค์กรธุรกิจ, เครือข่ายเคลื่อนที่, เครือข่ายคลาวด์ และเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย ที่เคยจัดแสดงในงาน Mobile World Congress 2023 ซึ่งเป็นงานประชุมสำหรับการพัฒนาเครือข่ายระดับโลกในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยมีหัวข้อดังนี้


Nokia MX Industrial Edge

Nokia MX Industrial Edge คือ โซลูชัน Edge สำหรับองค์กรที่เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของเทคโนโลยีด้านปฏิบัติการ (OT) ภายใต้โมเดล edge-as-a-service เข้ากับสถาปัตยกรรมเอดจ์ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการให้ความสำคัญในสินทรัพย์ในนิเวศอุตสาหกรรม เช่น การติดตามแบบเรียลไทม์ของสัญญาณวิดีโอและการแจ้งเตือน รวมทั้งโซลูชันการวิเคราะห์วิดีโออย่างการรับรองคุณภาพและความปลอดภัย


NetGuard Cybersecurity Dome

ระบบโซลูชันด้านความปลอดภัยภายใต้ระบบออเคสเทรชัน (Orchestration - ระบบการสื่อสารในเครือข่ายที่เชื่อมโยงจากทุกจุดเข้าหากันเหมือนการสอดประสานของสมาชิกในวงดนตรีออเคสตรา) สำหรับการใช้งานในระบบ 5G ที่ติดตั้งล่วงหน้าสำหรับการรับรองความปลอดภัยเครือข่าย ทีมดูแลด้านความปลอดภัยผ่านระบบ Orchestration สามารถเลือกเป้าหมายการใช้ 5G (5G Use Case) ได้ครบวงจร ตั้งแต่สถานีฐาน (RAN) จนถึงโครงข่ายขนส่ง (Transport) และโครงข่ายหลัก (Core)


โดยบริการเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบตรวจหาและตรวจสอบแบบขยาย หรือที่เรียกว่า XDR (Extended Detection and Response) ซึ่งเก็บข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์ และเทียบเคียงข้อมูลจากหลากหลายที่มา ซึ่งจะช่วยให้ทีมฝ่ายปฏิบัติการด้านความปลอดภัยเครือข่ายรับมือความเสี่ยงและปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ ซึ่งเป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย 

กลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันเครือข่ายออปติคอล (Nokia Optical Product Solutions Portfolio)

ผลิตภัณฑ์และโซลูชันเครือข่ายออปติคอลของโนเกีย ช่วยเพิ่มความสามารถของเครือข่ายนับจากเครือข่ายเอดจ์ (Edge) และข้ามไปถึงระบบการเชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลแบบระยะไกล/แกนหลัก (long-haul/core) และใต้ทะเล พร้อมลดความซับซ้อนในการทำงานของเครือข่ายให้มีความฉลาดและเป็นอัตโนมัติยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายการเป็นเจ้าของเครือข่าย (TCO)


พร้อมกันนี้ โซลูชันเครือข่ายอัตโนมัติ (Network Automation) ของโนเกียจะช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ Webscale และองค์กรขนาดใหญ่สามารถเพิ่มผลประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


การพัฒนาชิปเซ็ตสำหรับเครือข่าย

โนเกียได้พัฒนาชิปเซ็ต (Chipset) ReefShark (รีฟชาร์ค) เพื่อเพิ่มความชาญฉลาดและประสิทธิภาพให้กับเสาอากาศ MIMO ขนาดใหญ่ในระบบ 5G และโมดูลระบบ AirScale ที่โนเกียพัฒนาได้นำไปต่อยอดด้านประสบการณ์การใช้งาน และพัฒนาเสาอากาศสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ รวมถึงเสริมความสามารถด้วยนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) จาก Nokia Bell Labs อีกด้วย


สำหรับการใช้งานในเครือข่ายแบบออปติคัลที่เปิดใช้งานชิป PSE-6s (พีเอสอี ซิกซ์เอส) ของโนเกีย จะมั่นใจว่าเครือข่ายสะสามารถปรับขนาดสัญญาณให้สอดคล้องกับความต้องการในย่านคลื่นความถี่แบบไฮสปีดสูงอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงชิป 400GE และ 800GE ขณะเดียวกันยังช่วยลดการใช้พลังงานในเครือข่ายลงอีกด้วย


โนเกียได้ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถในการออกแบบชิปฝังสำหรับการใช้งานเฉพาะทาง (ASIC) ในกลุ่มอุตสาหกรรม จึงได้พัฒนา Quillion (ควิลเลียน) ที่รองรับโมดูล GPON, XGS-PON, NG-PON2 และ Multi-PON (เช่น GPON+XGS-PON) ที่ยกระดับการประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 50 ช่วยเพิ่มคุณสมบัติทางการแข่งขัน รวมถึงการนำเสนอนวัตกรรมและสิ่งที่แตกต่างในเวลาที่เหมาะสม


โนเกียยังได้สร้างซิลิคอนประมวลผลเครือข่าย FP5 พร้อมคุณสมบัติใหม่ที่ช่วยปกป้องการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยอีกด้วย ชิปเซ็ต FP5 คือ รูตติงซิลิคอน (Routing Silicon - ชิปสำหรับประมวลผลการเดินทางข้อมูล หรือ Traffic ของเครือข่าย) ที่เข้ารหัสแบบ Integrated Line Rate สำหรับบริการเครือข่ายแบบ L2, L2.5 และ L3 ที่ความเร็วสูงสุดได้ถึง 1.6 เทระไบต์ต่อวินาที (Tb/s) และลดการสิ้นเปลืองพลังงานได้ถึงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับชิปเซ็ตรุ่นก่อน

ชาร์จพลังเครือข่ายแบบซูเปอร์ผ่าน NPO

ระบบการวางแผนและเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย (Network Planning and Optimization: NPO) ของโนเกีย ได้ช่วยในการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจเครือข่ายเคลื่อนที่ ผ่านการรวบรวมเทคโนโลยีกลุ่ม Automation and Digitalization เข้าไว้ด้วยกัน (Portfolio) ที่กำหนดประสิทธิภาพเครือข่ายไว้ที่จุดศูนย์กลาง ผลักดันให้รองรับกับเทคโนโลยีการแยกข้อมูลของโครงข่ายสถานีฐาน (RAN disaggregation) ด้วย O-RAN และ vRAN 

 

ตลาดธุรกิจเครือข่ายในสายตาของ Nokia

โนเกียได้ชูความเชื่อมั่นในการสนับสนุนประเทศไทยให้เดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่ผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digitalization) ในทุกภาคอุตสาหกรรม และเชื่อว่าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น ภายใต้การขับดันบนพื้นฐานความยั่งยืน


นายอาร์เจย์ ชาร์มา ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา กล่าวว่า “เทคโนโลยีของเราสามารถช่วยในการผลักดันการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในทุกภาคอุตสาหกรรม เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น และเราหวังที่จะได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องต่อไป”


ภายในงานยังได้รับการนำเสนอจากนายเทเรนซ์ แมคเคบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท โนเกีย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และประเทศญี่ปุ่น ในภาพรวมเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีเครือข่าย 5G ทั้งนวัตกรรมและโซลูชันทางเทคโนโลยีล่าสุดของโนเกีย พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ธุรกิจของโนเกียในปี 2030 (Nokia Vision 2030) ที่เน้นการผลักดันความยั่งยืน ความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ภายใต้เทคโนโลยี 5G บล็อกเชน (Blockchian) และเมตาเวิร์ส (Metaverse) เป็นต้น


ที่มาข้อมูล Nokia

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง