รีเซต

เครื่องบินแบบใหม่ ! ปีกค้ำยัน ปีกบางยาวขึ้นแต่ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง 30%

เครื่องบินแบบใหม่ ! ปีกค้ำยัน ปีกบางยาวขึ้นแต่ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง 30%
TNN ช่อง16
1 กุมภาพันธ์ 2566 ( 00:30 )
84
เครื่องบินแบบใหม่ ! ปีกค้ำยัน ปีกบางยาวขึ้นแต่ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง 30%

บริษัท โบอิง (Boeing) เตรียมสร้างเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์แบบใหม่ล่าสุดปีกค้ำยันได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยพัฒนากว่า 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13,900 ล้านบาท จากนาซา โดยใช้แนวคิดการออกแบบปีกค้ำยัน Transonic Truss-Braced Wing (TTBW)


แนวคิดเครื่องบินแบบปีกค้ำยันใช้โครงสร้างของปีกที่มีความบางและยาวมากขึ้นลักษณะคล้ายเครื่องร่อนแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน เนื่องจากปีกที่มีความบางและยาวมากขึ้นวิศวกรจึงออกแบบให้มีปีกค้ำยันด้านล่างยึดลำตัวเครื่องบินกับปีกเอาไว้เพื่อเสริมความแข็งแรง ในขณะเดียวกันก็เพิ่มแรงยกตัวให้กับเครื่องบินเมื่ออากาศไหลผ่าน


ก่อนหน้านี้ในปี 2010 บริษัท โบอิง (Boeing) เคยพัฒนาต้นแบบเครื่องบินแบบปีกค้ำยันสำเร็จมาแล้ว โดยในขณะนั้นเป็นการทำโครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบินแบบประหยัดพลังงานร่วมกับนาซาภายแนวคิด Subsonic Ultra Green Aircraft Research (SUGAR) Volt โดยทีมวิศวกรประเมินว่าเครื่องบินอาจบินด้วยความเร็ว 895 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้เชื้อเพลิงน้อยลง 50% 


ต่อมาในปี 2019 ได้มีการออกแบบเครื่องบินใหม่อีกครั้งโดยเพิ่มความเร็วของเครื่องบินให้ถึงระดับทรานโซนิกหรือความเร็วประมาณ 955 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้เชื้อเพลิงน้อยลง 30% เมื่อเทียบกับเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ทั่วไป 


ต้นแบบของเครื่องบินแบบปีกค้ำยันขนาดเล็กได้รับการทดสอบในอุโมงค์ลมและการทดสอบโดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ โดยนาซาจะมอบเงินทุนผ่านข้อตกลง SFD Space Act เพิ่มเติมอีก 725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 23,780 ล้านบาท เพื่อใช้พัฒนาเครื่องบินต้นแบบลำใหญ่ขนาดเท่าเครื่องบินจริงขึ้นมาในอนาคตและเตรียมพัฒนาเป็นเครื่องบินสำหรับให้บริการผู้โดยสารในช่วงปี 2030


ที่มาของข้อมูล Newatlas

ที่มาของรูปภาพ Boeing



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง