รีเซต

ทำไมต้องมี ไฮสปีดเทรนสามสนามบิน ?? (ตอน 6)

ทำไมต้องมี ไฮสปีดเทรนสามสนามบิน ?? (ตอน 6)
TNN ช่อง16
19 มีนาคม 2564 ( 19:00 )
142

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เกิดขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ด้วยระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร อย่างไร้รอยต่อ  โดยวิ่งจากสถานีดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ ทำความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจากสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาทำความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สถานีจะมีทั้งหมด 9 สถานี คือ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา รวมทั้งมีศูนย์ซ่อมบำรุงอีก 2 แห่ง สำหรับทั้งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิ้งก์ และ รถไฟความเร็วสูง 

Pride of The Nation

แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จะขนานไปกับแนวเส้นทางรถไฟที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สอดรับระบบการเดินรถ รถไฟความเร็วสูง แต่ละสถานีจะมีการออกแบบ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง ความสะดวกของผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม ซึ่งแน่นอนว่า รวมถึงผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้บริการได้อย่างสะดวก 

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน แม้จะเป็นบริการที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน แต่บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน ได้จับมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านบริการรถไฟความเร็วสูงทั้งจากจีน ที่มีเทคโนโลยีรถไฟรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัยที่สุดในโลก และอิตาลี เชี่ยวชาญระบบอาณัตสัญญาณรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้ไทยมีเทคโนโลยีระดับโลกในโครงการที่คาดหวังให้เป็นความภาคภูมิใจของประเทศ (Pride of The Nation)


ที่มา https://www.eeco.or.th/

ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 แม้วิกฤตโควิด -19 จะสร้างภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย  แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน นับแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งมีการลงนามในสัญญา ระหว่าง ร.ฟ.ท. กับ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัดก็มีความคืบหน้าอยู่ในไทม์ไลน์การดำเนินโครงการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบที่ดิน การออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง การจัดหาแหล่งเงินลงทุน ที่สำคัญคือ การระดมความคิดเห็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะดึงการมีส่วนร่วมทุกระดับจากท้องถิ่น 

เส้นทางแห่งโอกาสของคนไทย 

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ไม่ใช่แค่โครงสร้างพื้นฐาน แต่เส้นทางแห่งโอกาสของคนไทย ด้วยระยะทาง 220 กิโลเมตรของโครงการ สร้างโอกาส สร้างงาน และสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศไทย เหมือนกับโครงการระดับโลกในอดีตเช่น เขื่อนฮูเวอร์ในสหรัฐอเมริกาที่ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกด้านวิศวกรรม หรือ ชินคันเซ็นที่เป็นรถไฟแห่งความผูกพันและเป็นตัวแทนความรุ่งโรจน์ของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันสถาบันการศึกษามีความตื่นตัว เรียนรู้ จัดทำหลักสูตร และผลิตบุคลากรเข้าไปป้อนระบบรางของไทย อย่างไรก็ตามการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง จากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศให้กับคนไทย ก็เป็นภารกิจที่บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินพร้อมที่จะผลักดัน เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ 

ที่มา https://www.eeco.or.th/

Return of Investment & Return of Society

ด้วยเม็ดเงินในการลงทุนถึง 224,544 ล้านบาท ภายใต้สัญญาร่วมทุน 50 ปี โดยทางสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC มีการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงถึง 650,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ดีขึ้น จากอาชีพใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม เฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตอันใกล้จะเกิดกระบวนการพัฒนาไปสู่การเป็น เมืองแห่งอนาคต หรือ Smart City  ซึ่งประเมินกันว่า ภายใน 10 ปี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จะเชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพให้  ฉะเชิงเทรา ศรีราชา พัทยา ระยอง เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ และปริมณฑล 

กระบวนการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น แน่นอนว่า ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจในภูมิภาค แต่หมายรวมถึงคุณภาพชีวิต การลดความเหลื่อมล้ำจากเดิมที่กระจุกตัวอยู่แต่ในกรุงเทพ ให้กระจายออกไปตามจังหวัดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงพาดผ่าน 
นี่นับเป็นหมุดหมายสำคัญของบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน  ว่า เป้าหมายการลงทุนโครงการนอกจาก Return of Investment ที่เหมาะสมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่วัดไม่ได้แต่มีมูลค่ามหาศาลก็คือ Return of Society ซึ่งบริษัทให้คุณค่าน้ำหนักในการดำเนินการควบคู่กัน ดังนั้นถ้าวางแผนควบคู่กันไปจะมีผลตอบแทนต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมมหาศาล




ข่าวที่เกี่ยวข้อง