รีเซต

ทีมวิจัยพบกระบวนการเกิด 'ทุ่งอุกกาบาต' ยาวสุดบนโลกในจีน

ทีมวิจัยพบกระบวนการเกิด 'ทุ่งอุกกาบาต' ยาวสุดบนโลกในจีน
Xinhua
7 กรกฎาคม 2565 ( 10:47 )
86
ทีมวิจัยพบกระบวนการเกิด 'ทุ่งอุกกาบาต' ยาวสุดบนโลกในจีน

ปักกิ่ง, 6 ก.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยจีนได้ศึกษาอุกกาบาตเหล็กขนาดใหญ่เพื่อค้นหาบริเวณที่อุกกาบาตโปรยปรายเป็นระยะทางยาวที่สุดบนโลกในเมืองอาเล่อไท่ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ

 

จีนค้นพบอุกกาบาตเหล็กน้ำหนัก 28 ตัน 23 ตัน 18 ตัน 5 ตัน และ 0.43 ตัน ตามลำดับในเมืองอาเล่อไท่ โดยอุกกาบาตเหล็กเหล่านี้ถูกพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่อุกกาบาตโปรยปรายระยะทางยาวราว 430 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดที่เคยพบนับถึงปัจจุบันคณะนักวิจัยจากหอดูดาวจื่อจินซาน สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ร่วมมือกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็น มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเก๊า และมหาวิทยาลัยแอริโซนา เพื่อหาคำอธิบายการก่อตัวของอุกกาบาตดังกล่าวผ่านวิธีวิทยาแร่หิน ธรณีเคมี และการจำลองเชิงตัวเลขผลการจำลองเชิงตัวเลขบ่งชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยน้ำหนัก 280-3,440 ตัน พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกที่ความเร็ว 12-15 กิโลเมตรต่อวินาที โดยมีมุมเข้าที่ตื้นราว 6.5-7.3 องศาบทความวิจัยที่เผยแพร่ผ่านวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) เมื่อไม่นานนี้ ระบุว่ากระบวนการคล้ายกับการขว้างก้อนหินให้กระดอนบนผิวน้ำนี้ อธิบายการก่อตัววิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยข้างต้น ซึ่งอาจนำไปสู่การกระจายพลังงานระหว่างการโคจรระยะยาวยิ่งยวดอนึ่ง ผลการวิจัยชิ้นนี้สร้างแบบจำลองการเคลื่อนไหวของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง