รีเซต

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : สองฝ่ายขัดแย้งกันเรื่องอะไร

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : สองฝ่ายขัดแย้งกันเรื่องอะไร
ข่าวสด
12 พฤษภาคม 2564 ( 21:22 )
298
อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : สองฝ่ายขัดแย้งกันเรื่องอะไร

ในปี 1948 ผู้ปกครองชาวอังกฤษและผู้นำชาวยิวประกาศสถาปนาอิสราเอลเป็นรัฐ หลังจากไม่สามารถเจรจาแก้ไขปัญหาได้

 

ชาวปาเลสไตน์หลายคนไม่เห็นด้วย และเกิดเป็นสงครามขึ้น โดยกองทัพจากประเทศอาหรับโดยรอบเข้าร่วมด้วย

 

ชาวปาเลสไตน์หลายแสนคนถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านของตัวเอง และกว่าจะมีการประกาศหยุดยิงในปีถัดมา อิสราเอลก็เข้ายึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์สำเร็จ

 

จอร์แดนได้ควบคุมพื้นที่ที่เรียกกันว่าเวสต์แบงก์ อียิปต์ได้ครอบครองกาซา ส่วนเยรูซาเลมถูกแยกออกเป็นของกองกำลังอิสราเอลฝั่งตะวันตก และของกองกำลังจอร์แดนในฝั่งตะวันออก

 

ด้วยความที่ไม่มีการบรรลุข้อตกลงใด ๆ ต่างฝ่ายก็ต่างโทษกันและกัน ว่าเป็นที่มาของความขัดแย้งและการทำสงครามเรื่อยมาอีกหลายทศวรรษ

 

 

แผนที่ปัจจุบัน

ในสงครามครั้งใหญ่อีกหนเมื่อปี 1967 ที่รู้จักกันในชื่อ สงคราม 6 วัน (Six Day War) อิสราเอลสามารถยึดครองเยรูซาเลมตะวันออก, เขตเวสต์แบงก์, ฉนวนกาซา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย ไว้ได้

 

 

ผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่และลูกหลานของพวกเขาอาศัยอยู่ในกาซาและเขตเวสต์แบงก์ และในประเทศพื้นบ้านอย่างจอร์แดน, ซีเรีย และเลบานอน ด้วย

 

 

คนเหล่านี้และลูกหลานไม่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน โดยอิสราเอลบอกว่าจะทำให้คนล้นประเทศและเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐยิว

G

 

อิสราเอลถือว่าพื้นที่ในเยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของตัวเอง ขณะที่ชาวปาเลสไตน์บอกว่าเยรูซาเลมตะวันออกจะเป็นเมืองหลวงในอนาคตของพวกเขา โดยสหรัฐฯ เป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศเท่านั้นยอมรับการอ้างเป็นเจ้าของเยรูซาเลมทั้งเมืองของอิสราเอล

 

 

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อิสราเอลได้เข้ามาก่อสร้างและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งตอนนี้มีชาวยิวกว่า 6 แสนคนอาศัยอยู่

 

 

ชาวปาเลสไตน์บอกว่าการลงหลักปักฐานนี้ผิดกฎหมายนานาชาติ และเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเพื่อสันติภาพ แต่อิสราเอลก็ปฏิเสธ

เกิดอะไรขึ้นตอนนี้

มักมีความตึงเครียดอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วระหว่างชาวปาเลสไตน์และอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในเยรูซาเลมตะวันออก กาซา และเขตเวสต์แบงก์

 

 

กาซานั้นปกครองโดยกลุ่มติดอาวุธฮามาสซึ่งเคยสู้รบกับอิสราเอลมาหลายรอบ โดยอิสราเอลและอียิปต์ปิดกั้นพรมแดนไปสู่กาซาอย่างแน่นหนาเพื่อจะสกัดการขนส่งอาวุธไปให้กลุ่มฮามาส ชาวปาเลสไตน์ในกาซาและเขตเวสแบงก์บอกว่าพวกเขาเดือดร้อนเพราะมาตรการเหล่านี้ของอิสราเอล ส่วนอิสราเอลบอกว่าต้องทำเพื่อป้องกันตัวเองจากความรุนแรงจากปาเลสไตน์

 

 

ตั้งแต่เริ่มเดือนรอมฎอน หรือการถือศีลอดของชาวมุสลิม ในปีนี้ การปะทะระหว่างชาวปาเลสไตน์และตำรวจอิสราเอลรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และปัจจัยของความโกรธแค้นสำคัญมาจากการขู่ไล่ครอบครัวชาวปาเลสไตน์ออกจากพื้นที่ในเยรูซาเลมตะวันออก

ถึงตอนนี้มีชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคน และตำรวจอิสราเอลมากกว่า 20 นาย ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกันในนครเยรูซาเลม ส่วนยอดผู้เสียชีวิตมีหลายสิบคน

 

 

ความรุนแรงระลอกล่าสุดเป็นผลมาความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งเดือนมานี้ อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์นั้นยืดเยื้อต่อเนื่องมาหลายทศวรรษแล้ว

 

 

ปัญหาอายุร้อยปี

อังกฤษเข้ายึดครองดินแดนที่เรียกกันว่าปาเลสไตน์ หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมัน - ผู้ปกครองพื้นที่แห่งนั้นในตะวันออกกลาง - พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1

 

 

ผู้ที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวประกอบไปด้วยชาวยิวเป็นส่วนน้อย และชาวอาหรับเป็นส่วนใหญ่

 

 

ความตึงเครียดระหว่างคนสองกลุ่มนี้ทวีคูณมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังนานาชาติยกหน้าที่ให้อังกฤษเป็นผู้กำหนดให้ปาเลสไตน์เป็น "บ้านแห่งชาติของคนยิว" ชาวยิวถือว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรษของพวกเขาอยู่ก่อนแล้ว แต่ชาวอาหรับในปาเลสไตน์ก็บอกว่านี่เป็นบ้านของพวกเขาเช่นกัน และไม่เห็นด้วยกับแผนของอังกฤษ

 

 

ระหว่างทศวรรษ 1920-1940 ชาวยิวย้ายถิ่นฐานมาที่นี่มากขึ้น หลายคนหนีการประหัตประหารในยุโรป และต้องการบ้านหลังใหม่หลังถูกไล่ล่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี

 

 

ความรุนแรงระหว่างชาวยิวและอาหรับเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งต่อคนอังกฤษด้วย

 

ในปี 1947 สหประชาชาติมีมติให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและชาวอาหรับแยกกัน โดยให้เยรูซาเลมเป็นเมืองนานาชาติ

 

ผู้นำชาวยิวตอบรับแผนนี้แต่ฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่ยอมทำตามแผนนั้น

 

 

กำเนิดอิสราเอล

ปัญหาที่ตกลงกันไม่ได้สักทีมีหลายอย่าง เช่นควรทำอย่างไรกับผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ ชาวยิวที่ย้ายถิ่นฐานไปในเขตเวสแบงก์ควรได้อยู่ต่อหรือต้องโดนขับไล่ออก และทั้งสองฝ่ายควรจะครองเยรูซาเลมร่วมกันหรือเปล่า

 

 

ปัญหาที่ใหญ่และน่าจะซับซ้อนที่สุดคือดินแดนปาเลสไตน์ควรได้รับการสถาปนาเป็นรัฐอิสระเทียบเคียงกับอิสราเอลหรือเปล่า

 

กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพดำเนินมากว่า 25 ปีแล้วแต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะเห็นผล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง