"ศรีสุวรรณ"ชี้ยื้อต่อสัญญารถไฟฟ้าสีเขียว ปชช.เสียประโยชน์
วันนี้(24พ.ย.63)นายศรีสุวรรณจรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยกล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17พ.ย.ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยขอถอนเรื่องการพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวกับ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์กลับไปทบทวน หลังจากจากกระทรวงคมนาคมโดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบรมว.คมนาคมหยิบยกผลการศึกษาของกรมขนส่งทางรางลงวันที่ 10 พ.ย.2563ขึ้นมาคัดค้านว่าเป็นการทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบทางธุรกิจโครงการขนาดใหญ่ประเภทนี้ต้องวางแผนการลงทุนระยะยาวแต่ผู้กระทบโดยตรงอย่างแท้จริงคือผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ขาดโอกาสที่จะมีความสะดวกสบายในการเดินทาง
สำหรับนายศรีสุวรรณเมื่อวันที่ 5ตุลาคมที่ผ่านมาเป็นผู้ยื่นคำร้องเรียนและสอบถามต่อคณะรัฐมนตรีกรณีคณะกรรมการคัดเลือกตามม.36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)มีมติเมื่อวันที่21 ส.ค.63เห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่(TOR)หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วโดยเขาบอกว่าที่ร้องเรียนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเพราะชัดเจนว่ามีพฤติกรรมในการเอื้อเอกชนบางรายซึ่งขัดแนวทางการประมูลงานในอดีตและเมื่อศาลปกครองสั่งคุ้มครองให้กลับไปใช้แนวทางการประมูลเดิมจึงถือว่าถูกต้องแล้ว
อย่างไรก็ตามการที่รัฐบาลยกเหตุไม่ให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนตัวมองว่า ผู้เสียหายที่สุดคือประชาชนเพราะบีทีเอส มีสัญญาอีกนับ10 ปีกว่าจะครบสัญญาสัมปทานยังมีรัฐบาลอีกหลายรัฐบาลแต่หากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา เห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนฯโดยเร็วจะทำให้ผู้ประกอบการมีความสั่นใจว่าจะไม่หยุดยั้งการพัฒนาการให้บริหารเพื่อประโยชน์ผู้โดยสารในทางตรงกันข้ามถ้าไม่เห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนฯผู้ประกอบการก็มีเหตุผลที่ไม่กล้าลงทุนในระยะยาวเพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะได้ไปต่อหรือไม่
นอกจากนี้บีทีเอส คือผู้ลงทุนโครงการแต่ต้นย่อมรู้เทคนิควิธีการเดินรถอย่างช่ำชองแล้วแต่การชักเข้าชักออกคนที่กระทำการอย่างนี้เท่ากับไม่ได้ยึดถือประชาชนเป็นที่ตั้งแต่เวลาหาเสียงกลับบอกว่าตัวเองยึดถือประชาชนเป็นที่ตั้งดังนั้นการเร่งรีบให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวจึงเอื้อประชาชน ไม่ใช่เอกชน
นายศรีสุวรรณกล่าวว่า อยากให้สังคมจับตาว่าโครงการที่ให้บริการสาธารณะไม่ใช่ผปลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสจึงอยากให้ประชาชนส่งเสียงเพื่อที่นักการเมืองจะเกิดความยำเกรงเสียงประชาชนบ้าง
อนึ่งการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)17 พ.ย.63กระทรวงคมนาคมหยิบยกผลการศึกษาของกรมขนส่งทางรางลงวันที่ 10 พ.ย.63 ขึ้นมาคัดค้านทั้งที่การประชุม ครม.13 ส.ค.63 เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวนายศักดิ์สยาม ชิดชอบมิได้มีท่าทีคัดค้านร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวแต่อย่างใด
โดยเมื่อวันที่30 มิ.ย.63 กระทรวงคมนาคมเป็นฝ่ายเสนอผลการพิจารณาศึกษาเหตุผลและความจำเป็นเรื่องการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอสของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า(บีทีเอส)สภาผู้แทนราษฎรเข้าสู่ที่ประชุมครม.ให้มีมติรับทราบ
จากการตรวจสอบพบว่าเรื่องนี้มีการประชุมหาจนได้ข้อสรุปจากทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องตามเอกสารกระทรวงการคลังวันที่ 16 พ.ย.63ว่ากระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการมาตามลำดับขั้นตอนและกระทรวงคมนาคมในฐานะที่เป็นหน่วยงานนำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาเห็นชอบโครงการนี้มาตั้งแต่แรกแต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรมว.คลังจากนายปรีดี ดาวฉาย เป็นนายอาคมเติมพิทยาไพสิฐ สำนักเลขาธิการครม.จึงต้องขอความเห็นจากกระทรวงการคลังอีกครั้งตามมติครม. 13 ส.ค.63 และกระทรวงการคลังยังคงยืนยันให้ความเห็นชอบตามเดิมจากที่ทุกหน่วยงานเคยลงมติรับทราบผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนฯในโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวมาก่อนหน้า โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมที่ร่วมให้ความเห็นตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย.63และที่ประชุมครม.วันที่13 ส.ค.63เคยรับทราบผลการพิจารณาตามรายงานสรุปของกระทรวงมหาดไทยไปแล้ว
ดังนั้นตามไทม์ไลน์แล้วเห็นได้ชัดว่าโครงการขยายสัญญาสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับ "บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์"ได้ผ่านความเห็นชอบของทุกหน่วยงานแล้วจึงมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การขอมติที่ประชุมครม.เพื่ออนุมัติ ในวันที่ 17 พ.ย.63 แต่กระทรวงคมนาคมโดยนายศักดิ์สยามได้นำผลการศึกษาของกรมขนส่งทางรางขึ้นมาคัดค้านโดยไม่สนใจแนวทางเดิมจากการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยมาตั้งแต่แรกอะไรเป็นตัวแปรทำให้หลักคิดของนายศักดิ์สยามเปลี่ยนไป
สำหรับ"บีทีเอส"นั้นมีปัญหากับ กระทรวงคมนาคมถึงขั้นฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอความเป็นธรรม กรณี รฟม.แก้ไขเงื่อนไขหลักเกณฑ์ประมูลสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสีส้มจนถูกตั้งคำถามว่าเป็นไปเพื่อเอื้อให้กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด หรือ BEM หรือไม่
จากนี้ไปจึงต้องจับตาว่า ท้ายสุดพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจประเด็นนี้อย่างไรเพราะในคราวการประชุมครม.วันที่ 13 ส.ค.63มีการหารือในประเด็นเดียวกันนี้อีกครั้งเป็นที่มาหนังสือด่วนกระทรวงการคลังที่ กค 0820.1/20037ยืนยันความเห็นชอบปรากฎข้อความสำคัญ ว่า"กระทรวงการคลังให้ความเห็นตามเดิมเหมือนที่กระทรวงคมนาคมเคยเสนอผลการพิจารณารายงานผลการศึกษาฯตามหนังสือกระทรวงคมนาคมด่วนที่สุด ที่ คค (ปคร)0202/192 ลงวันที่4 มิ.ย.2563ให้ที่ประชุมครม.รับทราบไปแล้ว
ดังนั้นความตั้งใจของพล.อ.ประยุทธ์ตั้งแต่เข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าคสช.ในประกาศแนวนโยบายเรื่องการเร่งพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อคุณภาพชีวิตคนกรุงให้มีความสมบูรณ์แบบจะเกิดขึ่นได้หรือนั้นอยู่ที่จะมีมติให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวกับ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ช้าหรือเร็ว
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE