รีเซต

มิวสเปซเผยแผนรุกธุรกิจ 10 ปีแรก สร้าง Space Supply Chain รายใหญ่ใน SEA

มิวสเปซเผยแผนรุกธุรกิจ 10 ปีแรก สร้าง Space Supply Chain รายใหญ่ใน SEA
TNN ช่อง16
4 กันยายน 2565 ( 23:09 )
65
มิวสเปซเผยแผนรุกธุรกิจ 10 ปีแรก สร้าง Space Supply Chain รายใหญ่ใน SEA

วงการอวกาศไทยก้าวหน้าไปอีกขั้น ! มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (mu Space Corp) ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศและผู้ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม เผยแนวทางรุกธุรกิจ 10 ปีแรก เดินหน้าลงทุนสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมอวกาศ มุ่งเป็นผู้นำรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างเครือข่ายด้านวัสดุอุปกรณ์และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศตั้งแต่ต้นจรดปลายน้ำ อีกทั้งเตรียมรุกธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ 


เจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทมิว สเปซ

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทมิว สเปซ เผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูงในด้านการพัฒนาดาวเทียมและระบบพลังงานประสิทธิภาพสูง (High Power System) โดยทำให้เห็นความสำคัญในการลงทุน 3 ด้าน ที่เป็นส่วนสำคัญที่ต่อยอดให้เกิดการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศ ได้แก่ องค์ความรู้ เครื่องมือและเครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์และสารเคมี อีกทั้งยังต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่ม Start Up รุ่นใหม่ให้ได้รับประสบการณ์และความรู้ที่ดี เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอวกาศอย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนช่วยในการขยายตลาดในอุตสาหกรรมอวกาศ ให้ได้เติบโตอย่างรวดเร็วมากขึ้นทั้งในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


Olivier Chalvet, Head of South East Asia (North) Defence and Space activities, AIRBUS 

 โดยในงานแถลงข่าวที่จัดขึ้นครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำ ได้แก่ AIRBUS บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินระดับโลก ที่ยินดีสนับสนุนและมีบทบาทร่วมสร้าง Space Supply Chain ให้เกิดขึ้นในเอเชียะวันออกเฉียงใต้ และ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ได้กล่าวถึง New Space Economy หรือ การสร้างเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศว่า ขณะนี้บทบาทได้พลิกจากเดิมที่มีเพียง "ภาครัฐบาล" หรือ "ประเทศมหาอำนาจ" เป็นผู้ดำเนินการหลักมาสู่กลุ่มภาคเอกชน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอก. นับได้ว่าเป็นองค์กรหลักที่มีส่วนในการสนับสนุนและผลักดัน New Space Economy ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ พร้อมทั้งผลักดันโยบายรัฐบาลผ่าน (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2580) ซึ่งนำเสนอแนวทางในการสร้าง Thailand Space Supply Chain สู่การเป็นอุตสาหกรรมอวกาศเต็มรูปแบบ


 ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (Executive Director of GISTDA)

 สำหรับการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมค้านอวกาศ หรือ Space Supply Chain ให้มีความสมบูรณ์และครบวงจรอย่างแท้จริง ปกติต้องใช้ระยะเวลากว่า 30 - 40 ปี ในขณะที่ มิว สเปซ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อที่จะสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศอย่างจริงจัง ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนที่เล็งเห็นโอกาสในอุตสาหกรรมนี้ อาทิ บี กริม จอยน์ เว็นเจอร์ - อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าเอกชนของไทย รวมถึงบริษัท Majuven Fund พร้อมกลุ่มนักธุรกิจเอกชนต่าง ๆ เช่น ผู้บริหารจากมูลนิธมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสเอนเจลิส (UCLA) รวมทั้งนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอีกมากมายทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้ มิว สเปซ สามารถสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ หรือ Space Supply Chain สำเร็จได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน


ขอบคุณข้อมูลจาก Press Release 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง