รีเซต

AFP เผย ข้อมูลเพจดังเป็นเท็จ กรณีอ้างสิงคโปร์กำหนดอายุเยาวชนแค่ 7 ปี

AFP เผย ข้อมูลเพจดังเป็นเท็จ กรณีอ้างสิงคโปร์กำหนดอายุเยาวชนแค่ 7 ปี
มติชน
12 พฤศจิกายน 2563 ( 14:45 )
109
AFP เผย ข้อมูลเพจดังเป็นเท็จ กรณีอ้างสิงคโปร์กำหนดอายุเยาวชนแค่ 7 ปี

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน เว็บไซต์ AFP ตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้เผยแพร่ ข้อมูลข้อเท็จจริง เรื่องการกำหนดอายุเยาวชนของประเทศสิงคโปร์ว่า

 

“คำกล่าวอ้างที่ถูกโพสต์ทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ได้ถูกแชร์ออกไปนับพันครั้งพร้อมคำกล่าวอ้างที่ระบุว่าสิงคโปร์ลงโทษผู้ที่มีอายุมากกว่า 7 ปีเท่ากับผู้ใหญ่ในระบบศาลอาญา พร้อมเสนอว่าประเทศไทยควรพิจารณาระบบดังกล่าว โพสต์นี้ได้ถูกแชร์ออกไปหลังการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยของเยาวชนนับพันที่ออกมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูป คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ กฏหมายของประเทศสิงคโปร์ระบุว่าการกระทำของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่จัดว่าเป็นความผิดทางอาญา ขณะที่บุคคลที่มีอายุระหว่าง 10 ถึง 18 ปี จะถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชนและ “ไม่ได้รับโทษเท่าผู้ใหญ่” ตามที่โพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดกล่าว


คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 และได้ถูกแชร์ออกไปกว่า 1,100 ครั้ง

 

 

คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “เมืองไทยควรพิจารณา สิงคโปร์ จำกัดคำว่า “เยาวชน” อยู่ที่ 7 ขวบ ถ้าโตกว่านี้ รับโทษเท่าผู้ใหญ่” จากข้อมูลของการดำเนินคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัวของประเทศไทย คำว่า “เยาวชน” หมายถึงบุคคลที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 17 ปี โพสต์ดังกล่าวมีการใช้ภาพและแสดงอายุของแกนนำกลุ่มผู้ประท้วง รวมถึง พริษฐ์ ชิวารักษ์ (22) ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (22) และ ภาณุพงศ์ จาดนอก (24) คำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดนี้ถูกแชร์ภายหลังจากที่ทั้งสามคนได้รับการประกันตัวจากข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่น เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563

 

ระบบยุติธรรมของสิงคโปร์

ณ เดือนกรกฎาคม 2563 เพดานอายุที่ถูกคุ้มครองด้วยกฏหมายอยู่ที่ 10 ปี
มาตรา 82 ของ ประมวลกฎหมายอาญาประเทศสิงคโปร์ แปลเป็นภาษาไทยว่า “การกระทำของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่สามารถถือว่าเป็นความผิดทางอาญา”


กฏหมายเด็กและเยาวชน ใน พ.ศ. 2492 ของประเทศสิงคโปร์เป็นกฏหมายที่บังคับใช้เพื่อคุ้มกันดูแล ป้องกัน และฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่กระทำผิดกฏหมายหรือตกเป็นเหยื่อการล่วงละเมิด


บทความฉบับนี้ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและครอบครัวของประเทศสิงคโปร์ ระบุว่ากฏหมายฉบับดังกล่าวได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เพื่อ “ขยายกรอบการป้องกันเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี”


กฏหมายดังกล่าวเปิดทางให้เยาวชนผู้กระทำผิด สามารถลบประวัติคดีอาญาได้หากปฏิบัติตัวครบถ้วนตามคำสั่งของศาลเยาวชน
ขณะที่ ผู้ใหญ่ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญา จะมีประวัติอาชญากรรมถาวรตามที่ระบุไว้ในข้อกฎหมายฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องประวัติอาชญากรรม
ในประเทศสิงคโปร์ ศาลเยาวชนจะดำเนินการคดีความที่เกี่ยวกับเยาวชน จำเลยที่เป็นเยาวชนจะถูกดำเนินคดีอาญาและได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากนักโทษที่เป็นผู้ใหญ่

 

ระบบยุติธรรมของไทย

ในประเทศไทย คดีความเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนจะถูกส่งไปพิจารณาโดยศาลเยาวชนและครอบครัว
มาตรา 86 ของหมวดที่ 7 ในพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เขียนว่า “หากผู้อํานวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นวาเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง ให้จัดทําแผนแก้ไขบําบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติ”
แม้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 จะระบุว่าเยาวชนหมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15-17 ปี แต่ตามมาตราที่ 97 เขียนระบุว่าบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี อาจจะได้รับการปฏิบัติเป็นเยาวชนได้ โดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญา และนิสัย


“บุคคลใดอายุยังไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์กระทําความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลที่มีอํานาจพิจารณาคดีธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดยคํานึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญา และนิสัยแล้ว เห็นวาบุคคลนั้นยังมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน ให้มีอํานาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอํานาจและให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน”

 

**รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)**

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง