รีเซต

'Boost with Facebook' สนับสนุนผู้ประกอบการ จากชุมชนชายขอบทั่วไทย

'Boost with Facebook' สนับสนุนผู้ประกอบการ จากชุมชนชายขอบทั่วไทย
มติชน
25 พฤศจิกายน 2563 ( 14:30 )
63

นับตั้งแต่เปิดตัวในปี พ.ศ.2563 ได้มีการจัดฝึกอบรมแบบออฟไลน์ไปแล้ว 19 ครั้ง และแบบออนไลน์ 27 ครั้ง เพื่อสนับสนุนธุรกิจทั่วประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการที่มาจากกลุ่มหลากหลายและชุมชนชายขอบต่างๆ เช่น กลุ่มเพศทางเลือก กลุ่มผู้พิการ และชนกลุ่มน้อย เป็นต้น

 

ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมในโครงการ “Boost with Facebook” เป็นผู้หญิง

 

Facebook ประเทศไทย และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เปิดตัวคู่มือพลิกสถานการณ์เสริมสร้างศักยภาพการฟื้นตัวของธุรกิจขนาดย่อมสำหรับประเทศไทยจากโควิด-19

 

โดย Facebook ประเทศไทย ได้จัดงาน “Leading with Inclusion” เพื่ออัพเดตความคืบหน้าของโครงการ Boost with Facebook กับวิสัยทัศน์ก้าวนำด้านดิจิทัลด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนจากทุกภาคส่วน ในช่วงใกล้สิ้นปี ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ล่าสุดของโครงการฝึกอบรม Boost with Facebook ที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งของความร่วมมือในครั้งนี้ยังรวมถึงการประกาศเปิดตัวคู่มือพลิกสถานการณ์เสริมสร้างศักยภาพการฟื้นตัวของธุรกิจขนาดย่อมที่ถูกจัดทำขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ Facebook ประเทศไทย ในการสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

 

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 โครงการ Boost with Facebook ได้เสริมสร้างทักษะดิจิทัลที่จำเป็นให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงผู้ประกอบการชาวไทย เพื่อช่วยผลักดันการเติบโตของธุรกิจของพวกเขา

 

โดยช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ การจัดฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ภายใต้โครงการของ Facebook ซึ่งเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถเข้าถึงคนไทยกว่า 2.3 ล้านคน นอกจากกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยและบุคคลทั่วไปแล้ว Facebook ยังได้ดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และพันธมิตรชุมชนต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดฝึกอบรมของโครงการสามารถเข้าถึงผู้ประกอบการที่มาจากชุมชนชายขอบที่มีความสำคัญ เพื่อมอบโอกาสในการสนับสนุนการเติบโตเชิงเศรษฐกิจแก่ชุมชนที่มีความหลากหลาย

 

ความร่วมมือดังกล่าวทำให้โครงการประสบความสำเร็จในการจัดฝึกอบรมให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากกลุ่มชุมชนชายขอบในประเทศไทย 2,183 ราย ผ่านการจัดฝึกอบรมในรูปแบบออฟไลน์ 19 ครั้ง และออนไลน์ 27 ครั้ง โดยร้อยละ 60 ของผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้ประกอบการหญิง และร้อยละ 38 มาจากชุมชนชายขอบที่มีความสำคัญ เช่น กลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQI) กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี และชนกลุ่มน้อย เป็นต้น

 

เบธ แอน ลิม ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายโครงการเพื่อชุมชน ประจำ Facebook เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นย้ำว่า “ในขณะที่ธุรกิจในประเทศไทยกำลังปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสภาวะนิวนอร์มอล เรายังคงมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือธุรกิจเหล่านั้นในการฟื้นตัว และต้องทำให้แน่ใจว่าความพยายามของเราจะเข้าถึงคนทุกกลุ่มโดยไม่มีข้อแม้ ไม่ว่าพวกเขาจะมีความสามารถ เพศวิถี และภูมิหลังด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร จากการดำเนินโครงการนี้ เราคาดหวังที่จะเป็นเหมือนสะพานเชื่อมเพื่อช่วยลดปัญหาช่องว่างทางทักษะ ด้วยการให้ความรู้ เสริมสร้างทักษะ และสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และชุมชนที่มีความหลากหลาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างศักยภาพการฟื้นตัวของกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เราทุกคนกำลังก้าวผ่านผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ระดับโลกในครั้งนี้”

 

ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า “มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียได้ร่วมมือกับ Facebook เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมและผู้ประกอบการชาวไทย ด้วยทักษะและความเข้าใจที่มีต่อความรู้ด้านดิจิทัลที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ ประชาสังคม และภาคเอกชน เราได้มองเห็นถึงการเติบโตของผู้ที่เข้าร่วมโครงการจากคะแนนหลังการฝึกอบรมของพวกเขา และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้งานจริง เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของเราว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทยจำนวนมากมีศักยภาพในการเติบโตในเศรษฐกิจดิจิทัล พวกเขาเพียงต้องการโอกาสใน การเรียนรู้เท่านั้น”

 

ภายในงานครั้งนี้ ยังเล่าถึงกรณีศึกษาและตัวอย่างจากในไทยเกี่ยวกับวิธีการที่ธุรกิจต่างๆ กระตุ้นยอดขายและเชื่อมต่อกับลูกค้าใหม่ๆ ในยุคดิจิทัล คุณมานพ เอี่ยมสะอาด รองประธานบริหาร บริษัทเรย์วิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด องค์กรเพื่อช่วยเหลือผู้พิการให้มีทางเลือกที่เปิดกว้างพร้อมด้วยศักยภาพในการดำเนินชีวิตอย่างที่ต้องการได้มากขึ้น ได้กล่าวเน้นว่า “สถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนทั่วไปได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างมากขึ้น อย่างบริษัทต่างๆ ที่เคยมีการจ้างงานผู้พิการตามอัตราโควต้า 1:100 พอบริษัทต้องปลดพนักงานทั่วไปออกเป็นหมื่นๆ คน โอกาสของการจ้างงานคนพิการก็ยิ่งน้อยลงอีก ปัญหาสำคัญที่เรามองเห็นคือความท้าทายสำหรับชุมชนผู้พิการที่จะผันตัวเองไปประกอบอาชีพอื่นๆ เมื่อเทียบกับคนทั่วไป การที่ได้มาร่วมอบรมในโครงการ Boost with Facebook ทำให้เขามีโอกาส เรียนรู้เทคนิคการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น เราเห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม เช่น ภายในกลุ่มของเรา มีสมาชิกที่เริ่มมีอาชีพส่วนตัว หันมาขายของออนไลน์มากขึ้น หรืออย่างน้อยพวกเขาเริ่มเรียนรู้การใช้งาน เครื่องมือต่างๆ ของ Facebook และเป็นการเปิดช่องทางให้เขามีพื้นที่ได้แสดงออกหรือสื่อสารประสบการณ์ ของพวกเขา ทำให้รู้สึกมีคุณค่า หรือมีอิสระในการหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับตัวเองมากขึ้น”

 

นอกจากนี้ ร้านอาหาร อาม่า ติ่มซำ ยังได้เล่าถึงการเข้าร่วมการฝึกอบรมของโครงการ Boost with Facebook ที่ถูกจัดขึ้นเพื่อผู้ที่มีความบกพร่องด้านการได้ยินโดยเฉพาะ โดยเป็นครั้งแรกที่การฝึกอบรมเช่นนี้ถูกจัดขึ้นพร้อมล่ามภาษามือ สำหรับกลุ่มสิชลมัดย้อม โครงการ Boost with Facebook ได้ช่วยให้กลุ่มผู้พิการสามารถเพิ่มทักษะดิจิทัลใหม่ๆ เพื่อจำหน่ายและโปรโมตงานหัตถกรรมของพวกเขา ด้วยการเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ๆ ให้เดินทางมาเยี่ยมชมหน้าร้านของพวกเขาในจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอี La?Poon Organic ซึ่งก่อตั้งขึ้นในจังหวัดลำพูน ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นมาจาก อรุณี พร้อมชัย ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสมุนไพรออร์แกนิค ด้วยการใช้ภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรท้องถิ่น และ Facebook ได้ช่วยให้ธุรกิจของเธอเติบโตขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น ปัจจุบัน เธอจ้างพนักงานทั้งหมด 11 คน และยังมีบทบาทในการสนับสนุนชุมชนของเธอด้วย

 

หลังจากเข้าร่วมโครงการ Boost with Facebook อรุณี ซึ่งเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ได้พบว่าความรู้เชิงดิจิทัลที่เธอได้รับ ไม่เพียงทำให้เธอสามารถสร้างบทบาทบนโลกออนไลน์ให้กับธุรกิจของเธอได้สำเร็จ แต่ยังช่วยให้เธอเชื่อมต่อกับชุมชนใหม่ๆ ได้อีกด้วย โดยคุณอรุณีกล่าวว่า “ฉันเพิ่งเคยได้รับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นครั้งแรกจากธุรกิจค้าปลีกในประเทศพม่า หลังจากที่ฉันเริ่มปรับปรุงการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของฉัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมการฝึกอบรมของโครงการ Boost with Facebook ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา”

 

คู่มือพลิกสถานการณ์เสริมสร้างศักยภาพการฟื้นตัวของธุรกิจขนาดย่อมจากสถานการณ์โควิด-19 โดย Facebook ประเทศไทย และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย

 

ความสามารถในการฟื้นตัวเป็นทักษะที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากในปัจจุบัน ซึ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่างพยายามที่จะฟื้นตัวจากผลกระทบที่ได้รับอย่างรุนแรงจากโควิด-19 ต่อธุรกิจของพวกเขา

 

รายงานสภาวะธุรกิจขนาดเล็กในระยะที่ 4 ซึ่งเป็นรายงานล่าสุดของ Facebook ที่จัดทำร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) ระบุว่าร้อยละ 38 ของธุรกิจในประเทศไทยที่ดำเนินงานบน Facebook กล่าวว่าพวกเขาได้ลดจำนวนพนักงานลงในเดือนสิงหาคม ในขณะที่ร้อยละ 71 ของธุรกิจบน Facebook ที่มีเจ้าของเป็นผู้ประกอบการหญิง รายงานว่ายอดขายของพวกเธอในเดือนที่ผ่านมาลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น

 

Facebook ประเทศไทย ยังได้เปิดตัวคู่มือพลิกสถานการณ์เสริมสร้างศักยภาพการฟื้นตัวของธุรกิจขนาดย่อมสำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นระยะยาวในการสนับสนุนการฟื้นตัวของธุรกิจขนาดย่อม โดยพัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เพื่อเสริมการจัดฝึกอบรมในโครงการ Boost with Facebook ศูนย์กลางทรัพยากรเพื่อธุรกิจ (Business Resource Hub) และโครงการมอบเงินทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในสภาวะนิวนอร์มอลได้

 

คู่มือดังกล่าว ซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้ดำเนินโครงการ Global Resiliency ของ Facebook และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมด้านการจัดการภาวะวิกฤต การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ การเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน และการฟื้นตัวของธุรกิจ ได้แบ่งปันกลยุทธ์และสิ่งที่ควรพิจารณาที่สามารถนำมาใช้ได้กับการดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย โดยคู่มือดังกล่าวเน้นย้ำถึงโอกาสของธุรกิจในการปรับขั้นตอนการดำเนินงานของพวกเขาให้เหมาะสม และการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งต่อไปที่เรียกว่า “เน็กซ์ นอร์มอล” และยังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวัดผลเพื่อลดปัญหาช่องว่างต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง