รีเซต

14 กรกฎาคม วันชิมแปนซีโลก (World Chimpanzee Day) : สัตว์ใกล้เคียงของมนุษย์

14 กรกฎาคม วันชิมแปนซีโลก (World Chimpanzee Day) : สัตว์ใกล้เคียงของมนุษย์
TeaC
7 กรกฎาคม 2566 ( 14:29 )
536
14 กรกฎาคม วันชิมแปนซีโลก (World Chimpanzee Day) : สัตว์ใกล้เคียงของมนุษย์

รู้หรือไม่? ญาติที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุดยังมีชีวิตอยู่ นั่นคือ กอริลลาและชิมแปนซี โดยนักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้พบว่า ในอดีตเมื่อ 7 ถึง 5 ล้านปีก่อนนี้ มนุษย์และชิมแปนซีมีบรรพบุรุษร่วมกัน การศึกษา DNA ของคน และชิมแปนซีแสดงให้เห็นว่า เมื่อ 5 ล้านปีก่อนนี้ ชิมแปนซีได้วิวัฒนาการแยกจากคนเป็น Pan Troglodytes

 

14 กรกฎาคม วันชิมแปนซีโลก 

 

และเพื่อสร้างความระหนักถึงสัตว์ที่มีความใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด แถมกำลังใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงการอนุรักษ์ให้คงอยู่กับโลกนี้ไปตราบนานเท่านั้น วันนี้ 14 กรกฎาคม วันชิมแปนซีโลก (World Chimpanzee Day) วันสำคัญ TrueID จะพาไปรู้จัก สัตว์ใกล้เคียงของมนุษย์

 

รู้จัก! ชิมแปนซี สัตว์ที่ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด

 

 

ชิมแปนซี (Chimpanzee, Pan troglodytes) เป็นลิงใหญ่ไม่มีหาง มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับมนุษย์มากถึง 98% ถิ่นอาศัยอยู่ในแอฟริกากลางและตะวันออก มันเป็นสัตว์สังคมอาศัยเป็นฝูงครอบครัว กินพืช ผัก ผลไม้เป็นอาหาร และกินสัตว์เป็นอาหารบ้าง สามารถเดิน 2 ขาได้เหมือนมนุษย์

 

ลักษณะของ ชิมแปนซี มันมีแขนและขามีความยาวพอ ๆ กัน มีขนโดยเฉพาะที่หู มือ และเท้าสีเนื้อ ลูกที่เกิดใหม่จะมีใบหน้าสีชมพู ตัวผู้สูงราว 5 ฟุต น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียสูงราว 4 ฟุต ทำรังอยู่บนพื้นดินด้วยการโน้มกิ่งไม้ขัดทำเป็นที่นอน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 7-9 ปี เป็นสัดทุก ๆ 33-38 วัน ระยะเวลาสำหรับการผสมพันธุ์นาน 3 วัน ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ตั้งท้องนานประมาณ 230 วัน ลูกจะอยู่กับแม่นาน 1-2 ปี สูงสุดถึง 7 ปี และมีอายุยืนประมาณ 40 ปี ตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์จะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว จึงยากที่จะบ่งบอกได้ว่า ลูกที่เกิดมานั้นมาจากลิงตัวผู้ตัวไหน

 

พวกเขาเป็นสัตว์ที่ฉลาดมาก โดยถูกบันทึกว่ามีการใช้เครื่องมือในการหาอาหาร รวมถึงน้ำจากต้นไม้อีกด้วย รวมถึงมีการสื่อสารอันซับซ้อนที่น่าสนใจอย่างมาก 

 

สกุลชิมแปนซี

 

ขณะที่ สกุลชิมแปนซี เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูง ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ในอันดับวานร เป็นลิงไม่มีหาง ใช้ชื่อสกุลว่า Pan ส่วนลักษณะเด่นของชิมแปนซี ที่เราคุ้นเคยกันดี คือ ไม่มีดั้งจมูก ขากรรไกรค่อนข้างยื่นออกมา

 

โดยมันมีฟันกรามที่พัฒนาใช้การได้ดี มีปริมาตรสมองราว 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีโครโมโซมจำนวน 24 คู่ และมีดีเอ็นเอร่วมกับมนุษย์ถึงร้อยละ 99.4 เนื่องจากมีบรรพบุรุษร่วมกันมา แต่ได้แยกวิวัฒนาการออกจากกันเมื่อราว 5-6 ล้านปีก่อน

 

เป็นสัตว์ที่รักสงบ แต่ก็มีบางครั้งที่ตัวผู้จะมีพฤติกรรมดุร้าย มักยกพวกเข้าโจมตีกัน และยังมีพฤติกรรมล่าลิงชนิดอื่น ได้แก่ ลิงโลกเก่ากินเป็นอาหารอีกด้วย เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง ออกลูกครั้งละเพียง 1 ตัว อายุขัยโดยเฉลี่ย 40 ปี เป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาด มีการแสดงออกทางอารมณ์คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด รวมทั้งกล้ามเนื้อและสรีระ ทั้งนี้เพราะระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์และชิมแปนซีนั้นคล้ายกันมาก แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันต่อหน่วยน้ำหนักแล้ว ชิมแปนซีมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่ามนุษย์ 2-3 เท่า โดยมีการศึกษาพบว่า ชิมแปนซีมีความทรงจำดีเสียยิ่งกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก และจดจำคำศัพท์ของมนุษย์ได้ถึง 125 คำ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

 

 

  • ชิมแปนซี (Pan troglodytes) แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย
  • โบโนโบ (Pan paniscus) มีขนาดเล็กลงมา หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า ชิมแปนซีแคระ

 


โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านชิมแปนซี ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ เจน กูดดอลล์ นักวานรวิทยาหญิงชาวอเมริกัน ที่เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เริ่มต้นที่ประเทศอูกันดา 

 

14 กรกฎาคม วันชิมแปนซีโลก (World Chimpanzee Day) ร่วมอนุรักษ์กันเถอะ

 

ปัจจุบันนี้ ชิมแปนซีถูกจัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ภัยคุกคามมาจากการสูญเสียแหล่งอาศัยเนื่องจากมนุษย์ได้ทำลายพื้นที่ ถูกล่าเพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง และโรคต่างๆ มีประชากรอยู่ราว 170,000 - 300,000 ตัว

 

วันสำคัญ วันชิมแปนซีโลก (World Chimpanzee Day) เพื่อสร้างการตระหนักให้ร่วมกันอนุรักษ์สัตว์ที่ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด ทั้งนี้จากข้อมูลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า ชิมแปนซีที่อยู่ในพื้นที่ถูกคุกคามโดยมนุษย์ มีหลากหลายของพฤติกรรมการเรียนรู้น้อยกว่า ชิมแปนซีที่อาศัยอยู่ในป่าดึกดำบรรพ์ พร้อมทั้งได้ศึกษากลุ่มประชากรชิมแปนซีราว ๆ 150 กลุ่ม จาก 17 ประเทศ และจำแนกพฤติกรรมออกเป็น 31 อย่าง เช่น การเก็บน้ำผึ้ง การโยนหินเพื่อสื่อสาร ซึ่งแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปน

 

ยิ่งมนุษย์ผลาญทำลายสิ่งแวดล้อมมากเท่าไหร่ ทั้งการสร้างถนน การตัดไม้เปิดเส้นทาง การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์ม ยิ่งทำให้พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ลดทอนความหลากหลายลง รวมทั้ง เออร์วิน เดอวอร์ (Irven DeVore) นักมานุษยวิทยาผู้โด่งดัง เคยแสดงความแปลกใจที่เราเพิกเฉยต่อญาติไพรเมทที่ใกล้ชิดเรามากที่สุด

 

"ราจะต้องทุ่มเงินไปเท่าไหร่ในการท่องอวกาศเพื่อค้นพบสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับเราถึง 98% ขณะที่มีสิ่งมีชีวิตแบบนั้นอยู่บนโลกแล้ว แต่เรากลับปล่อยให้พวกเขาเผชิญการสูญพันธุ์"

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย, ผู้จัดการออนไลน์

.

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง