รีเซต

SpaceHopper หุ่นยนต์จิ๋วจอมกระโดดสำหรับภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อย

SpaceHopper หุ่นยนต์จิ๋วจอมกระโดดสำหรับภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อย
TNN ช่อง16
21 เมษายน 2567 ( 11:32 )
50
SpaceHopper หุ่นยนต์จิ๋วจอมกระโดดสำหรับภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อย

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ยังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะสมในการสำรวจดาวเคราะห์น้อย เพราะต้องต่อสู้สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและสุดขั้ว เช่นเดียวกับหุ่นยนต์สามขา สเปซฮอปเปอร์ (SpaceHopper) ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยหรือดวงจันทร์ในอนาคต 


โครงการพัฒนาหุ่นยนต์สเปซฮอปเปอร์ (SpaceHopper) ถูกเปิดตัวครั้งแรกประมาณ 3 ปีก่อน ซึ่งเริ่มต้นจากโครงการวิจัยของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซูริค (ETH Zurich) หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านเทคโนโลยีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยการทดสอบล่าสุดหุ่นยนต์สเปซฮอปเปอร์ (SpaceHopper) ถูกกระทำในสภาพแวดล้อมจำลองแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์บนเครื่องบิน Zero-G โดยการสนับสนุนขององค์การอวกาศยุโรป


การทดสอบหุ่นยนต์สเปซฮอปเปอร์ (SpaceHopper) จะทำการทดสอบบนเครื่องบิน Zero-G โดยให้หุ่นยนต์กระโดดอยู่ภายในเครื่องบินที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบการเคลื่อนไหวและตาข่ายจับยึด หุ่นยนต์จะกระโดดประมาณ 30 ครั้งต่อ 1 เที่ยวบิน โดยเที่ยวบินแต่ละครั้งสร้างสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลาประมาณ 20-25 วินาที


ทีมงานวิจัยยืนยันว่าการทดสอบประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หุ่นยนต์สเปซฮอปเปอร์ (SpaceHopper) สามารถกระโดดเปลี่ยนตำแหน่งไปยังทิศทางต่าง ๆ ตามแผนการที่วางไว้ ทีมงานสามารถตรวจสอบวิธีการกระโดดของหุ่นยนต์ในสภาพแวดล้อมจำลองแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์บนเครื่องบิน เพื่อเตรียมความพร้อมหากมีการส่งหุ่นยนต์ขึ้นไปบนอวกาศในอนาคต


การออกแบบสเปซฮอปเปอร์ (SpaceHopper) เน้นการออกแบบที่เรียบง่ายลำตัวรูปทรงสามเหลี่ยมและขาเชื่อมต่อกันในมุมต่าง ๆ ข้อต่อบริเวณเข่าและสะโพกช่วยในการเคลื่อนไหวได้ง่ายมากขึ้น เช่น การกระโดดไปมาภายใต้สภาพแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์บนอวกาศ ดาวเคราะห์น้อย หรือดวงจันทร์ 


"ดาวเคราะห์น้อยอาจเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญของมนุษย์ในอนาคต นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการก่อตัวของเอกภาพ" หนึ่งในทีมงานนักวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ สเปซฮอปเปอร์ (SpaceHopper) กล่าวอธิบายเพิ่มเติม


แม้ว่าการกระโดนบนอวกาศหรือในสภาพแวดล้อมแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ความจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ท้าทายเป็นอย่างมาก กรณีที่กระโดดแรงเกินไปหุ่นยนต์อาจลอยออกไปนอกอวกาศ หรือถ้ากระโดดเบาเกินไปหุ่นยนต์ก็แทบจะไม่ขยับไปไหน ดังนั้นหุ่นยนต์จะต้องมีความสามารถในการคำนวณก่อนกระโดดทุกครั้ง และอาจใช้วิธีกระโดดในระยะสั้น ๆ เปลี่ยนตำแหน่งไปด้านหน้าหรือด้านข้างเพื่อความปลอดภัย




ที่มาของข้อมูล Space.com



ข่าวที่เกี่ยวข้อง