รีเซต

ประวัติ วันมหาสมุทรโลก หรือ วันทะเลโลก World Oceans Day ปี 2567

ประวัติ วันมหาสมุทรโลก หรือ วันทะเลโลก World Oceans Day ปี 2567
TrueID
8 มิถุนายน 2567 ( 12:19 )
1.3K
ประวัติ วันมหาสมุทรโลก หรือ วันทะเลโลก World Oceans Day ปี 2567

ประวัติ วันมหาสมุทรโลก น้ำจัดว่าเป็นทรัพยากรสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ จนมีคำกล่าวว่า น้ำคือชีวิต ไม่ผิดจากนั้นเท่าไร อีกทั้งน้ำยังเป็นสิ่งที่มากสุดในโลกด้วย น้ำกินพื้นที่โลกทั้งใบไปมากถึง 1 ใน 3 เลยก็ว่าได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งท้องทะเลและมหาสมุทรก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น วันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี จึงถูกระบุไว้ให้เป็นวันทะเลโลก หรือวันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) ซึ่งวันนี้ trueID จะพาทุกคนมารู้จักประวัติของวันนี้ไปพร้อม ๆ กัน

 

ประวัติ วันมหาสมุทรโลก

 

ที่มาของ วันมหาสมุทรโลก

สำหรับ ประวัติ วันมหาสมุทรโลก (World Oceans Day) ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล กำหนดขึ้นมาอย่างเป็นทางการโดยสหประชาชาติ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2552 แนวความคิดนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จากแนวความคิดของประเทศแคนาดา ในการประชุมความร่วมมือของกลุ่มประชาคมโลก (The Earth Summit) ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล โดยหลังจากนั้นมีการเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการมาทุกปี จนกระทั่งกำหนดเป็น วันมหาสมุทรโลก

 

เที่ยวสิงคโปร์ ดำดิ่งสู่ห้วงมหาสมุทรสีน้ำเงินที่ รีสอร์ท เวิลด์ เซ็นโตซ่า 4วัน 3 คืน

 

กิจกรรมวันทะเลโลก 

 สำหรับในประเทศไทย หลาย ๆ จังหวัดจะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมเพื่อร่วมตระหนักถึงความสำคัญของวันทะเลโลกเป็นประจำทุกปี เช่น การจัดนิทรรศการให้ความรู้ทางทะเล การร่วมกันเก็บขยะบนชายหาด จัดกิจกรรมในการอนุรักษ์ฟื้นฟู แพร่พันธุ์สัตว์ทะเลต่าง ๆ บริเวณชายหาด ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้ตื่นตัวและใส่ใจกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลของท้องถิ่นตนเอง

 

 

ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล

  1. ถ้าคุณไปเที่ยวทะเล อย่าจับสัตว์ทะเล หรือเก็บเปลือกหอยกลับบ้าน ปล่อยให้มันอยู่กับทะเลดีกว่า เพื่อแบ่งปันความความสวยงามให้ผู้อื่นได้พบเห็นภายหลัง คุณอาจเลือกวิธีถ่ายภาพเก็บความประทับใจไว้แทนก็ได้

  2. ไม่ควรทิ้งเศษขยะ เศษอาหาร ถุงพลาสติก ลงในชายหาดและในทะเล เพราะหากสัตว์ทะเลกินเข้าไปจะทำให้สัตว์ป่วยและเสียชีวิต

  3. ไม่ควรปล่อยน้ำเสียจากการซักล้างหรือน้ำปนเปื้อนสารพิษลงท่อระบายน้ำที่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะท้ายที่สุดมันจะไหลลงสู่ทะเล

  4. ตรวจสอบเรือก่อนออกจากฝั่ง หากมีรอยรั่วของถังเก็บน้ำมันต้องซ่อมแซมก่อน เพื่อป้องกันการรั่วไหลของคราบน้ำมันบนพื้นผิวทะเล

  5. หากคุณดำน้ำเพื่อชมปะการัง ไม่ควรจับต้องสัตว์ทะเล พืชทะเล เพราะอาจเป็นการทำร้ายสัตว์และพืชทะเลโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งยังเป็นการป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษอีกด้วย

  6. อย่าปล่อยโคมลอย ลูกโปร่ง ขึ้นบนอากาศเพราะหากมันตกลงทะเล สัตว์ทะเลจะเข้าใจว่าเป็นอาหารและกินซึ่งเป็นสาเหตุให้สัตว์ทะเลเสียชีวิต

 

บินไม่ได้ ... ชายอาร์เจนตินา "ล่องเรือ"ข้ามมหาสมุทร 85 วันไปเยี่ยมพ่อแม่ชรา

 

โควิด-19 กับ มหาสมุทร

นักอนุรักษ์ได้แสดงความกังวลว่าการระบาดของโควิด-19 อาจทำให้มลภาวะขยะพลาสติกในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติที่ปัจจุบันนับว่าเป็นภัยคุกคามต้อสิ่งมีชีวิตในทะเล หลังจากพบหน้ากากอนามัยลอยในทะเลไม่ต่างจากแมงกะพรุน ส่วนถุงมือยางกระจายทั้งท้องสมุทร

 

นักประดาน้ำพบสิ่งที่ เรียกว่า ‘ขยะโควิด’ ไม่ว่าจะเป็นถุงมือยาง หน้ากากอนามัย และขวดเจลล้างมือซ่อนตัวอยู่ใต้เกลียวคลื่นของมหาสมุทรเมดิเตอเรเนียน ปะปนไปกับขยะอย่างแก้วน้ำพลาสติกและกระป๋องอลูมิเนียม

 

ปริมาณของหน้ากากอนามัยและถุงมือยาวที่พบนับว่ามหาศาล แต่สิ่งที่เขากังวลคือการค้นพบดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นของมลภาวะระลอกใหม่ ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่หลังจากที่ประชากรหลายล้านคนทั่วโลกหันมาใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งเพื่อรับมือการระบาดของโคโรนาไวรัส “นี่คือสัญญาณถึงมลภาวะที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากเรายังไม่หาวิธีจัดการ"

 

ตัวเลขเหล่านี้อาจเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 โดยหน้ากากอนามัยมักจะมีพลาสติกอย่างโพลิโพรพิลีน (polypropylene) “ด้วยเวลาในการย่อยสลายที่ยาวนานถึง 450 ปี หน้ากากอนามัยเหล่านี้ไม่ต่างจากระเบิดเวลาทางสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธรรมชาติและโลก

 

ที่มา : มูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร , watertreaty , wikipedia

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง