รีเซต

คนจีนอาจแต่งงานน้อยลง หลังศาลไม่อนุมัติ ให้ฟ้องหย่า ด้วยสาเหตุ ‘คู่รักนอกใจ’

คนจีนอาจแต่งงานน้อยลง หลังศาลไม่อนุมัติ ให้ฟ้องหย่า ด้วยสาเหตุ ‘คู่รักนอกใจ’
TNN ช่อง16
8 มกราคม 2565 ( 22:25 )
139
คนจีนอาจแต่งงานน้อยลง หลังศาลไม่อนุมัติ ให้ฟ้องหย่า ด้วยสาเหตุ ‘คู่รักนอกใจ’

สำนักข่าว SCMP รายงานเรื่องการหย่าร้างในประเทศจีน หลังเกิดประเด็นโต้แย้ง เมื่อศาลมณฑลซานตงไม่อนุมัติให้ฟ้องหย่า ด้วยสาเหตุ “คู่สมรสนอกใจ


---หย่าไม่ได้เพราะไม่เป็นไปตามกฎ---


ศาลจังหวัดทางภาคตะวันออกของจีน ระบุในบทความที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ (2 มกราคมว่า ประชาชนไม่สามารถยื่นคำร้องขอหย่าได้ ด้วยการอ้าง “คู่รักนอกใจ” เป็นเหตุผล ซึ่งกลายเป็นที่ถกเถียงในวงกว้างทันที


ศาลมณฑลซานตงระบุว่า เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่นอกใจ ไม่ได้อยู่ด้วยกันแบบคนรัก การนอกใจจึงไม่เป็นไปตามมาตรฐาน “การอยู่ร่วมกัน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายการหย่าร้างของจีน


เมื่อคนที่แต่งงานแล้วถูกจับได้ว่านอกใจ ตราบใดที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันอย่างมั่นคงและเป็นเวลานานพอ พฤติกรรมนี้จะไม่นับว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน ดังนั้น คู่สมรสจึงไม่สามารถยื่นคำร้องขอหย่าได้ด้วยเหตุผลนี้” เนื้อหาที่ระบุไว้ในบทความ


---“นอกใจ” ไม่ใช่เหตุผล---


พร้อมระบุเพิ่มเติมว่า “ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาไม่สามารถใช้การนอกใจ เป็นเหตุผลในการเรียกค่าชดเชยได้” อย่างไรก็ตาม บทความดังกล่าวถูกถอดทันที หลังมีปกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก


ทั้งนี้ เมื่อเดือนมกราคม 2021 จีนได้ออกกฎหมายที่กำหนดระยะเวลา 30 วัน ให้คู่สมรสที่ต้องการหย่าร้าง ได้ทบทวนและใช้เวลาให้ถี่ถ้วน 


บทความของศาลซานดงอ้างถึงกฎหมายข้างต้น โดยระบุว่า "สำหรับการขอหย่าในทางกฎหมาย คู่รักชาวจีนต้องทบทวนการหย่าร้าง (cooling-off) เป็นเวลา 30 วัน ก่อนที่จะตัดสินใจแยกทางกัน ส่วนการฟ้องหย่า การตีความทางกฎหมาย ได้ตัดการนอกใจออกจากเงื่อนไขการหย่าร้างแล้ว


ขณะที่ นักวิชาการด้านกฎหมายกล่าวว่า ศาลตีความกฎหมายผิดเพี้ยนไป


---กฎหมายที่ไม่เหมือนเดิม---


โจว โหย่วจุน ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยเป่ยหางในกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า บทความดังกล่าวทำให้เกิดความสับสน เกี่ยวกับสิทธิของผู้ขอหย่าและความรับผิดชอบของศาลจีน


บทบัญญัติที่อ้างในบทความ ใช้กับการพิจารณาคดีและการตัดสินคดี แต่ไม่มีข้อกำหนดสำหรับคนที่จะฟ้องหย่า” 


การขอหย่าเป็นสิทธิ์พื้นฐานของพลเมือง และเป็นความรับผิดชอบของศาลที่จะตัดสินใจว่า อนุญาตให้หย่าหรือไม่ ความแตกต่างเช่นนี้ไม่ควรทำให้สับสน” เขาเขียนอธิบายกับสำนักข่าว Hongxing


หลักการพื้นฐานของกฎหมายการหย่าร้างในจีน คือ ‘ปกป้องเสรีภาพในการหย่า และต่อต้านการหย่าร้างที่ด่วนตัดสินใจ’ ” เขากล่าว


---คู่รักจีนอัตราหย่าร้างสูง---


อัตราการหย่าร้างของจีน เพิ่มขึ้นจากอัตรา 2 ต่อ 1,000 คนในปี 2010 เป็น 3.4 ต่อ 1,000 คนในปี 2019 ก่อนที่จะลดลงเหลือ 3.1 ต่อ 1,000 คนในปี 2020 ทั้งนี้ จากข้อมูลที่รัฐบาลเผยแพร่ คาดว่า ในปี 2021 อัตราการหย่าร้างจะลดลง


บทความนี้ยังเผยแพร่ในช่วงที่จีนกำลังเผชิญวิกฤตประชากรจีน ซึ่งกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่คนหนุ่มสาวต่างชะลอการแต่งงาน และการมีลูก รวมถึงปฏิเสธการสร้างครอบครัวแบบดั้งเดิม


โดยการสำรวจประชากรในปี 2020 จีนพบว่า การเติบโตของประชากรในทศวรรษที่ผ่านมา ยังชะลอตัวอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปี 1950 เนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง


อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงดังกล่าว ทำให้ประชาชนกังวลว่า การหย่าร้างในจีนอาจทำได้ยากขึ้น 

—————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Cottonbro / Pexels

ข่าวที่เกี่ยวข้อง