รีเซต

สมาคมโรคไตฯ ออกแถลงการณ์ ไม่สนับสนุนผู้ป่วยโรคไตกิน "ถั่งเช่า"

สมาคมโรคไตฯ ออกแถลงการณ์ ไม่สนับสนุนผู้ป่วยโรคไตกิน "ถั่งเช่า"
TNN ช่อง16
2 กุมภาพันธ์ 2564 ( 18:09 )
164

วันนี้ (2 ก.พ.64) เพจ ”สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย - The Nephrology of Thailand” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ เป็นนายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้ออกมาให้ความรู้ เรื่องการใช้ถั่งเช่ารักษาโรคไต โดยระบุรายละเอียดว่า

ปัจจุบันได้มีการโฆษณาถึงสรรพคุณของถั่งเช่าว่าสามารถรักษาโรคไตให้ดีขึ้นหรือกลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวประชาชนสามารถซื้อหาได้โดยง่ายในประเด็นนี้ สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ขอยืนยันว่า จากองค์ความรู้ที่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลที่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าถั่งเช่ามีประโยชน์จริงในผู้ป่วยโรคไต

เนื่องจากมีเพียงข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ไม่มีหลักฐาน การศึกษาที่ดีเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าถั่งเช่ามีประโยชน์กับไตในมนุษย์ และการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้รายงานอาการ ไม่พึงประสงค์ของถั่งเช่าอีกด้วย

ทั้งนี้ ถั่งเช่าที่มีการศึกษาในมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นถั่งเช่าทิเบต (Cordycepssinensis) ที่เกิดในธรรมชาติซึ่งมีราคา สูงมาก การศึกษาส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาเพียง 1 - 6 เดือนเท่านั้น จึงไม่สามารถทราบถึงผลดีและผลเสียในระยะ ยาวได้ และยังพบว่าผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าทิเบตบางส่วนพบมีโลหะหนัก Arsenic ในปริมาณสูง ซึ่งอาจมีผลเสียต่อไตใน ระยะยาว

ในปัจจุบันถั่งเช่าที่ขายอยู่ส่วนใหญ่เป็นถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) ที่ถูกเพาะเลี้ยงขึ้นในฟาร์ม โดยใช้อาหารเลี้ยงแบบต่าง ๆ ทาให้ถั่งเช่าแต่ละชนิดที่ถูกเพาะเลี้ยงในแต่ละวิธี ผลิตสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันมาก และส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาทดลองในมนุษย์ การนำมาใช้จึงอาจทาให้เกิดโทษต่อผู้ป่วยโรคไตได้ เนื่องจากไต เป็นอวัยวะที่สามารถเกิดอันตรายจากการใช้ยาและสารต่าง ๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับขนาดที่เหมาะสม ของถั่งเช่าในผู้ป่วยโรคไต

นอกจากนี้ ยังมีอุบัติการณ์ที่แพทย์โรคไตในประเทศไทยพบการเสื่อมของไตภายหลัง การรับประทานถั่งเช่าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอีกด้วย

โดยสรุปสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยจึงไม่สนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคไตรับประทานถั่งเช่า หากต้องการ รับประทานต้องแจ้งแก่แพทย์ผู้รักษา และไม่ควรหยุดยาแผนปัจจุบันที่รับประทานอยู่ การรักษาที่ดีที่สุดคือการ ดูแลปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม เพื่อชะลอการเสื่อมของไตให้ช้าที่สุด รวมทั้งหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เกิดความเสี่ยง ต่อไตทั้งหมด



เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง