รีเซต

เปิดข้อมูลประเทศไทยเข้าสู่สังคม ‘ผู้สูงอายุ’ โดยสมบูรณ์แล้วปีนี้-กทม.มีผู้สูงวัยสูงสุด

เปิดข้อมูลประเทศไทยเข้าสู่สังคม ‘ผู้สูงอายุ’ โดยสมบูรณ์แล้วปีนี้-กทม.มีผู้สูงวัยสูงสุด
TNN ช่อง16
6 ตุลาคม 2564 ( 17:37 )
249

รู้หรือไม่ว่าในปี 2564 นี้ ประเทศไทย ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ตามหลักเกณฑ์ที่ว่า คือมี ผู้สูงอายุ หรือ “คนแก่” อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และหากดูสถิติย้อนหลังจะพบว่าอัตราการเกิดของเด็กไทยลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยในอีก 20 ปีข้างหน้าหรือเร็วกว่านั้น ประเทศไทยก็ต้อง เผชิญปัญหาขาดประชาชนกลุ่มวัยทำงาน  เพราะในสังคมจะมีแต่ผู้สูงอายุ 

ความจริงประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 แล้ว โดยในปีนั้นประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 10.4%  ตามคำนิยามคำว่า “ผู้สูงอายุ” (Older person) ขององค์การสหประชาชาติหมายถึง ประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปรวมทั้ง  องค์การสหประชาชาติ แบ่งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากรทั้งประเทศ

2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึง มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ

3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึง มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ

จาก ข้อมูลกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ้างอิงข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562 ระบุว่า ประเทศไทย

-มีประชากรทั้งหมด 66,558,935 คน เป็นเพศชาย 32,605,100 คน เพศหญิง 33,953,835 คน

-มีผู้สูงอายุ 11,136,059 คน (16.73%) เป็นเพศชาย 4,920,297 คน เพศหญิง 6,215,762 คน

5 จังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด (นับจำนวนคน)

อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร มีผู้สูงอายุ รวม 1,063,871 คน เป็นผู้ชาย 441,903 คน ผู้หญิง 621,968 คน

อันดับ 2 นครราชสีมา มีผู้สูงอายุ รวม 453,388 คน เป็นผู้ชาย 202,231 คน ผู้หญิง 251,157 คน

อันดับ 3 เชียงใหม่ มีผู้สูงอายุ รวม 333,692 คน เป็นผู้ชาย 149,919 คน ผู้หญิง 183,773 คน

อันดับ 4 ขอนแก่น มีผู้สูงอายุ รวม 312,933 คน เป็นผู้ชาย 141,834 คน ผู้หญิง 171,099 คน

อันดับ 5 อุบลราชธานี มีผู้สูงอายุ รวม 276,628 คน เป็นผู้ชาย 127,031 คน ผู้หญิง 149,597 คน

5 จังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุน้อยที่สุด (นับจำนวนคน)

อันดับ 1 ระนอง มีผู้สูงอายุ รวม 26,964 คน เป็นผู้ชาย 12,716 คน ผู้หญิง 14,248 คน

อันดับ 2 แม่ฮ่องสอน มีผู้สูงอายุ รวม 33,067 คน เป็นผู้ชาย 16,206 คน ผู้หญิง 16,861 คน

อันดับ 3 ตราด มีผู้สูงอายุ รวม 39,413 คน เป็นผู้ชาย 18,096 คน ผู้หญิง 21,317 คน

อันดับ 4 สตูล มีผู้สูงอายุ รวม 40,896 คน เป็นผู้ชาย 18,586 คน ผู้หญิง 22,310 คน

อันดับ 5 สมุทรสงคราม มีผู้สูงอายุ รวม 43,019 คน เป็นผู้ชาย 17,776 คน ผู้หญิง 25,243 คน

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” นั้น จะเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะรัฐบาลมีภาระจะต้องดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะเดียวกัน ความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศก็จะลดลงเมื่อประชากรในวัยทำงานลดลงไป ซึ่งปัญหานี้ต้องรีบได้รับการแก้ไขตั้งแต่วันนี้ หากมิเช่นนั้น อีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทย จะมีแต่ผู้สูงอายุเต็มประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง