รีเซต

จีนใช้ 'กล้องลามอสต์' ตรวจจับ 'ดาวนิวตรอน' ไม่พอกพูนมวล

จีนใช้ 'กล้องลามอสต์' ตรวจจับ 'ดาวนิวตรอน' ไม่พอกพูนมวล
Xinhua
27 กันยายน 2565 ( 18:00 )
81
จีนใช้ 'กล้องลามอสต์' ตรวจจับ 'ดาวนิวตรอน' ไม่พอกพูนมวล

ปักกิ่ง, 27 ก.ย. (ซินหัว) -- การศึกษาฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ แอสโทรโนมี (Nature Astronomy) ระบุว่าคณะนักดาราศาสตร์จีนตรวจพบดาวนิวตรอนที่ไม่พอกพูนมวลและไม่เปล่งแสง โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ลามอสต์ (LAMOST) กล้องโทรทรรศน์ที่ทำงานในย่านความถี่ที่ตามองเห็นชั้นนำของจีน

การค้นพบดังกล่าวได้ส่งเสริมการตรวจจับวัตถุท้องฟ้าที่มีความหนาแน่นสูง อาทิ ดาวนิวตรอนและหลุมดำ ซึ่งปกติแล้วยากต่อการตรวจจับ ทั้งมีแนวโน้มส่งเสริมการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการก่อตัวและวิวัฒนาการของดาว และคุณสมบัติทางกายภาพและทฤษฎีการก่อตัวของดาวนิวตรอนและหลุมดำดาวนิวตรอนเป็นวัตถุท้องฟ้าความหนาแน่นสูงที่ก่อตัวจากวิวัฒนาการของดาวมวลมากตลอดจนสิ้นอายุขัย โดยวิธีตรวจจับดาวรูปแบบนี้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการศึกษาวัตถุท้องฟ้าความหนาแน่นสูงของเหล่านักดาราศาสตร์คณะนักวิจัยพบระบบดาวคู่พิเศษที่มีสเปกตรัมแตกต่างจากดาวเดี่ยว ขณะใช้กล้องโทรทรรศน์ฯ สำรวจท้องฟ้า และเชื่อว่าวัตถุท้องฟ้าความหนาแน่นสูงของระบบดาวคู่นี้เป็นดาวนิวตรอนที่มีมวลประมาณ 1.2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ หลังจากทำการวิเคราะห์และตรวจวัดแล้วการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุเพิ่มเติมไม่พบการแผ่รังสีคลื่นเป็นจังหวะหรือต่อเนื่องจากดาวนิวตรอนดังกล่าว ซึ่งบ่งบอกว่าขณะนี้มันไม่ได้พอกพูนมวลและแผ่รังสีเป็นจังหวะทั้งนี้ คณะนักวิจัยจะใช้วิธีการข้างต้นเพื่อค้นหาวัตถุท้องฟ้าความหนาแน่นสูงอย่างดาวนิวตรอนและหลุมดำมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง