รีเซต

กัมพูชา พบไวรัสสายพันธุ์ใกล้เคียง "โควิด-19" ในค้างคาว

กัมพูชา พบไวรัสสายพันธุ์ใกล้เคียง "โควิด-19" ในค้างคาว
TNN ช่อง16
27 มกราคม 2564 ( 18:17 )
359
กัมพูชา พบไวรัสสายพันธุ์ใกล้เคียง "โควิด-19" ในค้างคาว

วันนี้ (27 ม.ค.64) ทีมนักวิจัยจากกัมพูชา เปิดเผยงานวิจัย พบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใกล้เคียงกับสายพันธุ์โควิด-19 ในตัวอย่างค้างคาว 6 สายพันธุ์ที่เก็บได้เมื่อ 10 ปีก่อน ขณะที่ ข้อมูลการติดเชื้อไวรัสนี้ในมนุษย์ยังไม่มี แต่คาดว่าโอกาสของการจับกับโปรตีนสไปค์

โควิดกับโปรตีนตัวรับของมนุษย์มีความเป็นไปได้ และมีการตั้งข้อสังเกตว่ามีสัตว์ตัวกลางที่ค้างคาวจะส่งต่อไวรัสไปให้ รวมทั้งมีความเสี่ยงติดมาสู่คนหรือไม่ ยังต้องเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและศึกษาต่อไป


ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค เปิดเผยว่า ทีมวิจัยของสถาบัน Pasteur Institute ประเทศกัมพูชา ได้เผยแพร่งานวิจัย พบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ในตัวอย่างค้างคาวที่เก็บได้เมื่อ 10 ปีก่อน ที่ประเทศกัมพูชา ทางทีมวิจัยระบุว่าเป็นการพบไวรัสตระกูลนี้เป็นครั้งแรกนอกประเทศจีน

ขณะที่ ก่อนหน้านี้ประมาณกลางปีที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยของไทยก็สร้างผลงานตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากค้างคาวพันธุ์มงกุฎ 23 ชนิดที่มีในไทย และยังคงศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสำรวจเส้นทางหากินและที่อยู่อาศัยของค้างคาวมงกุฎที่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม 

สำหรับทีมวิจัยของกัมพูชา ได้ตรวจสอบตัวอย่าง swab ของค้างคาวที่เก็บไว้ในคลังจำนวน 430 ตัวอย่าง จากค้างคาวรวม 6 สายพันธุ์ที่เก็บในช่วงเวลาต่างๆเบื้องต้นใช้ RT-PCR สำหรับไวรัสโคโรนาในการตรวจสอบ


พบว่า 16 จาก 430 ตัวอย่างให้ผลบวก และ 5 ใน 16 นั้น เป็น Betacoronavirus ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ SARS-CoV-2 และเมื่อศึกษาเชิงลึกต่อไปอีก พบว่า 2 ใน 5 ในอยู่ในกลุ่ม sarbecoviruses ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกับ SARS-CoV-2 และ SARS-CoV โดยทั้ง 2 ตัวอย่างแรกมาจากค้างคาวเกือกม้า เก็บไว้ตั้งแต่ปลายปี 2010 ที่เมืองสตรึงเตรง ตอนเหนือของกัมพูชา ให้ชื่อ 2 สายพันธุ์ไวรัสนี้ว่า RshSTT182 และ RshSTT200


ทีมวิจัยนำตัวอย่าง RNA ของไวรัส ลงถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัส พบว่า รหัสพันธุกรรมของทั้ง 2 ตัวอย่าง มีความเหมือนกับ SARS-CoV-2 มากถึงร้อยละ 92.6 ซึ่งปกติการสร้างโปรตีนต่างๆ มักจะแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัสโคโรนา แต่กลับไปเหมือนกับ SARS-CoV-2 พอดี ถึงแม้ว่าโดยรวมรหัสพันธุกรรมจะไม่เหมือนเท่าไวรัสจากค้างคาวจีน แต่ทีมวิจัยพบว่ามีบางตำแหน่งของจีโนมไวรัสนี้ ไปใกล้เคียงกับ SARS-CoV-2 มากกว่าสายพันธุ์ค้างคาวจากจีนอีก

จึงเป็นไปได้ว่า ไวรัสโคโรนาในประชากรค้างคาว อาจจะมีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนบางตำแหน่งในจีโนมตัวเอง สับไปสับมา เพื่อสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของตัวเอง 


ทีมวิจัยระบุว่า ข้อมูลการติดเชื้อไวรัสนี้ในมนุษย์ยังไม่มี แต่คาดว่าโอกาสของการจับกับโปรตีนสไปค์โควิด กับโปรตีนตัวรับของมนุษย์มีความเป็นไปได้ เนื่องจากกรดอะมิโนสำคัญๆ ของ SARS-CoV-2 สามารถพบได้ในไวรัสนี้เช่นกัน ซึ่งต้องศึกษาต่อไปว่า ไวรัสนี้จะถูกแยกออกมาจากประชากรค้างคาวในปัจจุบันได้หรือไม่


การเปลี่ยนแปลง 10 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดไปถึงไหน และที่สำคัญ คือ "สัตว์ตัวกลาง" ที่ค้างคาวจะส่งต่อไปให้มีหรือไม่ เพราะมีความเสี่ยงที่จะติดมาสู่คนได้อีก ดังนั้น ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะไม่ว่าจะในไทย หรือประเทศเพื่อนบ้านอาจมีไวรัสเหล่านี้อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งต้องเฝ้าระวังกันอย่างต่อเนื่อง 

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง