รีเซต

GLOBALink : 'ทางรถไฟจีน-ไทย' สนับสนุนการเชื่อมต่อถึงกันยิ่งขึ้น

GLOBALink : 'ทางรถไฟจีน-ไทย' สนับสนุนการเชื่อมต่อถึงกันยิ่งขึ้น
Xinhua
3 ตุลาคม 2565 ( 12:23 )
63
GLOBALink : 'ทางรถไฟจีน-ไทย' สนับสนุนการเชื่อมต่อถึงกันยิ่งขึ้น

กรุงเทพฯ, 3 ต.ค. (ซินหัว) -- การก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ที่กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นำพาความฝันของนันทพงศ์ นุชเนตร วัย 24 ปี ผู้คาดหวังจะได้ขับรถไฟที่วิ่งอย่างรวดเร็วและมั่นคงในประเทศไทย เข้าใกล้ความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันนันทพงศ์ทำงานเป็นนักแปลประจำโครงการทางรถไฟจีน-ไทย ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายทางรถไฟข้ามเอเชีย และจะเป็นทางรถไฟความเร็วสูงรางมาตรฐานสายแรกของไทยทางรถไฟจีน-ไทย จะเป็นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดชายแดนอย่างหนองคาย ซึ่งจะมีสะพานเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว ทำให้อนาคตสามารถเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านลาว ไปสู่นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนด้าน วิโรจน์ ลับกฤชคม วิศวกร วัย 59 ปี กล่าวว่าทางรถไฟจีน-ไทย เป็นมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของการเชื่อมต่อทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าเมื่อทางรถไฟจีน-ไทย เปิดดำเนินการแล้ว ไม่เพียงแต่จะกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางรถไฟฯ ในไทย แต่ยังผลักดันการเชื่อมโยงเครือข่ายทางรถไฟทั่วเอเชีย และส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค

 

(แฟ้มภาพซินหัว : นันทพงศ์ นุชเนตร (ซ้าย) นักแปลจากบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (ประเทศไทย) หารือกับวิโรจน์ ลับกฤชคม ผู้ดูแลโครงการทางรถไฟจีน-ไทย ที่สถานที่ก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ในจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 7 ก.ย. 2022)ฟ้มภาพซินหัว : วิโรจน์ ลับกฤชคม (ขวา) ผู้ดูแลโครงการทางรถไฟจีน-ไทยจากบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (ประเทศไทย) ทำงานที่สถานที่ก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ในจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 7 ก.ย. 2022)

 

(แฟ้มภาพซินหัว : วิโรจน์ ลับกฤชคม ผู้ดูแลโครงการทางรถไฟจีน-ไทยจากบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (ประเทศไทย) ทำงานที่สถานที่ก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ในจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 7 ก.ย. 2022)

 

(แฟ้มภาพซินหัว : สถานที่ก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ในจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 7 ก.ย. 2022)

 

(แฟ้มภาพซินหัว : สถานที่ก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ในจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 7 ก.ย. 2022)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง