รีเซต

นักโบราณคดีคาด 'หลังคาโลก' เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ ตั้งแต่ 50,000 ปีก่อน

นักโบราณคดีคาด 'หลังคาโลก' เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ ตั้งแต่ 50,000 ปีก่อน
Xinhua
24 มกราคม 2567 ( 21:13 )
24
นักโบราณคดีคาด 'หลังคาโลก' เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ ตั้งแต่ 50,000 ปีก่อน

(ภาพจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน : ซากถ้ำโบราณเหมยหลง ต๋าผู่ ในภูมิภาคอาหลี่ เขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน)

ลาซา, 24 ม.ค. (ซินหัว) -- การศึกษาทางโบราณคดี ณ ซากถ้ำโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ในเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน พบว่าพื้นที่ห่างไกลบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต เจ้าของสมญานาม "หลังคาโลก" หรือขั้วที่สามของโลก เคยเป็นพื้นที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ตั้งแต่ 50,000 ปีก่อน ซึ่งเก่าแก่กว่ากรอบเวลาที่เคยทราบก่อนหน้านี้รายงานระบุว่าคณะนักโบราณคดีจากสถาบันคุ้มครองวัตถุทางวัฒนธรรมส่วนภูมิภาคทิเบต และสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ได้ดำเนินการขุดสำรวจซากถ้ำเหมยหลง ต๋าผู่ (Melong Tagphug) ในภูมิภาคอาหลี่ เป็นระยะเวลา 6 ปีคณะนักโบราณคดีขุดพบวัตถุทางวัฒนธรรมมากกว่า 10,000 ชิ้น ประกอบด้วยวัตถุทำจากหิน กระดูก ดินเผา สัมฤทธิ์ และซากพืชพันธุ์จากยุคหินเก่าจนถึงยุคโลหะตอนต้น ในพื้นที่ของซากถ้ำดังกล่าวขนาดใหญ่กว่า 1,000 ตารางเมตร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเทือกเขาสูงเหนือระดับน้ำทะเล 4,700 เมตรจางเสี่ยวหลิงจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาฯ กล่าวว่าวัตถุวัฒนธรรมที่มีความเก่าแก่มากที่สุดของซากถ้ำแห่งนี้มีอายุมากกว่า 53,000 ปี และอาจเก่าแก่ถึง 80,000 ปี ส่วนที่มีความเก่าแก่น้อยที่สุดมีอายุ 1,000 ปี ขณะภาพวาดบนหินที่เป็นเส้นแนวตั้งและรูปร่างมนุษย์ถูกเขียนด้วยดินสีแดงการศึกษาพบว่าซากถ้ำแห่งนี้ถูกทิ้งร้างเนื่องด้วยปัจจัยทางภูมิอากาศหรือการพังทลายของตัวถ้ำ ก่อนจะกลับมามีมนุษย์อาศัยอยู่อีกครั้งในช่วงเวลาต่อมา ทำให้มีวัตถุวัฒนธรรมจากหลายยุคสมัย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญของมนุษย์โบราณที่แสวงหาทางเอาชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่มีความสูงมาก สะท้อนรูปแบบการอพยพและการจัด

(ภาพจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน : แหล่งขุดค้นภายในซากถ้ำโบราณเหมยหลง ต๋าผู่ ในภูมิภาคอาหลี่ เขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน)

(ภาพจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน : ซากวัตถุหิน (ภาพบน) ซากสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ (ภาพล่าง) ในซากถ้ำโบราณเหมยหลง ต๋าผู่ ในภูมิภาคอาหลี่ เขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง