รีเซต

สรุป 3 “ดาวเทียมไทย” ที่ใช้สำรวจโลกและทรัพยากรของธรรมชาติ: "THEOS" "THEOS-2" "NAPA-1"

สรุป 3 “ดาวเทียมไทย” ที่ใช้สำรวจโลกและทรัพยากรของธรรมชาติ: "THEOS" "THEOS-2" "NAPA-1"
TNN ช่อง16
9 ตุลาคม 2566 ( 15:30 )
178





เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 ได้มีการนำส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรอีกครั้งที่ท่าอวกาศยานเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ เมื่อเวลา 08.36 น. ทำให้ประเทศไทย มีดาวเทียมสำรวจทั้งหมด 3 ดวงในปัจจุบัน


ดาวเทียมไทย: THEOS

ชื่อ THEOS ย่อมาจาก “Thailand Earth Observation Satellite” หรือดาวเทียมสำรวจโลกของไทยซึ่งถือเป็นดวงแรกด้วย และได้รับพระราชทานชื่อว่าไทยโชต (Thaichote) พัฒนาโดยบริษัทอีเอดีเอส (EADS) บริษัทชั้นนำด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของฝรั่งเศส เป็นดาวเทียมหลัก (Main Satellite) ที่มีน้ำหนักรวม 750 กิโลกรัม และขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) ในปี 2008 และแม้ว่าจะกำหนดในอายุของดาวเทียมมีเพียง 5 ปี แต่ก็ยังยืดอายุการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเป็นปีที่ 15 แล้วในปัจจุบัน


ดาวเทียมไทย: NAPA-1

นภา-1 หรือ NAPA-1 เป็นดาวเทียมทางการทหารดวงแรกของไทยที่กองทัพอากาศ ได้ว่าจ้างให้ ไอเอสไอ สเปซ (ISISpace) บริษัทด้านดาวเทียมจากเนเธอร์แลนด์พัฒนาขึ้นมา โดยมีลักษณะเป็นดาวเทียมเล็กแบบคิวบ์แซต (CubeSat) หรือดาวเทียมทรงลูกบาศก์ที่มีความยาวด้านละ 60 เซนติเมตร หรือเรียกว่า 6U มีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม ปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี 2020 ที่ผ่านมา โดยทำหน้าที่สำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการทหาร


ดาวเทียมไทย: THEOS-2

ดาวเทียมไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นกระแสข่าวมากที่สุดในตอนนี้ พัฒนาโดยบริษัทแอร์บัส (Airbus) ของฝรั่งเศส เป็นดาวเทียมหลัก (Main Satellite) ที่มีน้ำหนักรวม 425 กิโลกรัม และขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) ในช่วงเช้าของวันที่ 9 ตุลาคม สามารถถ่ายภาพความละเอียดสูงสุด 50 เซนติเมตร เพื่อทำงานร่วมกับดาวเทียมไทยโชตในการทำภารกิจเพื่อชาติต่อไป


ดาวเทียมไทยในอนาคต: THEOS-2A

THEOS-2A ถือเป็นดาวเทียมฝีมือคนไทยที่แท้จริง โดยเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของสัญญาการพัฒนา THEOS-2 ที่แอร์บัส (Airbus) ได้ร่วมมือกับไทยในการอบรมและให้วิศวกรไทยเป็นผู้ออกแบบและพัฒนา ร่วมกับ SSTL บริษัทลูกของ Airbus ในรูปแบบของดาวเทียมขนาดเล็ก (SmallSat) มีน้ำหนักรวม 100 กิโลกรัม มีความละเอียดการถ่ายภาพอยู่ที่ 1 เมตร และจิสด้า (GISTDA) หรือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) คาดว่าจะปล่อย THEOS-2A ขึ้นสู่วงโคจรได้ภายในต้นปี 2024 นี้


ที่มาข้อมูล Gunter's Space Page, Wikipedia, กองทัพอากาศ, GISTDAอว.

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง