รวมแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้จากรัฐฯ จากสถานการณ์ COVID-19
จากข่าวที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ได้นำเรื่องปัญหาหนี้สินของประชาชนเสนอที่ประชุมครม.รับทราบ ตนมองเห็นถึงปัญหาของประเทศ ถ้าประชาชนมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก มีหนี้ตั้งแต่อายุน้อย จะมีผลต่อทั้งชีวิตของเขา ซึ่งเราพยายามแก้ไขมาโดยตลอด แก้ไขเรื่องหนี้นอกระบบที่ต้องเข้มงวดให้มากยิ่งขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกประการ
วันนี้ trueID รวบรวมมาตรการที่ทางรัฐบาลได้ออกมาช่วยเหลือลูกหนี้ แต่ละประเภทจะมีมาตรการอะไรบ้างไปดูกัน
- บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
- สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์
- เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
- สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
- มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้
- โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน
- หนี้นอกระบบ
- ผู้กู้ยืม กยศ.
มาตรการช่วยเหลือจากแบงก์ชาติ
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19
สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน เพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ
ธนาคารออมสิน
เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หรือการอุปโภคบริโภค แต่ต้องไม่เป็นการนำไปชำระ (Re-Finance) หนี้ในระบบ
รายละเอียดสินเชื่อ
- ให้กู้ตามมูลหนี้นอกระบบจริง และตามความสามารถในการชำระหนี้ ไม่เกินรายละ 50,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ร้อยละ 1 ต่อเดือน
- ชำระคืนในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน สำหรับชำระหนี้นอกระบบที่เกิดจากเกษตรกรลูกค้า คู่สมรส บุตร บิดามารดาของเกษตรกรลูกค้าหรือของคู่สมรสซึ่งอยู่ในอุปการะของเกษตรกรลูกค้า
รายละเอียดสินเชื่อ
- วงเงินกู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท
- เว้นแต่กรณีมีวัตถุประสงค์ในการสงวนที่ดินทำกินที่ลูกหนี้ใช้ที่ดินในการจำนองไม่เกินรายละ150,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี
- ระยะเวลาชำระหนี้ 10 ปี สูงสุดไม่เกิน 12 ปี
- พร้อมรับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองสินเชื่อกรณีเสียชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท และการคืนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 30 ของดอกเบี้ยที่ชำระหนี้
มาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืม กยศ. จากสถานการณ์ COVID-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพของผู้กู้ยืม และเพื่อให้ผู้กู้ยืมสามารถวางแผนการจัดการค่าใช้จ่ายระหว่างเดือนที่ยังคงมีสถานการณ์ไม่ปกติดังกล่าว ขณะนี้ กองทุนได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างชำระหนี้ ดังนี้
1. ลดอัตราเบี้ยปรับจาก 7.5% เหลือ 0.5%
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด กองทุนจะปรับลดเบี้ยปรับให้กับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินกู้ยืมเป็นการชั่วคราว จากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 31 ธันวาคม 2563
2. ลดจำนวนหักเงินเดือนเหลือ 10 บาท/คน/เดือน
กองทุนจะปรับลดจำนวนเงินที่แจ้งให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมทุกรายในกลุ่มหน่วยงานเอกชน จากจำนวนเงินที่เคยแจ้งหัก เป็นแจ้งให้นายจ้างหักเงินของผู้กู้ยืมทุกรายๆ ละ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 (ระยะเวลา 3 เดือน)
สำหรับผู้กู้ยืมกลุ่มปกติ ผู้กู้ยืมยังคงมีหน้าที่ไปชำระส่วนต่างเองตามช่องทางที่กองทุนกำหนดให้ครบตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระ มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดนัดชำระเงินคืนกองทุนผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินเพิ่มอันได้แก่ เบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืนในอัตราร้อยละ 0.5 ต่อปีของเงินต้นงวดที่ค้างชำระนั้น
สำหรับผู้กู้ยืมกลุ่มที่ถูกดำเนินคดี หากเป็นกลุ่มที่ได้รับสิทธิหักเดือนละ 10 บาท ยังต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลเป็นสำคัญ
- ผู้กู้ยืมที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ยังต้องชำระส่วนที่เหลือให้ครบในวันที่ 1-5 ของทุกเดือน มิฉะนั้นยังมีดอกเบี้ยและเบี้ยปรับตามที่ศาลกำหนด และอาจเข้าสู่กระบวนการบังคับคดี
- ผู้กู้ยืมที่ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้เสร็จสิ้น (ปิดบัญชีทั้งจำนวน) ยังต้องชำระตามที่ศาลสั่ง มิฉะนั้นยังมีดอกเบี้ยและเบี้ยปรับตามที่ศาลกำหนด และอาจเข้าสู่กระบวนการบังคับคดี
3. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมทุกกลุ่มที่ค้างชำระหนี้ และปิดบัญชีในครั้งเดียว
กรณีผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ติดต่อชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
กรณีผู้กู้ยืมถูกดำเนินคดี ลงทะเบียนขอรับสิทธิได้ที่ https://www.studentloan.or.th/promotion โดยผู้กู้ยืมต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนชำระหนี้ปิดบัญชี โดยขยายระยะเวลาลดเงินเพิ่ม (เบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืน) ระยะเวลา 6 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564
4. ลดเบี้ยปรับ 75% เฉพาะผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ)
โดยติดต่อชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยขยายระยะเวลาลดเงินเพิ่ม (เบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืน) ระยะเวลา 6 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564
5. พักชำระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2 ปี
ผู้กู้ยืมที่มีสถานะยังไม่ถูกดำเนินคดี จะได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ตามเงื่อนไข ผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนยื่นคำขอรับสิทธิได้ที่ https://www.studentloan.or.th/promotion โดยขยายระยะเวลาเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
- กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายปี ได้รับสิทธิผ่อนผันการชำระหนี้งวดปี 2563 เป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กองทุนอนุมัติ โดยผู้กู้ยืมจะกลับมาชำระหนี้งวดปี 2563 ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และงวดที่เหลือในปีถัดไป
- กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน ให้ผ่อนผันการชำระหนี้ 24 เดือน นับตั้งแต่เดือนถัดไปที่กองทุนอนุมัติ โดยในระหว่างพักชำระหนี้ดังกล่าว กองทุนจะไม่ถือว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ กองทุนจะหยุดคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระหนี้ทั้งงวดที่ค้างชำระก่อนหน้าและงวดที่อยู่ระหว่างผ่อนผันการชำระหนี้ จนกว่าระยะเวลาพักชำระหนี้จะสิ้นสุด
6. ผ่อนผันการชำระหนี้
ในกรณีสถานการณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้และไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ สามารถยื่นคำขอผ่อนผันและส่งเอกสารหลักฐานไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนครบกำหนดชำระหนี้ ในวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกองทุนที่มีอยู่เดิมแล้ว ดังนี้
- กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 คราวๆละไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย รวมถึงยกเว้นเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน
เป็นผู้มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 8,008 บาท
- กรณีผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอย สามารถขอผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ตั้งแต่ 1.5 - 2.5 เท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเดิม โดยขึ้นอยู่กับมูลหนี้คงเหลือ ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุ ไม่เกิน 60 ปี และผู้กู้ยืมจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุน เพื่อนำยอดหนี้คงเหลือมาคำนวณใหม่และเฉลี่ยให้ชำระในแต่ละเดือนเท่าๆ กันภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน
7. งดการขายทอดตลาด
สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือผู้ค้ำประกัน ที่กองทุนได้ดำเนินการยึดทรัพย์ไว้ทุกราย และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขายทอดตลาด กองทุนจะยื่นคำร้องของดการขายทอดตลาดทุกรายไปจนถึงสิ้นปี 2563 โดยจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้ยืม และ/หรือ ผู้ค้ำประกันที่ถูกยึดทรัพย์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้รับจำนองที่ยึดไว้ (ถ้ามี) ) ส่วนในคดีที่มีการยึดทรัพย์ไว้แล้ว กองทุนฯ จะชะลอการขายทอดตลาดไว้เป็นการชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้กู้ยืมเงิน หรือผู้ค้ำประกัน จะต้องทำบันทึกข้อตกลงไกล่เกลี่ยในชั้นบังคับคดีผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนกับกองทุนฯ และไปยื่นคำร้องของดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ ซึ่งในการงดการขายทอดตลาด เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทุกคนจะต้องให้ความยินยอมให้งดการขายทอดตลาด จึงจะสามารถงดการขายทอดตลาดได้ตามกฎหมายมาตรา 289 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
8. ชะลอการบังคับคดี
กองทุนฯ ได้มีการชะลอการบังคับคดีกับผู้กู้ยืมเงิน และผู้ค้ำประกันตามคำพิพากษา เว้นแต่กรณีที่การบังคับคดีใกล้พ้นระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ยังคงต้องดำเนินการบังคับคดีไปตามปกติ ส่วนในคดีที่มีการยึดทรัพย์ไว้แล้ว กองทุนฯ จะชะลอการขายทอดตลาดไว้เป็นการชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้กู้ยืมเงิน หรือผู้ค้ำประกัน จะต้องทำบันทึกข้อตกลงไกล่เกลี่ยในชั้นบังคับคดีกับกองทุนฯ และไปยื่นคำร้องของดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ ซึ่งในการงดการขายทอดตลาด เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทุกคนจะต้องให้ความยินยอมให้งดการขายทอดตลาด จึงจะสามารถงดการขายทอดตลาดได้ตามกฎหมายมาตรา 289 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อมูล : BOT , ออมสิน , ธกส. , กยศ.
ข้อมูลอัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 1 มิ.ย. 2564
แบงก์ชาติร่วมมือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ซึ่งทำให้รายได้และความสามารถในการชำระหนี้ลดลง โดยได้ยกระดับจากมาตรการเดิม ให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาว เพิ่มทางเลือก มีความยืดหยุ่น และมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ไม่เป็น NPL (ค้างชำระหนี้มากกว่า 3 เดือนติดต่อกัน) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 ได้อย่างเหมาะสมตามความเป็นจริง โดยครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ดังนี้
1. บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (Revolving & Installment Loan) : เน้นการบรรเทาภาระหนี้กรณีเปลี่ยนเป็นหนี้ระยะยาวเกินกว่า 48 งวด โดยให้ทบทวนอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราเพดาน (บัตรเครดิต ร้อยละ 12 และสินเชื่อส่วนบุคคลฯ ร้อยละ 22 ต่อปี) ตั้งแต่งวดแรก
2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ : มีทางเลือกการพักชำระค่างวด ด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 22 ต่อปี และสำหรับลูกหนี้จำนำทะเบียนรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงให้มีทางเลือกการคืนรถ โดยหากมีภาระหนี้คงเหลือให้ผู้ให้บริการทางการเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนด
3. เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ : มีวิธิปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการควบคุมดอกเบี้ยด้วยอัตรา Effective Interest Rate (EIR) และการคิดดอกเบี้ยสำหรับช่วงที่พักชำระค่างวด และสำหรับลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงให้มีทางเลือกการคืนรถ โดยหากมีภาระหนี้คงเหลือให้ผู้ให้บริการทางการเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนด
4. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน : เพิ่มทางเลือกการพักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน และให้ลูกหนี้สามารถทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได (step up) ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถสมัครรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม - 31 ธันวาคม 2564 ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานะของลูกหนี้ตามมาตรการที่แบงก์ชาติกำหนด นอกจากนี้ แบงก์ชาติสนับสนุนให้ผู้ให้บริการทางการเงินมีนโยบายให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติมด้วย
นอกจากนี้ แบงก์ชาติได้คำนึงถึงการดูแลลูกหนี้ที่เดือนร้อนให้ได้รับการช่วยเหลือและได้รับข้อแนะนำในการแก้ไขหนี้อย่างเหมาะสม โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถศึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือได้ที่ผู้ให้บริการทางการเงินของท่าน ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น website, mobile application, social media, call center และสาขา
สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพ ขอให้ชำระหนี้ต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เป็นภาระหนี้ในอนาคต เนื่องจากการพักชำระเงินต้น และ/หรือดอกเบี้ย ส่วนของดอกเบี้ยยังคงเดินต่อเนื่อง ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นในระยะยาว