VR สุดล้ำ พานักวิทย์ฯ เดินชมภายใน "เซลล์" ของสิ่งมีชีวิต
Virtual Reality หรือเทคโนโลยีความจริงเสมือนนั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก และมีการประยุกต์ใช้ร่วมกับทุกวงการอย่างกว้างขวางล่าสุดนักวิทยาศาสตร์เกิดปิ๊งไอเดีย พร้อมพัฒนาให้ VR นำพาเข้าไปสู่“ภายในเซลล์” เพื่อให้สามารถศึกษากระบวนการทางชีววิทยาได้ง่ายยิ่งขึ้น
ที่มาของภาพ
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นกล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูง (Super-resolution microscopy) เมื่อปี 2014 อีกทั้งยังได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมีอีกด้วยซึ่งกล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูงนี้ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้ภาพของชิ้นส่วนขนาดเล็กระดับนาโนเมตรลึกถึงระดับโมเลกุลกันเลยทีเดียว
ทว่า สิ่งที่ยังขาดไปคือการใช้กล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูงจะเห็นแค่ภาพ2 มิติ กลายเป็นขีดจำกัดในการศึกษากลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะกลไกการทำงานของเซลล์ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ร่วมกับบริษัท Lume VR พัฒนาซอฟต์แวร์ vLUME ที่ช่วยสร้างภาพ 3 มิติเหมือนเทคโนโลยี VR ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมเกมคอมพิวเตอร์
โครงข่ายเส้นใยในเซลล์ประสาท ซึ่งสร้างภาพ 3 มิติโดย vLUME
ที่มาของภาพ
vLUME จะวิเคราะห์ภาพ 2 มิติที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูงจากนั้นจึงสร้างภาพ 3 มิติขึ้นแบบเรียลไทม์เมื่อนักวิทยาศาสตร์สวมแว่น VR ที่จัดเตรียมไว้ จะก่อให้เกิดโลกใบใหม่ภายยในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมองเห็นโมเลกุลและโปรตีนลอยไปมา ยิ่งไปกว่านั้นสามารถศึกษาการทำปฏิกิริยาทางชีววิทยาของสารต่างๆ เช่น การตอบสนองของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันต่อสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคสิ่งเหล่านี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษากลไกของเซลล์ได้ง่ายขึ้น ความก้าวหน้าในการทดลองจึงเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tech Explore
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.comfacebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline